แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
ขอเชิญเที่ยวงาน
เรื่องน่าสนใจ
 

อินเดียเจอมาแล้ว...ไทยอย่าเป็นรายต่อไป!! ป.อ. ปยุตโต ชี้ชัด


วัดประยุรวงศาวาส|กิจกรรมงานวัด'๖๔
>>>ขอเชิญร่วมสวดมนต์ข้ามปี วิถีออนไลน์ สไตส์นิวนอร์มอล ต้อนรับปี ๒๕๖๔
>>>สวดมนต์ข้ามปี วิถีออนไลน์ สไตส์นิวนอร์มอล ปี ๒๕๖๔
>>>ระเบียบวิธีปฏิบัติการป้องกันโรคระบาดโคโรนา (COVID-19)
>>>คณะสงฆ์วัดประยูรฯ เยี่ยมไข้พระสมุห์ประยูร อภิปุญฺโญ ที่สุพรรณบุรี
>>>ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรม เนื่องใน 'วันมาฆบูชา' ๒๕๖๔
>>>รายนามผู้ร่วมบริจาคทำบุญอุทิศถวายพระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจนมหาเถร) ปี'๖๔
>>>สนามสอบบาลีสนามหลวงชั้นประโยค ป.ธ.๓
>>>รับการถวายภัตตาหาร สิ่งของพระราชทาน เพื่อถวายแก่นักเรียนสอบ ป.ธ.๓ วันแรก
>>>รับการถวายภัตตาหาร สิ่งของพระราชทาน เพื่อถวายแก่นักเรียนสอบ ป.ธ.๓ วันที่ ๒
>>>รับการถวายภัตตาหาร สิ่งของพระราชทาน เพื่อถวายแก่นักเรียนสอบ ป.ธ.๓ วันที่ ๓
>>>พิธีเจริญพระพุทธมนต์ 'รตนสูตร' ตามมติ มส
>>>ขอเชิญร่วมพิธีกฐินพระราชทาน วัดประยุรวงศาวาส ประจำปี ๒๕๖๔
>>>พิธีทอดกฐินพระราชทาน วัดประยุรวงศาวาส ประจำปี ๒๕๖๔
>>>ประเพณีลอยกระทงประทีปเทียนหอม วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๔

 

อินเดียเจอมาแล้ว...ไทยอย่าเป็นรายต่อไป!! ป.อ. ปยุตโต ชี้ชัด "ใครทำให้พุทธอินเดียถึงกาลอวสาน?" ... พุทธไทยรู้แล้วอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย!!

“เหตุที่พุทธสูญสิ้นที่อินเดีย”

มูลเหตุแห่งการเสื่อมสูญของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดียนั้นมีหลากหลายความเห็นจากปราชญ์และนักวิชาการ ซึ่งล้วนแต่มีเหตุผลและความเป็นไปได้ทั้งสิ้น  โดยเฉพาะปราชญ์ทางด้านพุทธศาสนาอย่างสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) นั้น ท่านได้กล่าวถึงสาเหตุที่สำคัญไว้หลายอย่าง โดยมีการสรุปไว้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

๑. ใจกว้างจนลืมหลัก เสียหลักจนถูกกลืน

          เหตุอันแรกที่เห็นได้คือ ชาวพุทธเราใจกว้าง แต่ศาสนาอื่นเขาไม่ใจกว้างด้วย  นี่เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้พุทธศาสนาสูญสิ้นไป  เพราะว่าเมื่อพุทธศาสนาเกิดขึ้นนั้นก็สอนเพียงแต่หลักธรรมเป็นกลางให้คนประพฤติดี ทำความดี  จะนับถือหรือไม่นับถือก็ไม่ได้ว่าอะไร  ถ้าเป็นคนดีแล้วก็ไปสู่คติที่ดีหมด  ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นชาวพุทธจึงจะไปสวรรค์ได้  หรือว่าชาวพุทธที่มานับถือแล้วทำตัวไม่ดีก็ไปนรกเหมือนกัน

          เมื่อชาวพุทธได้เป็นใหญ่ เช่นอย่างพระเจ้าอโศกมหาราชครองแผ่นดิน ก็อุปถัมภ์ทุกศาสนาเหมือนกันหมด  แต่ผู้ที่ได้รับอุปถัมภ์เขาไม่ได้ใจกว้างตามด้วย  เพราะฉะนั้นพวกอำมาตย์พราหมณ์ของราชวงศ์อโศกเองก็เป็นผู้กำจัดราชวงศ์อโศก  จะเห็นว่าอำมาตย์ที่ชื่อปุษยมิตรก็ได้ปลงพระชนม์พระเจ้าแผ่นดินที่เป็นหลานของพระเจ้าอโศก แล้วตั้งราชวงศ์ใหม่ที่กำจัดชาวพุทธ แต่ก็กำจัดได้ไม่เสร็จสิ้น มีมาเรื่อย  จนกระทั่งถึงพระเจ้าหรรษวรรธนะครองราชย์ อำมาตย์ฮินดูก็กำจัดพระองค์เสียอีก  ก็เป็นมาอย่างนี้ จนในที่สุด มุสลิมก็เข้ามาบุกกำจัดเรียบไปเลยเมื่อ พ.ศ. ๑๗๐๐

          ในด้านหนึ่ง ความใจกว้างของชาวพุทธนั้นบางทีก็กว้างเลยเถิดไปจนกลายเป็นลืมหลักหรือใจกว้างอย่างไม่มีหลัก ไม่ยืนหลักของตัวไว้  กว้างไปกว้างมาเลยกลายเป็นกลมกลืนกับเขาจนศาสนาของตัวเองหายไปเลย  ที่หายไปให้เห็นอย่างชัดเจนก็คือไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดู  ตอนที่มุสลิมยังไม่เข้ามา ศาสนาพุทธเราก็อ่อนมากแล้ว เพราะไปกลมกลืนกับศาสนาฮินดูมาก ปล่อยให้ความเชื่อของฮินดูเข้ามาปะปน

๒. คลาดหลักกรรม คลำไปหาฤทธิ์

          ในทางพุทธศาสนานั้นจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าก็มีฤทธิ์เหมือนกัน เป็นปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งในบรรดาปาฏิหาริย์สาม  แต่ต้องยืนยันหลักไว้เสมอว่า ปาฏิหาริย์ที่สำคัญที่สุดคือ "อนุศาสนีปาฏิหาริย์" ปาฏิหาริย์ที่เป็นหลักคำสอน  ไม่ใช่ปาฏิหาริย์ที่เป็นการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ  ในทางพุทธศาสนาให้ถือการกระทำของเราเป็นหลัก  ส่วนฤทธิ์หรือเทพเจ้านั้นจะมาเป็นตัวประกอบหรือช่วยเสริมการกระทำของเรา  จะต้องเอาการกระทำของตัวเองเป็นหลักเสียก่อน  ถ้าหากว่าเราไม่เอาการกระทำหรือกรรมเป็นหลัก เราก็จะไปหวังพึ่งการดลบันดาลของเทพเจ้า หวังพึ่งฤทธิ์ของผู้อื่นมาทำให้ ไม่ต้องกระทำด้วยตนเอง ก็งอมืองอเท้า มันก็มีแต่ความเสื่อมไป

          จุดที่เสื่อมก็คือตอนที่ชาวพุทธลืมหลักกรรม ไม่เอาการกระทำของตัวเองเป็นหลัก ไปหวังพึ่งเทพเจ้า ไปหวังพึ่งฤทธิ์พึ่งปาฏิหาริย์  ตราบใดที่เรายืนหลักได้ คือเอากรรมหรือเอาการกระทำเป็นหลัก แล้วถ้าจะไปนับถือฤทธิ์ปาฏิหาริย์บ้าง ฤทธิ์ปาฏิหาริย์นั้นก็มาประกอบเสริมการกระทำ ก็ยังพอยอม  แต่ถ้าใครใจแข็งพอก็ไม่ต้องพึ่งฤทธิ์ ไม่ต้องพึ่งปาฏิหาริย์อะไรทั้งสิ้น เพราะพุทธศาสนานั้น ถ้าเราเอากรรมหรือการกระทำเป็นหลักแล้วก็จะยืนหยัดอยู่ได้เสมอ

๓. เฉยไม่ใช่ไร้กิเลส แต่เป็นเหตุให้พระศาสนาสิ้น

          พอมีภัยหรือเรื่องกระทบกระเทือนส่วนรวม ชาวพุทธไม่น้อยมีลักษณะที่วางเฉย ไม่เอาเรื่อง แล้วเห็นลักษณะนี้เป็นดีไป  เห็นว่าใครไม่เอาเรื่องเอาราว มีอะไรเกิดขึ้นก็เฉย ๆ ไม่เอาเรื่อง กลายเป็นดี ไม่มีกิเลส เห็นอย่างนี้ไปก็มี  ในทางตรงข้าม ถ้าไปยุ่งก็แสดงว่ามีกิเลส  อันนี้อาจจะพลาดจากคติพุทธศาสนาไปเสียแล้ว และจะกลายเป็นเหยื่อเขา  ในทางพุทธศาสนานั้น ผู้ไม่มีกิเลสท่านยุ่งกับเรื่องที่กระทบกระเทือนกิจการส่วนรวม  แต่การยุ่งของท่านมีลักษณะที่ไม่เป็นไปด้วยกิเลส คือทำด้วยใจที่บริสุทธิ์  ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้ทำเป็นคติไว้แล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล

          กิจการส่วนรวมเป็นเรื่องที่จะต้องร่วมกันพิจารณาเอาใจใส่ นี้เป็นคติทางพุทธศาสนา  แต่ในบางยุคบางสมัยเราไปถือว่า การไม่เอาธุระ จะมีเรื่องราวกระทบกระเทือน มีภัยเกิดขึ้นกับส่วนรวม ก็ไม่ยุ่งไม่เกี่ยวอะไรต่าง ๆ แล้วเป็นว่าไม่มีกิเลสไปก็มี  อย่างนี้เป็นทางหนึ่งของความเสื่อมในพุทธศาสนา  คติที่ถูกต้องนั้นสอดคล้องกับหลักความจริงที่ว่า พระอรหันต์หรือท่านผู้หมดกิเลสนั้นเป็นผู้บรรลุประโยชน์ตนสมบูรณ์แล้ว หมดกิจที่จะต้องทำเพื่อตัวเองแล้ว จึงมุ่งแต่จะบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น ขวนขวายในกิจของส่วนรวมอย่างเต็มที่

๔. โจรเข้ามาปล้นศาสน์ เลยยกวัดให้แก่โจร

          อีกอย่างหนึ่งคือการฝากศาสนาไว้กับพระ  ชาวพุทธเป็นจำนวนมากทีเดียวชอบฝากศาสนาไว้กับพระอย่างเดียว แทนที่จะถือตามคติของพระพุทธเจ้า  พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระศาสนานั้นอยู่ด้วยบริษัทสี่ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา  ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่ง แต่จะต้องช่วยกัน

          ทีนี้พวกเรามักจะมองว่าพระศาสนาเป็นเรื่องของพระ  บางทีเมื่อมีพระประพฤติไม่ดี ชาวบ้านบางคนบอกว่าไม่อยากนับถือพุทธศาสนาแล้ว อย่างนี้ก็มี  แทนที่จะเห็นว่าพุทธศาสนาเป็นของเรา  พระองค์นี้ประพฤติไม่ดี เราต้องช่วยกันแก้ ต้องเอาออกไป แทนที่จะคิดอย่างนั้นกลับกลายเป็นว่าเรายกศาสนาให้พระองค์นั้น  เหมือนโจรผู้ร้ายเข้ามาปล้นบ้านของเรา แทนที่จะรักษาสมบัติของเรากลับยกสมบัตินั้นให้โจรไปเสีย  พระองค์ที่ไม่ดีก็เลยดีใจ กลายเป็นเจ้าของศาสนา  เรายกให้แล้ว บอกไม่เอาแล้วศาสนานี้  เป็นอย่างนี้ก็มี  นี่เป็นทัศนคติที่ผิด  ชาวพุทธเราทั่วไปไม่น้อยมีความคิดแบบนี้ ทำเหมือนกับว่าพุทธศาสนาเป็นเรื่องของพระ เราก็ไม่ต้องรู้ด้วย

          สาเหตุที่พุทธศาสนาสูญสิ้นจากอินเดียนั้นอาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง  แต่ปัจจัยสำคัญก็คือสาเหตุทั้งสี่อย่างตามที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้วิเคราะห์เอาไว้นี้

          สำคัญกว่านั้น ประเทศที่เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาแห่งหนึ่งของโลกในเวลานี้อย่างประเทศไทยสมควรอย่างยิ่งที่จะตระหนักและทบทวนตนเองอยู่เสมอตามที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ท่านได้ตรัสเตือนไว้ เพื่อมิให้ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกับอินเดียที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นดินแดนที่ให้กำเนิดพุทธศาสนา!!

ที่มา : ธรรมบรรยาย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
 


วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทงประทีปเทียนหอม วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญร่วมทำบุญกฐินพระราชทานวัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๓
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลตักบาตรเทโวโรหณะ วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>ร่วมงานแถลงข่าว“River Festival 2020 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย”ครั้งที่ ๖
>>>๕ สมเด็จพระราชาคณะ ร่วมงานสมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๒ วิถีไทยต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทง วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๒
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๒
>>>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิดอาคาร "สิริภักดีธรรม"
>>>ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๑ วิถีไทยต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๒ วิถีพุทธ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๑ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๑
>>>แถลงข่าวการจัดงานสงกรานต์ประจำปี ๒๕๖๑ Water Festival 2018
>>>๓ สมเด็จพระราชาคณะ ร่วมเจริญพระพุทธมนต์งานสมโภชวัดประยูรฯ ๑๙๐ ปี
>>>เปิดงานสมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ อย่างอลังการ สืบสานวัฒนธรรมไทย
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>งาน"วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ๑๘๙ ปี"
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน"สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ"ปี ๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน"วันปีใหม่ วันเถลิงศก"วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘
>>>WaterFestival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำ วัดประยูร ฯ ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด"ประยูรฯวัดรั้วเหล็ก"๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ งานฉลองรางวัลยูเนสโก ๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์มีแกนกลางแบบอยุธยาได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน"วัดประยูรฯ ชนะเลิศอนุรักษ์
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศจากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส
>>>มส. มอบของยังชีพแก่ผู้ประสบอัคคีภัยชุมชนจอมทอง



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (4 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (4 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (4 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (4 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (4 kb)

เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 | อ่าน 20554
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
เรื่องน่าสนใจอื่นๆ
ทุกคนต้องรู้จัก ฟังความคิดเห็น รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นบ้าง
นับเป็นหัวใจสำคัญของเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทุกอย่าง จะประสบความสำเร็จหรือราบรื่นได้ (เปิดอ่าน7143)
30/10/2565
เอาใจเขามาใส่ใจเรา
การที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากคิดที่จะทำอะไรสักอย่างกับผู้อื่น ให้นึกถึงความรู้สึกของเขา โดยสมมติว่าหากตนเองถูกกระทำเช่นนั้นจะรู้สึกอย่างไร (เปิดอ่าน7957)
30/10/2565
อินเดียเจอมาแล้ว...ไทยอย่าเป็นรายต่อไป!! ป.อ. ปยุตโต ชี้ชัด
"ใครทำให้พุทธอินเดียถึงกาลอวสาน?" ... พุทธไทยรู้แล้วอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย!! (เปิดอ่าน20555)
30/11/2564
รู้ให้ชัดก่อนฉีดวัคซีน COVID-19
การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เปิดอ่าน32843)
8/4/2564
คนเห็นแก่ตัว แก่พวก แก่พ้อง
คนเห็นแก่ตัวคือ คนที่คิด พูด ทำ เพื่อประโยชน์ตนทั้งสิ้น ไม่คำนึงถึงประโยชน์ผู้อื่นเลย (เปิดอ่าน49940)
17/3/2564
นักวิจัยพบเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์แล้ว 33 สายพันธุ์ ยิ่งพัฒนาวัคซีนยาก ชี้สายพันธุ์ยุโรปร้ายแรงสุด
นักวิจัยพบไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลายพันธุ์แล้วกว่า 33 สายพันธุ์ โดยการกลายพันธุ์เกิดตามสภาพการติดต่อของแต่ละพื้นที่ของโลก (เปิดอ่าน39567)
23/4/2563
โควิด-19 (ไวรัสโคโรนา) vs ไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างของ ไข้หวัดธรรมดา และ โควิด-19 (โคโรนาไวรัส) (เปิดอ่าน38828)
22/4/2563
วิจัยย้ำ! "ไม่ได้กลิ่น-ไม่รู้รส" เป็นอาการ "โควิด-19" ที่พบได้ชัดเจนกว่าอื่นๆ
งานวิจัยชิ้นล่าสุดย้ำ หากไม่ได้กลิ่น และไม่รู้รสชาติ อาจเป็นอาการโควิด-19 ที่พบได้ก่อนจะมีไข้ ไอ จาม เสียอีก (เปิดอ่าน23782)
22/4/2563
สรุปทุกเรื่อง “ไวรัสโคโรนา” หรือ “โควิด-19” คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร?
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 (เปิดอ่าน38627)
22/4/2563
7 พฤติกรรมเสี่ยง “วัณโรค” โรคร้ายเก่าแต่ยังระบาดไม่หยุด
เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 และ "วัณโรค" ก็ถือเป็นโรคติดต่อในระบบทางเดินหายใจที่สร้างความหวาดกลัวและคร่าชีวิตของใครหลายคนเช่นเดียวกัน (เปิดอ่าน39588)
26/3/2563
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 76 คน
วันนี้ 798 คน
เมื่อวานนี้ 912 คน
เดือนนี้ 34,850 คน
เดือนที่ผ่านมา 30,824 คน
ทั้งหมด 2,584,426 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob