แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
เปิดสมัครพระนักเทศน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ข่าวเด่น
 

การประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่ ๑๓ ประจำปี ๒๕๕๙



          วันจันทร์ ที่ ๒๓ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙ พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาได้ขึ้นกล่าวปาฐกถาและแถลงปฏิญญากรุงเทพฯ ในที่ประชุมของประมุขสงฆ์ ผู้นำชาวพุทธ นักปราชญ์ และผู้เข้าประชุมวิสาขบูชาโลกครั้งที่ ๑๓ ประจำปี ๒๕๕๙ ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ (UN) ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร
 
          ในการประชุมครั้งนี้มีผู้นำชาวพุทธ ประมุขสงฆ์ พระมหานายกะ นักปราชญ์ และชาวพุทธนานาชาติจาก ๘๕ ประเทศ การเข้าร่วมประชุมการฉลองวันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกปีนี้ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครองสิริราชสมบัติ ครบ ๗๐ ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมกันสวดมนต์ถวายพระพรชัยมงคล และตั้งจิตอธิษฐานขอให้ทั้งสองพระองค์ทรงพระเจริญ มีพระพลานามัยแข็งแรง มีพระชนมายุยั่งยืนนาน และทรงพระเกษมสำราญชั่วนิรันดร์

          ในช่วงที่มีงานฉลองวิสาขบูชานี้ พวกเราได้มาร่วมกันพิจารณาตามหัวข้อการประชุมใหญ่ว่าด้วยเรื่อง “พุทธวิถีสู่สันติภาพโลก” อันเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกันระหว่างองค์กร และปัจเจกบุคคลต่างๆ จากพระพุทธศาสนาทุกนิกาย ควบคู่กับการจัดงานเสวนาทางวิชาการเรื่องการศึกษาแนวพุทธเพื่อสันติภาพ และคุณูปการของพระพุทธศาสนาต่อการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม

          ในช่วงเปิดงานประชุม ผู้เข้าร่วมประชุมได้ฟังปาฐกถาพิเศษ ที่เน้นให้เห็นความสำคัญของศีลธรรม การฝึกฝนจิตและองค์ความรู้ ตามแนวทางหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องอริยมรรคมีองค์ ๘ และวิเคราะห์เรื่องขันธ์ ๕ และย้ำถึงบทบาทจำเป็นของความยุติธรรม ธรรมาภิบาล ความมั่นคงของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และชาติ ในฐานะเป็นองค์ประกอบของสันติภาพเมื่อเสร็จงานฉลองและงานประชุมที่ประสบผลสำเร็จแล้ว ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ ดังต่อไปนี้
 

                      ปฏิญญากรุงเทพฯ เนื่องในวันวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ ๑๓

          ๑. สงครามเป็นเงื่อนไขทางด้านจิตใจ ดังนั้น ความสงบของโลกไม่สามารถตราเป็นกฎหมายบังคับได้ เมื่อสืบค้นหาสาเหตุสำคัญของความขัดแย้งและความรุนแรงภายในจิตใจของพลโลก พบว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ที่จะนำพามนุษยชาติไปสู่ความเป็นเอกภาพของมนุษย์ เศรษฐกิจโลกและความเป็นพลโลกเดียวกัน
          ผู้เข้าร่วมประชุมได้อภิปรายและตกลงกรอบยุทธศาสตร์เชิงพุทธเพื่อสันติภาพโลก ที่เป็นไปได้อย่างกว้างขวางโดยทั่วไป ซึ่งมี ๓ ขั้นตอนสำคัญในการสร้างสันติภาพ กล่าวคือ การป้องกัน การแก้ไข และการฟื้นฟู ในการป้องกันความขัดแย้งผู้นำชาวพุทธเน้นถึงความสำคัญของสันติศึกษา ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งขึ้นแล้ว จะต้องมีการแก้ไขด้วยการเจรจาของฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือว่าเป็นภารกิจที่จำเป็นและรีบด่วน ข้อสุดท้ายถ้ามีปฏิบัติการรุนแรงเกิดขึ้น หรือมีสงครามเกิดขึ้น ต้องจัดให้มีการฟื้นฟู อย่างเป็นหน้าที่หลักของชาวพุทธ

          ๒. ผู้เข้าร่วมประชุมตัดสินใจตกลงให้เผยแพร่ด้วยการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล ที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และผ่านการตรวจสอบรับรองโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้นำชาวพุทธ ๓ คณะ

          ๓. ในการอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับพุทธวิถีสู่สันติภาพ ผู้เข้าร่วมประชุมเน้นย้ำว่า การส่งเสริมสันติภาพและการไม่เบียดเบียนกัน เป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งในคำสอนของพระพุทธเจ้า พระพุทธศาสนาสอนให้ใช้วิถีทางแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสันติระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน ชาติ หรือสถาบัน ให้หลีกเลี่ยงการแข่งขันที่มากจนเกินเหตุ ให้ระงับความรุนแรงและการแสดงออกที่รุนแรงทุกรูปแบบ ดังนั้นพระพุทธศาสนาโดยทั่วไปเป็นเรื่องเดียวกันกับสันติภาพ เพราะพระพุทธศาสนาเชื่อมั่นในการเลือกอย่างเสรีของปัจเจกบุคคล ทั้งยังส่งเสริมความคิดและความเห็นที่หลากหลายของมนุษย์ รวมทั้งปฏิเสธการยัดเยียดความคิดให้คนอื่นๆ ดังนั้น ขันติธรรมจึงเป็นคำสอนหลักของทางพระพุทธศาสนา

          ๔. ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงความเชื่อมั่นว่า สันติ เมตตา กรุณา เป็นหลักคำสอนสากลที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมากว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว ยังคงใช้ได้กับทุกวันนี้ ความเข้าใจกัน ความเมตตาและกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นลักษณะเด่นของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่มีปัญหาใดที่ไม่สามารถแก้ได้ด้วยปัญญาและความเพียรที่ถูกต้อง ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าจะยุ่งยากและสลับซับซ้อนเพียงใด ก็มีวิธีแก้ไขอยู่ในตัวเอง พระพุทธศาสนาสอนเรื่องความพอดี ทางสายกลาง ดังที่พระองค์ตรัสเรียกว่าเป็นวิถีชีวิตที่หลีกเลี่ยงหลุมพรางของความสุด โต่ง ความพอดีเป็นพื้นฐานของการที่ชาวพุทธปฏิบัติต่อคนอื่นๆ และพวกเราหวังว่า จะป้องกันความเกินพอดีที่ปรากฏในโลกใบนี้

          ๕. ในเรื่องคุณูปการของพระพุทธศาสนาต่อความรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิด สันติภาพโลก ได้รับการยอมรับว่า สวัสดิภาพของทุกชีวิต แม้ว่าดูเหมือนไม่มีความสำคัญก็ตาม ให้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในด้านจิตใจ และเราควรต้องใส่ใจกับสิ่งที่มีชีวิตทั้งมวล ไม่ใช่เพื่อคนรุ่นเราเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงคนรุ่นต่อๆ ไป

         ๖. เพื่อส่งเสริมให้ประชาคมชาวพุทธทั่วโลกมีความเข้าใจกันและพัฒนาร่วมกันตาม พุทธวิถี ผู้เข้าร่วมประชุม มีมติว่า วันเพ็ญเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นวันฉลองวิสาขบูชาที่สำนักงานใหญ่และสำนักงาน สาขาตามที่องค์การสหประชาชาติกำหนดนั้น เป็นวันสวดมนต์และปฏิบัติกรรมฐานของชาวพุทธทั่วโลก

         ๗. ผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมกันสนับสนุนมาตรฐานโลกที่ตั้งขึ้นใหม่ ตามกรอบสหประชาชาติเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่ได้ผ่านการรับรอง แล้ว ในระหว่างการประชุม คอป ๒๑ ณ กรุงปารีส เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา และได้มีผู้ลงนาม จำนวน ๑๗๗ ราย ๑๗ พรรค และ ๑๕ สัตยาบัน

         ๘. ด้วยตระหนักถึงความมีน้ำใจ และบทบาทสำคัญที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดงานวันวิสาขบูชาโลกตลอดหลายปี ที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความเห็นชอบและสนับสนุนให้ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยม ประชาธิปไตย ศรีลังกาเป็นเจ้าภาพจัดงานวันวิสาขบูชาโลกประจำปี ๒๕๖๐ ที่ประเทศศรีลังกา

                                ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
 

Bangkok Declaration
of the 13th Anniversary Celebrations of the United Nations Day of Vesak
May 22–23, 2016 (B.E. 2559)
At the Main Campus, Mahachulalongkornrajavidyalaya University,
Wang Noi, Ayutthaya and the United Nations Conference Centre, Bangkok

          On 15th December 1999, representatives from thirty-four countries proposed to the General Assembly of the United Nations that the full moon day in the month of May be recognized and observed at the United Nations Headquarters and the Regional Offices as the United Nations Day of Vesak. The General Assembly so resolved (Agenda Item 174 of Session No. 54/115) and, accordingly, the UN Day of Vesak was instituted in the year 2000 with the support of all Buddhist traditions. In pursuance of the Resolution, we, participants from eighty-five countries and regions, have come together on May 22–23, 2016 (B.E. 2559) to celebrate the Birth, Enlightenment and Mahaparinibbana of the Buddha. As in the previous years, the celebrations were graciously supported by the Royal Government of Thailand under the guidance of the Supreme Sangha Council of Thailand and generously organized by Machachulalongkornrajavidyalaya University.

          As a consequence of the UN Resolution designating the day of international importance, Buddhists from around the world joined in the establishment of the International Council for the Day of Vesak (ICDV). Its secretariat is located at Mahachulalongkornrajavidyalaya University in Thailand (MCU), which acts as the center for international Buddhists to organize commemorative activities in conjunction with Vesak. As a result of the regular and ongoing activities by the ICDV, the Economic and Social Council (ECOSOC) of the United Nations at its Substantive Session of July 2013 granted Special Consultative Status to the ICDV. The scope of this status covers four main areas: sustainable development, climate change, education and peace building process.

          This year the celebrations of the UN Day for Vesak were held in conjunction with the 70th Anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s Accession to the Throne and the 84th Royal Birthday of Her Majesty Queen Sirikit of Thailand; thus the participants offered their sincerest prayers for Their Majesties on this auspicious occasion, and wished Their Majesties good health, long life and eternal happiness.

          During the celebrations we have explored the theme of “Buddhist Path to World Peace” promoting mutual understanding and cooperation between organizations and individuals from all Buddhist traditions. Two symposiums were successfully convened parallel on the issues of Buddhist Education for Peace, and Buddhist Contributions to Environmental Responsibility for World Peace.

          In the opening ceremony the keynote speaker reminded the participants of the importance of moral, psychological and cognitive training, as illustrated in the teachings on the Noble Eightfold Path and the analysis of the Five Aggregates. The speech underlined the vital role of justice, good governance and security of individuals, families, communities and nations as crucial components of the World Peace.

          At the conclusion of our successful celebrations and meetings we have unanimously resolved as follows:
          1. It was pointed out that the war is indeed a condition of mind, thus peace of the world cannot be legislated. Tracing the root causes of conflict and violence in the mind of the global citizens, education was identified as a powerful means to help mankind to move towards unity of man, global economy and earth citizenship.

          Participants discussed and agreed about a broad framework for a possible Buddhist strategy for world peace, in general, and about the three main stages of peace building, in particular. Prevention, conflict resolution and rehabilitation were identified as the . key issues to be addressed. To prevent conflicts, the Buddhist leaders emphasized the importance of peace education. In case of outburst of conflict, for the resolution of it the restoration of dialog among involved parties is of the vital and immediate task. Finally, if aggressive actions, or even wars have taken place, concentration on rehabilitation ought to be at the center of the efforts of the Buddhists.

          2. Based on the recommendation of the Executive Committee of the International Council for the Day of Vesak (ICDV), participants agreed with the decision to make available for the broad public the printed version of the Common Buddhist Text which has been examined and approved by three different panels of experts and Buddhist leaders.

          3. In discussing the issues related to the Buddhist Path to Peace participants emphasized that one of the hallmarks of the Buddha's teachings is the promotion of peace and non-violence. Buddhism has always stressed the path of peaceful resolution of disputes between individuals, communities, nations or institutions. Excessive competition is to be avoided. Violence in all forms and manifestations is shunned. By and large, therefore, Buddhism is synonymous with peace. Because Buddhism firmly believes in freedom of choice for the individual and cherishes the diversity of human thoughts and ideas, it rejects the imposition of ideas on others. Tolerance is thus a central tenet in Buddhism.

          4. Participants expressed their strong belief that the universal message of peace, goodwill and compassion preached by the Lord Buddha more than 2,600 years ago has never been more relevant than today. Mutual understanding, kindness to fellow human beings and compassion are the hallmarks of the Buddhist faith. The Buddha himself once said that there is no problem in existence which cannot be resolved with the right understanding and the right effort. Every problem, however, intricate, however complex, contains within itself the means for its own resolution. Buddhism preaches moderation. The “Middle Path”, as Buddhists call it, is a way of life which seeks to avoid the pitfalls of extremism. The sense of moderation serves as a foundation for the actions of Buddhists towards others and, we hope, guards against excesses which all too often manifest themselves in our global village.

          5. Regarding the Buddhist contribution to environmental responsibility for world peace it was recognized that the welfare of every living being, no matter how insignificant it may seem to us, is spiritually important and deserving of our concern, embracing the whole biosphere, and not limiting to our generation but extending to the future generations as well.

          6. To further strengthen the mutual understanding and collective development on the Buddhist path between Buddhist communities worldwide, the participants agreed to dedicate the full moon day of May, as recognized and observed at the UN Headquarters and Regional Offices, as the day of chanting of the Buddha’s words and meditation.

          7. Participants univocally supported the newly established global standard as defined by the UN Framework Convention on the Climate Change sealed during the COP21 Summit in Paris last December and already signed by 177 signatories and 17 parties, 15 of which have already ratified it by now.

          8. The participants acknowledged the generosity of and the crucial role played by the Kingdom of Thailand in hosting the United Nations Day of Vesak over so many years, and to approve and support the Democratic Socialist Republic of Sri Lanka to host the next, 14th, Anniversary Celebrations of the United Nations Day of Vesak 2017 (B.E. 2560) in Sri Lanka.

          Done as the Bangkok Declaration of the Thirteenth Anniversary Celebrations of the United Nations Day of Vesak, this 23rd Day of May 2016 (B.E.2559)

 
นำเสนอข่าว : พระมหาผล  วิเชฏฺฐสมโณ
ข้อมูลข่าว : Mcu Tv-Channel
ภาพ : PYMLPHOTO, สมหมาย สุภาษิต






































ข้อมูลอื่นๆ
>>>สงกรานต์ประเพณี วิถีไทยวิถีธรรม วัดประยูรฯ ๒๕๕๙
>>>งานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๙
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร" พ.ศ.๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน "วันปีใหม่ วันเถลิงศก" สงกรานต์งานวันสุดท้าย วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๕๘
>>>Water Festival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำวิถีไทย วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด "ประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดรั้วเหล็ก" ๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ ในงานฉลองรางวัลยูเนสโก ๑๓-๑๖ พ.ค.๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์ที่มีแกนกลางแบบอยุธยา มีอุโมงค์ที่ให้คนเข้าไปดูได้ ได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน" วัดประยูรฯ ชนะเลิศประกวดอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม 
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศประกวดอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมฯ จากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (284 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (284 kb)

เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 | อ่าน 3798
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
ข่าวเด่น อื่นๆ
พระพรหมบัณฑิต บรรยาย เรื่อง 'การผลิตและพัฒนาครูตามแนวพุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น' ในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยราชกัฏเชียงใหม่
การเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยราชกัฏเชียงใหม่ ณ หอประชุมที่ปังกรรัศมิโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริมอำเภอแมริม จังหวัดเชียงใหม่ (เปิดอ่าน38)
1/5/2567
พระพรหมบัณฑิต บรรยาย เรื่อง 'ปฏิภาณโวหารในการเทศน์' โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ปี ๒๕๖๖
โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน162)
29/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และกล่าวสัมโมทนียกถา เรื่อง 'แดนพุทธจักรเขตอภัยทาน' ในพิธีหล่อเสาเอกค้ำโบสถ์ วัดใหม่ (ยายแป้น)
พิธีหล่อเสาเอกค้ำโบสถ์ วัดใหม่ (ยายแป้น) ณ วัดใหม่ยายแป้น ถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน78)
28/4/2567
พระพรหมบัณฑิต บรรยายสาระน่ารู้ เรื่องที่ ๑ เรื่อง 'พุทธเทศนาสาลิกาป้อนเหยื่อ' โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖
โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน106)
28/4/2567
พระพรหมบัณฑิต บรรยาย เรื่อง 'ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเทศน์' โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ปี ๒๕๖๖
โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน118)
25/4/2567
พระพรหมบัณฑิต กล่าวสัมโมทนียกถา เรื่อง 'ขวัญและกำลังใจแด่นักเทศน์' ในพิธีปฐมนิเทศโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย' ปี ๒๕๖๖
โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน101)
25/4/2567
พระพรหมบัณฑิต กล่าวอนุโมทนากถา เรื่อง 'โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย' พิธีปฐมนิเทศโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย' ปี ๒๕๖๖
โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน175)
25/4/2567
นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีปฐมนิเทศโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ปี ๒๕๖๖ ณ วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร กรุงเทพฯ
โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย ประจำปี ๒๕๖๖ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน99)
25/4/2567
พระพรหมบัณฑิต บรรยาย เรื่อง 'การบริหารด้วยปัญญาและคุณธรรม' ในการอบรมพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
การอบรมพัฒนาผู้บริหารระดับกลาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ ณ อาคาร มวก. ๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เปิดอ่าน108)
24/4/2567
พระพรหมบัณฑิต แสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง 'หิตปวัตติกถา' ว่าด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ ในงานพิธีสมโภชหิรัญบัฏ และบำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันอายุวัฒนมงคลครบ ๗ รอบ ๘๔ ปี พระพรหมวชิรเวที (อมร ญาโณทโย)
พิธีสมโภชหิรัญบัฏ และบำเพ็ญกุศลเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันอายุวัฒนมงคลครบ ๗ รอบ ๘๔ ปี พระพรหมวชิรเวที (อมร ญาโณทโย) ณ วัดปทุมวนาราม (เปิดอ่าน120)
23/4/2567
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 72 คน
วันนี้ 443 คน
เมื่อวานนี้ 2,370 คน
เดือนนี้ 4,989 คน
เดือนที่ผ่านมา 50,403 คน
ทั้งหมด 2,643,632 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob