แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
เปิดสมัครพระนักเทศน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
เรื่องน่าสนใจ
 

การเรียนบาลีแบบยอดด้วน


วัดประยุรวงศาวาส|กิจกรรมงานวัด'๖๗
>>>พิธีสวดมนต์ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ รับความเป็นสิริมงคล ปี ๒๕๖๗
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๖ ปี วัดประยูรฯ" กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สงกรานต์ วัดประยูรฯ" ปี ๒๕๖๗

[ไตรมาสที่ ๑]|คณะสงฆ์|วัดประยูรฯ|พระธรรมเทศนา'๖๗|พระพรหมบัณฑิต
>>>[ปาฐกถา] ๐๐๑ 'ตั้งสัจจกิริยาและสัจจาธิฏฐานรับปีใหม่'
>>>[บรรยาย] ๐๐๒ 'ปรับใจเริ่มชีวิตใหม่'
>>>[สัมโมทนียกถา] ๐๐๓ 'เริ่มปีใหม่ดีมีความสำเร็จไปกว่าครึ่ง'
>>>[ประธาน] สัมมนา 'พลิกโฉมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างศาสนทายาทฯ'
>>>[บรรยาย] ๐๐๔ 'บทบาทของวัดกับการพัฒนาชุมชน'
>>>[สัมโมทนียกถา] ๐๐๕ 'พาย้อนวันวาน งานสมโภชวัดประยูรฯ'
>>>[พิธี] สมโภชพระอาราม ๑๙๖ ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ปี ๒๕๖๗
>>>[เวทีเสวนา] ๓ ศาสนา 'ศาสนธรรมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน'
>>>[บรรยาย] ๐๐๖ 'ทุนเล่าเรียนหลวงเพื่อสัปปายะในการศึกษาและปฏิบัติธรรม'
>>>[เข้ารับการถวาย] ทุนการศึกษาพระราชทานฯ ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔
>>>[บรรยาย] ๐๐๗ 'บวร กับการพัฒนาชุมชนย่านกะดีจีน'
>>>[บรรยาย] ๐๐๘ 'ศาสตร์แห่งการตีความในพระพุทธศาสนา'
>>>[บรรยาย] ๐๐๙ 'โลกยุคใหม่หัวใจที่เป็นบวก'
>>>[บรรยาย] ๐๑๐ 'ความเป็นมาของเทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย'
>>>[บรรยาย] ๐๑๑ 'พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน'
>>>[สัมโมทนียกถา] ๐๑๒ 'พรหมวิหารมีพร้อมความอิ่มใจก็พรั่งพรู'
>>>[ประชุม] คณะอนุกรรมการจัดทำอนุบัญญัติ ประกอบพระราชบัญญัติการศึกษา
>>>[บรรยาย] ๐๑๓ 'ธรรมะรับปีใหม่ ๒๕๖๗'
>>>[ประชุม] คณะทำงานติดตามและประสานงานกลุ่มการจัดทำพระไตรปิฎก
>>>[บรรยาย] ๐๑๔ 'การตั้งสมณศักดิ์แต่ละครั้งเป็นเหมือนการเกิดใหม่']
>>>[บรรยาย] ๐๑๕ 'จริยธรรมกับการบริหารประเทศ'
>>>[บรรยาย] ๐๑๖ 'หลักธรรมและการพัฒนาจิตเพื่อการเป็นอัยการที่ดี'
>>>[ปาฐกถา] ๐๑๗ 'ประวัติศาสตร์มีไว้เตือนใจคน'
>>>[ปาฐกถา] ๐๑๘ 'ทำดีอย่างไรให้ได้ดี'
>>>[บรรยาย] ๐๑๙ 'พระสงฆ์ไทยพระสงฆ์โลก : การเผยแผ่เชิงรุก'
>>>[ร่วมเสวนา] ๐๒๐ 'เปลี่ยนการศึกษาไทย พลิกโฉมใหม่ให้ประเทศ'
>>>[บรรยาย] ๐๒๑ 'หลักไตรสิกขากับการศึกษาสถานศึกษา'
>>>[ประธาน] พิธีเวียนเทียน"วันมาฆบูชา" ปี ๒๕๖๗
>>>[ปาฐกถา] ๐๒๒ 'ขยายผลจากหมู่บ้านศีล ๕ สู่หมู่บ้านศีลธรรม' วส.ลำพูน
>>>[ประชุม] กรรมการวิชาการ โครงการ “เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย” ในหนเหนือ
>>>[พิธีต้อนรับ] การเข้าร่วมการประชุมของสภาสงฆ์โลก ครั้งที่ ๑๑ นิวซีแลนด์
>>>[พิธีเปิด] เข้าร่วมการประชุมของสภาสงฆ์โลก ครั้งที่ ๑๑ นิวซีแลนด์
>>>[ปาฐกถา] 001 A Buddhist Perspective on Environmental
                            Restoration for Harmonious Coexistence

>>>[พิธีปิด] เข้าร่วมการประชุมของสภาสงฆ์โลก ครั้งที่ ๑๑ นิวซีแลนด์
>>>[เมืองออคแลนด์] ชมทัศนียภาพและเยี่ยมวัดญาณประทีป
>>>[เสนอ] (ร่าง) แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและจิตอาสา
>>>[สัมโมทนียกถา] 002 Compare the Mahayana Malai with Theravada Malai'
>>>[สัมปสาทนียกถา] ๐๒๓ 'พื้นที่สร้างแรงกายและเสริมแรงใจ'
>>>[ประชุม] คณะกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗
>>>[ประชุม] คณะกรรมการกองทุนเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗
>>>[บรรยาย] ๐๒๔ 'แบบแผน แบบอย่าง แบบฉบับ' 
>>>[ต้อนรับ] คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร
>>>[ประชุม] รับทราบการดำเนินงานติดตั้งระบบรองรับการเผยแผ่ฯ
>>>[บรรยาย] ๐๒๕ 'พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ฯ'
>>>[ตรวจติดตาม] การใช้งานระบบ AI เทคโนโลยี “ห้องเรียนเสมือนจริง”
>>>[ประชุม] คณะกรรมการวิชาการ โครงการ ''เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย
>>>[บรรยาย] ๐๒๖ 'พระอุปัชฌาย์ต้องเป็นแบบที่ดี'
>>>[ประชุม] คณะกรรมการ ICDV&IABU ครั้งที่ ๑/๒๕๖
>>>[ร่วมประชุม] วันวิสาขบูชาโลกกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
>>>[เป็นพระอุปัชฌาย์] โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่นที่ ๑๖
>>>[บรรยาย] ๐๒๗ 'เมตตาช่วยลดปัญหาความเครียด' วัดมเหยงคณ์
>>>[บรรยาย] ๐๒๘ 'พุทธนวัตกรรมกับการสร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน'
>>>[บรรยาย] ๐๒๙ 'พุทธจิตวิทยากับการแก้ปัญหาชีวิต'
>>>[ต้อนรับ] คณะผู้แทนศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ (สปป.ลาว)
>>>[สัมโมทนียกถา] ๐๓๐ 'ทุนนิธิช่วยลดกังวลและส่งเสริมให้สำเร็จการศึกษา'

[ไตรมาสที่ ๒]|คณะสงฆ์|วัดประยูรฯ|พระธรรมเทศนา'๖๗|พระพรหมบัณฑิต
>>>[บรรยาย] ๐๓๑ 'ผูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย'
>>>[บรรยาย] ๐๓๒ 'การบริหารด้วยปัญญาและคุณธรรม' วส.ลำพูน

 

การเรียนบาลีแบบยอดด้วน
----------------------------
กรณีหลักสูตรการเรียนบาลีของคณะสงฆ์ไทยที่กำลังวิจารณ์กันในเวลานี้ จับประเด็นได้ว่า
๑ มีผู้วิจารณ์ว่า ตามหลักสูตรตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึง ป.ธ.๙ นักเรียนบาลีเรียนพระไตรปิฎกน้อยไป หรือแทบจะไม่ได้เรียนเลย
๒ มีผู้วิจารณ์แตกประเด็นออกไปอีกว่า นักเรียนบาลีที่จบ ป.ธ.๙ ตามหลักสูตรและตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ทำกันอยู่ ไม่ได้เป็นผู้ทรงภูมิรู้สูงและสุดยอดในพระพุทธศาสนาอย่างที่ยกย่องกัน
ขอจับแค่ ๒ ประเด็นนี้ก่อน
.........................................................
ตามข้อ ๑ คือยังคงมีความคิดหรือความเข้าใจกันอยู่ว่า พระไตรปิฎกนั้นเรียนกันเฉพาะในหลักสูตรการเรียนบาลีเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือเข้าใจกันว่า หลักสูตรการเรียนบาลีของเราเปิดขึ้นมาเพื่อเรียนพระไตรปิฎก
ครั้นพอตรวจสอบดูแล้ว พบว่าเรียนตัวพระไตรปิฎกน้อยอย่างยิ่ง หรือแทบจะไม่ได้เรียนเลย ก็จึงยกขึ้นมาวิจารณ์
ตามข้อ ๒ คือยังคงมีความคิดหรือความเข้าใจกันอยู่ว่า หลักสูตรการเรียนบาลีของเราเปิดขึ้นมาเพื่อสอนพระภิกษุสามเณรหรือผู้เรียนบาลีให้เป็นผู้ทรงภูมิรู้เชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา
ครั้นพอตรวจสอบดูแล้ว พบว่า กระบวนการเรียนการสอนบาลีทุกชั้นไม่มีขั้นตอนใด ๆ ที่เป็นการฝึกฝนอบรมบ่มเพาะให้นักเรียนบาลีเป็นผู้ทรงภูมิรู้เชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา ก็จึงยกขึ้นมาวิจารณ์
.........................................................
ผมพิจารณาแล้วเห็นว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนบาลีของคณะสงฆ์ไทยก็ดี ข้อวิจารณ์ทั้ง ๒ ประเด็นก็ดี ถ้าเรียกให้สุภาพก็ว่าเป็นการมองต่างมุม แต่ถ้าพูดกันตรง ๆ ก็ต้องบอกกันตรง ๆ ว่าเป็นการมองการเรียนบาลีแบบยอดด้วน
การเรียนบาลีที่ถูกต้อง ยอดไม่ด้วน คือการเรียนรู้ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญในกระบวนภาษาบาลี แล้วใช้ความรู้บาลีนั้นไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกต่อไป
พูดให้ชัด ๆ การเรียนบาลีมีงานที่จะต้องทำอยู่ ๒ ตอน
.........................................................
ตอนหนึ่ง เริ่มเรียน เรียนให้เชี่ยวชาญในกระบวนภาษาบาลี ตอนนี้เหมือนต้นไม้ มีต้นแต่ยังไม่มียอด
ตอนสอง เรียนจบ เอาความเชี่ยวชาญภาษาบาลีไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก เหมือนต่อยอดไม้
.........................................................
อุปมาให้เห็นชัด ๆ การเรียนบาลีเหมือนการเรียนหมอ
เรียนหมอคือเรียนวิชาการในกระบวนการรักษาคนป่วย
เรียนจบตามกระบวนการแล้ว เอาความรู้ที่เรียนมาไปรักษาคนป่วย
นี่คือกระบวนการเรียนหมอที่ถูกต้อง
เรียนบาลีคือเรียนให้รู้เข้าใจกระบวนภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎก
เรียนจบตามกระบวนการแล้ว เอาความรู้ที่เรียนมาไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก
นี่คือกระบวนการเรียนบาลีที่ถูกต้อง
พระไตรปิฎกอุปมาเหมือนคนป่วยที่รอการรักษา
เรียนบาลีจบแล้วไม่ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก
อุปมาเหมือนเรียนหมอจบแล้วไม่รักษาคนป่วย
การเรียนบาลีของเราผิดพลาดถึงขั้นหลงทางหรือยอดด้วน เพราะเราเรียนตามหลักสูตรเพื่อให้จบตามหลักสูตร ได้ศักดิ์และสิทธิ์ตามชั้นประโยค แล้วด้วนอยู่เพียงแค่นั้น
ไม่ได้จัดการให้ผู้เรียนจบแล้วไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกต่อยอดไปอีก
เทียบกับผู้เรียนหมอจบแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นหมอ แต่ไม่รักษาคนป่วย-ซึ่งไม่มีคนจบหมอที่เป็นปกติคนไหนทำอย่างนั้น
แต่คนจบบาลีของเราทำอย่างนั้นกันแทบทั้งหมด เพราะเราเรียนแบบยอดด้วน เรียนรู้ภาษาบาลี แต่ไม่ได้เอาความรู้ไปทำงานบาลี
โปรดเข้าใจว่า การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ไม่ใช่-และไม่ควรทำด้วยวิธีการเปิดเรียนเปิดสอนในชั้นเรียน เพียงแค่ ๙ ปี ๑๐ ปี (ประโยค ๑-๒ ถึง ป.ธ.๙) ก็จบบริบูรณ์
การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกต้องเป็นการเรียนตลอดชีวิต-และไม่ใช่เรียนเฉพาะในชั้นเรียน
และโปรดเข้าใจว่า ถ้าต้องการฝึกฝนอบรมบ่มเพาะให้คนของเราเป็นผู้ทรงภูมิรู้เชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา ก็ต้องทำด้วยวิธีเปิดโรงเรียนฝึกฝนอบรมบ่มเพาะ แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีเปิดการเรียนการสอนบาลีอย่างที่คณะสงฆ์ไทยทำอยู่
เพราะฉะนั้น การจะหวังให้นักเรียนบาลีของเราจบ ป.ธ.๙ แล้วเป็นผู้ทรงภูมิรู้เชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา จึงไม่ถูกเรื่อง-เหมือนปลูกขนุนแล้วหวังว่าจะออกลูกมาเป็นมะม่วง
แล้วจะทำอย่างไร?
จะทำอย่างไร ต้องตั้งหลักให้ถูก
หลักของเราก็คือ-เรามีพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์อันเป็นตัวพระศาสนารอการศึกษาค้นคว้าอยู่
พระไตรปิฎกบันทึกไว้เป็นภาษาบาลี เราจึงต้องการคนรู้บาลีเพื่อจะได้ศึกษาพระไตรปิฎกได้ถึงระดับ primary sources
เราจึงเปิดการศึกษาภาษาบาลี (๑) เพื่อผลิตผู้มีความรู้ภาษาบาลี (๒) แล้วส่งไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกที่รอการศึกษาค้นคว้าอยู่-เหมือนคนป่วยรอหมอ
แต่เราพลาดตรงที่-ผลิตผู้มีความรู้ภาษาบาลีออกมาแล้ว แต่ไม่มีแผนหรือโครงการหรือเป้าหมายใด ๆ ที่จะส่งไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก
การเรียนหมอมีแผนอันชัดเจนและทำได้ตามแผน คือจบหมอแล้วส่งเข้าสู่กระบวนการรักษาคนป่วยทั้งหมด
แต่การเรียนบาลีของเรา จบบาลีแล้วไม่มีแผนใด ๆ ที่จะส่งเข้าสู่กระบวนการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ผิดกันตรงนี้
.........................................................
เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก คือ
(๑) เพื่อให้รู้เข้าใจหลักคำสอนที่ถูกต้อง
(๒) เอาหลักคำสอนที่ถูกต้องนั้นมาปฏิบัติขัดเกลาตนเอง
(๓) แล้วเผยแผ่ให้แพร่หลายสู่สังคม
.........................................................
ถ้าผู้บริหารการพระศาสนาของเรามีนโยบายว่า พระพุทธศาสนาในสังคมไทยไม่จำเป็นต้องทำอย่างนี้ และจะไม่ทำอย่างนี้
ก็จบแค่นี้
จะเรียนบาลีเพื่ออะไร หรือจะไม่เรียนเพื่ออะไร-เลิกพูดกัน
เก็บพระไตรปิฎกไว้ในตู้ เอาไว้บูชากันในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้านเมืองต่อไป
.........................
แต่ถ้าเราเห็นว่า พระพุทธศาสนาในสังคมไทยจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกตามเป้าหมายทั้ง ๓ ข้อนั้น ก็ขอให้ช่วยกันคิดว่า จะมีวิธีไหนบ้าง-ทำให้นักเรียนบาลีของเรา-เมื่อเรียนจบแล้วหรือเมื่อเรียนจนพอมีความรู้แล้วก็มุ่งหน้าไปสู่กระบวนการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก-เหมือนคนเรียนหมอ เรียนจบแล้วมุ่งหน้าไปสู่กระบวนการรักษาคนป่วย
ช่วยกันคิดตรงนี้ครับ
จะวิจารณ์การเรียนบาลีว่าอย่างไรก็เชิญว่ากันให้เต็มสติเถิด
แต่ต้องช่วยกันคิดเรื่องนี้ด้วย
พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย
ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา
๔ เมษายน ๒๕๖๗
๑๘:๕๗


ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (4 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (4 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (4 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (4 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (4 kb)

เขียนเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2567 | อ่าน 418
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
เรื่องน่าสนใจอื่นๆ
การเรียนบาลีแบบยอดด้วน
การเรียนบาลีของเราผิดพลาดถึงขั้นหลงทางหรือยอดด้วน เพราะเราเรียนตามหลักสูตรเพื่อให้จบตามหลักสูตร ได้ศักดิ์และสิทธิ์ตามชั้นประโยค แล้วด้วนอยู่เพียงแค่นั้น (เปิดอ่าน419)
6/4/2567
ทุกคนต้องรู้จัก ฟังความคิดเห็น รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นบ้าง
นับเป็นหัวใจสำคัญของเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทุกอย่าง จะประสบความสำเร็จหรือราบรื่นได้ (เปิดอ่าน7728)
30/10/2565
เอาใจเขามาใส่ใจเรา
การที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากคิดที่จะทำอะไรสักอย่างกับผู้อื่น ให้นึกถึงความรู้สึกของเขา โดยสมมติว่าหากตนเองถูกกระทำเช่นนั้นจะรู้สึกอย่างไร (เปิดอ่าน8863)
30/10/2565
อินเดียเจอมาแล้ว...ไทยอย่าเป็นรายต่อไป!! ป.อ. ปยุตโต ชี้ชัด
"ใครทำให้พุทธอินเดียถึงกาลอวสาน?" ... พุทธไทยรู้แล้วอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย!! (เปิดอ่าน21674)
30/11/2564
รู้ให้ชัดก่อนฉีดวัคซีน COVID-19
การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เปิดอ่าน33732)
8/4/2564
คนเห็นแก่ตัว แก่พวก แก่พ้อง
คนเห็นแก่ตัวคือ คนที่คิด พูด ทำ เพื่อประโยชน์ตนทั้งสิ้น ไม่คำนึงถึงประโยชน์ผู้อื่นเลย (เปิดอ่าน51745)
17/3/2564
นักวิจัยพบเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์แล้ว 33 สายพันธุ์ ยิ่งพัฒนาวัคซีนยาก ชี้สายพันธุ์ยุโรปร้ายแรงสุด
นักวิจัยพบไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลายพันธุ์แล้วกว่า 33 สายพันธุ์ โดยการกลายพันธุ์เกิดตามสภาพการติดต่อของแต่ละพื้นที่ของโลก (เปิดอ่าน40369)
23/4/2563
โควิด-19 (ไวรัสโคโรนา) vs ไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างของ ไข้หวัดธรรมดา และ โควิด-19 (โคโรนาไวรัส) (เปิดอ่าน39490)
22/4/2563
วิจัยย้ำ! "ไม่ได้กลิ่น-ไม่รู้รส" เป็นอาการ "โควิด-19" ที่พบได้ชัดเจนกว่าอื่นๆ
งานวิจัยชิ้นล่าสุดย้ำ หากไม่ได้กลิ่น และไม่รู้รสชาติ อาจเป็นอาการโควิด-19 ที่พบได้ก่อนจะมีไข้ ไอ จาม เสียอีก (เปิดอ่าน24295)
22/4/2563
สรุปทุกเรื่อง “ไวรัสโคโรนา” หรือ “โควิด-19” คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร?
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 (เปิดอ่าน39238)
22/4/2563
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 87 คน
วันนี้ 1,537 คน
เมื่อวานนี้ 1,766 คน
เดือนนี้ 49,801 คน
เดือนที่ผ่านมา 38,662 คน
ทั้งหมด 2,638,040 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob