แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
เปิดสมัครพระนักเทศน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

oooooop

 

ตำนานสาริกาป้อนเหยื่อ

ตำนานสาริกาป้อนเหยื่อ
     ท่านผู้รับการอบรมหลักสูตรวิชาการเทศนารุ่นที่ ๑๖ ว่าที่พระธรรมถึกทุกรูป ได้กล่าวไว้ ตั้งแต่ตอนต้น ๆ ว่า จะพูดเรื่องสาลิกาป้อนเหยื่อ ให้ท่านทั้งหลายได้ทราบตำนานการเทศน์ของวัดประยุรวงศาวาส และก็เป็นการเทศน์ที่สืบต่อกันมาแต่ สมัยโบราณ สมัยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (จี่) ต่อเนื่องมาทุกยุคทุกสมัย เป็นหัวใจของการเทศน์ในปัจจุบัน และถ้าใครเทศน์สาลิกาป้อนเหยื่อได้ถือว่าสุดยอดของนักเทศน์ และที่เรามักจะพูดว่า พระสงฆ์ไทยสมัยนี้เทศน์ไม่เป็น ก็เพราะว่าไม่รู้จักลีลาสาลิกาป้อนเหยื่อ ซึ่งเป็นตำรับที่พระนักเทศน์รุ่นใหม่ ไม่ค่อยรู้จัก และเราก็ไปใช้ลีลาปาฐกถาธรรมบรรยาย ซึ่งไม่ใช่การเทศน์ ซึ่งทำให้เจ้าฟ้าเจ้านาย อย่างสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ปรารภกับผมในครั้งหนึ่งว่า “พระสมัยนี้เทศน์ไม่เป็น”
     อะไรคือทำให้พระสมัยนี้ ไปเทศน์ ด้วยลีลาอื่นซึ่งไม่ใช่ลีลาเทศนา จะวิเคราะห์ให้ฟัง และทำไมวัดประยุรวงศาวาส จึงรักษาเอาไว้ได้ เหมือนสำนักเส้าหลินรักษากังฟู เพราะเหตุอะไรก็จะเล่าให้ฟัง แต่เนื่องจากว่าวันนี้ ท่านได้ฟังเรื่องภาษากับการเทศน์มาแล้ว ผมก็เก็บเอาไว้พูดในเรื่องภาษา เพราะมันเกี่ยวกับภาษา พูดวันอื่นท่านจะตามไม่ทัน ประหยัดเวลาในการพูด
ภาษากับการเทศน์
     ด้วยว่าพวกท่านได้ฟังการบรรยายเรื่องภาษาไทยภาษาธรรมไปแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อท่านฟังมาแล้ว ก็จะประหยัดในการบรรยายไปเยอะทีเดียว ภาษากับการเทศน์นั้น ผมจะข้ามไปหลายเรื่องนะ ที่ตั้งใจจะพูดก็คงจะไม่พูด จะพูดเรื่องสาลิกาป้อนเหยื่อ ก็คือว่ามันเกี่ยวข้องกับสาลิกาอย่างไร ที่ว่าภาษากับการเทศน์ เกี่ยวข้องในหลายความหมาย จะกำหนดไว้เพียง ๓ ข้อด้วยกัน
      ข้อที่ ๑ ท่านต้องรู้ภาษาบาลี กัณฑ์เทศน์ที่ไม่ใช้ภาษาบาลี เป็นอุเทศเบื้องต้น ออกเสียงไม่ถูก ใส่อิติไม่เป็น ก็เรียกว่าตกม้าตายตั้งแต่ยกแรก ดุ่ย ๆ ท่านไม่มีภาษาบาลี ขึ้นเทศน์ เริ่มเทศนาโดยคำว่า จักแสดงพระธรรมเทศนา อาตมภาพจักแสดงพระธรรมเทศนา ไม่ตั้งนะโม ไม่มีบาลี เราก็ไม่เรียกว่าเทศน์ อนนี้ชัดเจนมาก
     ข้อที่ ๒ เวลาที่ท่านเทศน์ ท่านไม่ใช้สมณโวหาร แต่ท่านพูดโดยภาษาชาวบ้าน เช่นคำว่า “ผม” แทนตนเอง แต่ไม่ใช้คำว่า “อาตมภาพ” ซึ่งเป็นคำของพระที่เรียกใช้แทนตัวเอง ท่านก็ไม่ได้กำลังเทศน์ ต่อให้ท่านมีบาลีอุเทศ ตั้งนะโมเรียบร้อย มีคาถาภาษาบาลีเสร็จ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถติ ณ บัดนี้ ผมจะเทศน์เรื่องพึ่งตน หมดมู้ดแล้ว ท่านไม่ได้ใช้สมณโวหารภาษาที่เหมาะกับการเทศน์ ท่านมาฝึกเทศน์ที่ ตกหลายรูป เพราะเห็นหน้าผู้ฟังเป็นพระท่านก็ “ผม” แต่เรากำลังฝึก ฝึกมันจะมีแบบ ขึ้นธรรมาสน์เทศน์ ไม่ว่าผู้ฟังจะเป็นใครก็ตาม ต้องใช้ สมณโวหารว่า อาตมภาพ เท่านั้น แม้ผู้ฟังจะเป็นพระ ถ้าท่านไปใช้ “ผม” เมื่อไร เท่ากับท่านใช้สมณโวหารผิด ไม่ใช่เทศนา คือปาฐกถาหรือบรรยายธรรม ทันที
     ข้อที่ ๓ ลีลาสาลิกาป้อนเหยื่อในการเทศน์ ต่างจากลีลาของปาฐกถา พยายามหลีกลีลาของการอภิปรายและไฮปาร์คของพันธมิตร เพราะว่าแทนที่ท่านจะพูดว่า “ญาติโยม สาธุชน” ท่านอาจจะไปเผลอพูดว่า “พ่อแม่พี่น้องเอ้ย ” ไม่ได้ เพราะสมณโวหารในที่นี้กำหนดว่าต้องเป็นเรื่องเทศน์ และลีลาสาลิกาป้อนเหยื่อ คืออะไร เรื่องใหญ่จะอยู่ข้อที่ ๓ แต่ผมจะอธิบาย ๒ ข้อแรกก่อน
     ภาษาบาลี เป็นสิ่งสำคัญนักเทศน์ต้องรู้ ต้องใส่อิติให้ถูก ถ้าหากว่าท่านเทศน์แล้วไม่มีภาษาบาลี อยู่ ๆ ณ บัดนี้ อาตมภาพ จักแสดงพระธรรมเทศนา เขาไม่เรียกว่าเทศน์
เรื่องพระลืมภาษาบาลี
     พระใหม่รูปหนึ่งจะไปเทศน์ให้โยมฟัง อยู่ฝั่งธนบุรีนี้ จะไปเทศน์ที่ฝั่งพระนคร แต่ เรื่องสมัยโบราณ ข้ามไปพาหุรัด บ้านโยมอยู่เลยพาหุรัดไปนิดหนึ่ง อยู่เสาชิงช้า เขาก็เอารถมารับ ท่านก็เตรียมเทศนาอย่างดี เขียนไป มีบทบาลีอุทเทศ อะไรเรียบร้อย แล้วก็ให้ลูกศิษย์อัญเชิญคัมภีร์ ไปขึ้นรถที่มารับ
     เจ้าลูกศิษย์เจ้ากรรม มันไม่ได้อัญเชิญคัมภีร์ด้วยความเคารพ มันถือคัมภีร์แกว่งเหมือนมีดดาบ โพยที่เขียนไว้หลุดหาย บทที่เขียนสอดไว้หลุดหาย
     พอท่านขึ้นไปนั่งบนรถท่านก็เปิดคัมภีร์เพื่อที่จะตรวจสอบบทเทศนา หายไปแล้ว เหงื่อแตกเลย พระใหม่ อย่างอื่นพอด้นได้ แต่บาลีไม่รู้ เพราะฉะนั้น ด้วยเชาวน์ปัญญาของท่าน รถลงจากสะพานพุทธติดไฟแดงอยู่ตรงดิโอลด์สยาม แถวนั้นจะมีชื่อร้านเป็นภาษาแขก ดูเหมือนจะเป็นภาษาบาลีดีๆ ตรงมุมขวาของดิโอลด์สยามทุกวันนี้ มีร้านๆ หนึ่งชื่อ “รัตนมาลา” ขายตะเกียง ผมยังทันอยู่จนกระทั่งเขารื้อไปสร้างดิโอลด์สยาม แล้วท่านไปอีกที่หนึ่งท่านจะเห็นสี่แยก เดี๋ยวนี้ยังอยู่ เอส เอ บี สังเกตนะ เอส เอ บี มีคนเขาอ่านว่า แสบว่าอย่างนั้น ท่านก็จดไว้ รัตนมาลา อะไรต่าง ๆ จด พอไปถึงบ้านเจ้าภาพ ครบคาถาพอดี พอพรหัมา จะ โลกา จบ ท่านก็ตั้งนะโม ตั้งนโมเสร็จท่านก็เดินคาถา รัตนมาลา จ กาลาจี (สองร้านแล้ว) เอส เอ บี พาหุรัดสะโตติ ครบร้านเลย เอสเอบียังอยู่ แต่รัตนมาลา หายไปแล้ว โยมก็อยากฟังเทศน์ดีเหลือเกินวันนี้ เทศน์ต้องมีบาลี ขนาดพระนวกะยังต้องอ้างบาลี ฉะนั้นภาษาบาลีห้ามทิ้ง ท่านจะต้องศึกษาภาษาบาลีพอสมควร
สมณโวหาร
     มาถึงสมณโวหาร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำจำกัดความว่า “หมายถึงถ้อยคำที่ควรแก่สมณะ” พระเท่านั้นที่ใช้ เช่นคำว่า จำวัด โยมก็บอกว่า ท่านกลับวัดไม่ถูก เพราะว่าท่านจำวัดไม่ได้ ที่จริงก็นอนไม่หลับ กลับวัดไม่ถูก หรือฉันข้าว ในการเทศน์ท่านต้องใช้สมณโวหาร อาตมภาพ เท่านั้น แม้แต่อาตมาก็ไม่ใช่ นั่นก็เป็นปาฐกถา ผมก็ไม่ได้ สาธุชนญาตโยม เราก็เรียก ญาติโยม จะไปคุณ เธอ ไม่ใช่ในการเทศนา
     ถ้าเทศน์หน้าพระที่นั่งต้องใช้คำว่า ถวายพระพร หรือเจริญพร ญาติโยมทั่วไป พูดให้รู้ ให้ทราบ รับประทาน ก็คือขอโอกาสต่อคนทั่วไป ถ้าไปขอโอกาสจากพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า รับพระราชทาน
วิสัชนาพระธรรมเทศนา เป็นสมณโวหาร เป็นสิ่งที่เราจะต้องใช้ ซึ่งถ้าท่านเข้าไปเทศน์แล้วท่านไม่รู้คำเหล่านี้ ก็เทศน์ไม่เป็นแล้ว
     ถ้าเทศน์คู่เราก็ไม่ใช่เรียกว่าเทศน์ถาม-ตอบ ใช่ไหม ปุจฉา-วิสัชนา สมมติสมัญญาซึ่งกันและกัน ฝ่ายถามเรียกว่า พระสกวาทยาจารย์หรือพระสกวาที ฝ่ายตอบคือพระปรวาทยาจารย์ ต้องใช้ให้ถูกต้อง คือสมณโวหาร ซึ่งท่านเรียนมาเยอะแล้ว แต่ท่านจะต้องไปศึกษาแบบทั้งหลายเหล่านี้ ใช้คำชุดให้ถูกต้อง บางทีฝ่ายวิชาการ น่าจะรวบรวมมาทั้งหมดเลย ว่าคำชุดศัพท์สมณโวหาร ที่จำเป็นต่อการเทศนา ใส่ไว้ในเทศนากัณฑ์อะไรที่ท่านเจ้าคุณราชปฏิภาณมุนีจะพิมพ์ แต่ว่าเอาไว้ปีหน้า ปีหน้ามาเรียนใหม่ สมณโวหารกับการเทศน์
สาริกาป้อนเป็นอย่างไร
    ทีนี้มาถึงลีลาสาลิกาป้อนเหยื่อที่รอคอย นกตัวนี้ มันไม่ใช่สาลิกาแต่ว่าภาพมันชัดดี ผมก็เลยเอามาแสดงให้ดูผ่านทางคอมพิวเตอร์
     การป้อนเหยื่อมันป้อนทีละคำ แล้วต่อเนื่องเป็นชุด ลูกนกกำลังหิว มันก็ป้อนทีละคำ ทีละคำ มันขย้อนออกมา แล้วคำมันจะไม่ใหญ่มาก ถ้ามันขย้อน นกมันไปกิน มันก็เอามาเผื่อลูกมัน แล้วมันก็ขย้อนออกมาเท่ากับปากลูก แล้วป้อนทีละคำ ทีละคำ ไม่ป้อนเยอะ ค่อย ๆ ป้อน แล้วกำลังพอดี
    การเทศน์แบบสาลิกาป้อนเหยื่อนั้น คือพูดให้สุดพยางค์ อย่าพูดให้ขาดคำ “ ณ บัดนี้ อาตมภาพจะ... แสดงพระ... ธรรม มะเทศนาเพื่อ ฉลองกุ.. ฏิ” อะไรก็ไม่รู้ งึมงำ งึมงำ ไม่ได้เตรียมมา พูดขาดเป็นช่วง ๆ ซึ่งบางทีประโยคยาวมากที่ท่านเตรียม “ด้วยการแสดงพระธรรมเทศนาในปัญญากถาเพื่อพัฒนาปัญญาของผู้ฟังในวันนี้ทำให้เกิดจิตเจตนาที่เป็นกุศลเจริญ มงคลทำให้อายุยืนยาว” แต่ผู้เทศน์จะตายก่อน
     ท่านต้องพูดให้กลมกล่อม หยุดหายใจหนึ่งครั้ง แต่ละครั้ง คนฟังรู้เรื่อง ไม่ขาดวรรคขาดตอน ท่านลองสังเกตผมพูดสิ ประโยควลีของผม เวลาผมหยุดหายใจ มันจะเต็ม ผมไม่ได้พูดค้างให้โยมคิดว่า เอ๊ ที่อยู่ก็..ที่ตายก็ ตาย กัน ไป ที่อยู่ก็เอา กันไป...(แล้วก็ไปเปิดอีกหน้า) เผาเสีย (ฮึฮึ) อย่างที่เราล้อเรียนกัน อันนั้น ไอ้นั่นจระเข้ อะไรมาก็งับ งับ อ่านไปเรื่อย นึกออกใช่ไหม ผมไม่ต้องอธิบาย เพราะว่าพูดขาดคำ ไม่ใช่สาลิกาป้อนเหยื่อ มันไม่ครบคำ
     “ยานี้ดี (สมัยก่อนมันเป็นสมุดข่อย ตำรายา) ยานี้ดี กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน” ใครจะกินล่ะ ไปตัดคำหมดเลย
     ต้องอ่านไหมว่า “ยานี้ดี กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน” ถ้าเป็นอย่างนี้มันอีแล้งป้อนเหยื่อนะ ผมว่า “ยานี้ดี กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน” ตายพอดี กินแล้ว สาลิกาป้อนเหยื่อมันต้อง “ยานี้ดีกินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน” จบเป็นคำ ๆ วรรคตอน เขาเรียกว่าจังหวะจะโคน
ลูกไม้ลีลาวัดประยูร
     ลีลาวัดประยูร ไม่ว่าท่านเจ้าคุณพระราชธรรมวาที เจ้าคุณพระราชปฏิภาณมุนี ท่านดูเถอะ พูดมีจังหวะ จะโคน แล้วจบในการหยุดหายใจครั้งนั้น ๆ เขาเรียกว่า ป้อนทีละคำ แล้วก็ไม่ยาวมาก เป็นรถไฟ
ด่วน ค่อย ๆ พูด ค่อย ๆ ป้อน ใจเย็น อย่างที่ผมพูด คือลีลาเทศนา ที่ผมกำลังพูด เป็นลีลาการเทศน์ ไม่ใช่บรรยาย ถ้าบรรยายหรือปาฐกถา ใช้อีกลีลาหนึ่ง ท่านสังเกตไหม ขณะนี้ ผมกำลังใช้ลีลาเทศนาสาลิกาป้อนเหยื่อให้ท่าน สาธิตไปด้วย แต่ใครที่ดูผมปาฐกถาทางทีวี บรรยายธรรมจะคนละอย่าง
     เพราะฉะนั้น สาลิกาป้อนเหยื่อ นอกจากจะพูดให้มีจังหวะจะโคน จบในแต่วลี ประโยค วรรคตอน ยังสัมผัสนอกสัมผัสใน สัมผัสและคล้องจอง และต้องกันประสานต่อเนื่องเป็นกระแสในความคิดจิตใจของผู้เทศน์
     ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม ตอนที่เป็นมหาเปรียญ ได้ฟังพระนักเทศน์วัดประยูร ชื่อดังมาก นั่นคือพระราชเวที (พร) แล้วท่านก็จะเล่าให้ผมฟังว่า เทศน์แบบวัดประยูร เขาเทศน์กันยังไง เพราะท่านมาฟัง ท่านอยู่วัดเลียบ ฟังพระนักเทศน์สุดยอดสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ไล่มาเรื่อย พระราชเวที (พร) รัชกาลที่ ๗ เทศน์คล้องจองสัมผัสกันตลอด โดยเนื้อไม่ต้องอ่าน
     ท่านเจ้าประคุณสมเด็จยกตัวอย่างว่า เจ้าคุณพระราชเวที (พร) วัดประยูร เทศน์ว่า “แคว้นกาสี และโกศล ทั้งสองตำบลนี้ เป็นทองปฐพีแผ่นเดียวกัน” ท่านดูสิ ทั้งสัมผัส ทั้งสัมผัสเสียง เขาเรียกว่า ทั้งสัมผัสคำ อักษร กาสี โกศล ตำบล ทองปฐพีแผ่นเดียวกัน กี่คำท่าน แต่พูดสด ๆ นะ และเป็นอย่างนี้ ตลอดกัณฑ์
     อ้าว ผมให้ดูท่านอื่นบ้าง ในสำนักวัดประยุรวงศาวาส พระพุทธวรญาณ ที่เพิ่งมรณภาพไป หลวงพ่อมงคล ผมฟังท่านประจำ ในกัณฑ์อุโบสถ จนพวกเรา ท่านเจ้าคุณราชปฏิภาณมุนี และทุกรูป จำได้ เวลาท่านเทศน์สอนพระใหม่ หรือพระในวัดว่า หน้าที่ของพระ ต้องทำอะไรบ้าง มาบวช ท่านก็จะว่าสัมผัสกันอีก
    “สวดมนต์ภาวนา ท่านเจ้าคุณราชปฏิภาณต่อได้เลย ศึกษาเล่าเรียน พากเพียรปฏิบัติ สันทัดในการสอนหรือในการเทศนา” จำก็ง่ายท่าน ผมไม่ต้องจดเลย วัดประยูร พอหลวงพ่อเทศน์ มันจะคล้องจองกัน เวลาโยมฟังเทศน์ท่าน ตอนเริ่มอารัมภบทท่านก็จะบอก
     “ตั้งใจฟัง ตั้งใจจำ นำเอาไปปฏิบัติ” มันเข้าหูผม ผมจำได้เลย เดี๋ยวเหอะประโยคนี้ต้องมาแน่ เพราะท่านพูดคล้องจอง ฟังครั้งเดียวผมก็จำได้แล้ว “พระเณรต้องสวดมนต์ภาวนา ศึกษาเล่าเรียน พากเพียรปฏิบัติ สันทัดในการสอน”
     พอมารุ่นพวกผม ซึ่งมีอาจารย์ท่านเจ้าคุณพระราชปฏิภาณด้วย อาจารย์เจ้าคุณราชพระธรรมวาทีเป็นต้น ก็คือหลวงตาแพร เยื่อไม้ ที่มีรูปแบบวิญญาณอยู่ตรงนั้นอยู่ตรงที่ความเป็นสาริกวัดประยุรวงศาวาส คนที่เป็นประธานองค์การเผยแผ่ เปิดหลักสูตรอบรมนักเทศน์ เป็นประธานรุ่นแรกหรือรุ่นที่ ๑ ก็คือหลวงตาแพรเยื่อไม้ แล้วผมเป็นเลขาฯองค์การเผยแผ่รูปแรก ท่านเราได้รับอิทธิพลจากท่านพระครูพิศาลธรรมโกศล หรือหลวงตาแพรเยื่อไม้ ท่านจะเทศน์คล้องจอง และบางทีเอาบทแหล่ มาเทศน์เสียด้วยซ้ำ
     “โลกนี้คือโรงละคร (หลวงตาท่านว่าอย่างนั้นนะ)
     ปวงนิกรเราท่านเกิดมา
     ต่างร่ายรำทำทีท่า
     ตามลีลาของบทละคร
     บางครั้งก็เศร้า บางคราวก็สุข
     บางครั้งก็ทุกข์ หัวอกสะท้อน
     มีร้างมีรัก มีจากมีจร พอจบละคร ชีวิตก็ลา”
บางทีท่านก็เทศน์กระทบกระทั่งตามสถานการณ์นั้นๆ ล้วนท่านแต่งเองทั้งหมด ที่ผมว่ามา
   “อันงามกายมันไม่จีรัง
     ถึงจะอำพรางจะพอกจะพัน
     ด้วยเครื่องสำอางค์อย่างทันสมัย
     ชุดบันไดสามขั้นแปดขั้น
     จากฝรั่งอังกฤษ อเมริกัน
     ถึงคราวจะยานก็สุดจะเยียวยา”
     เทศน์ได้อย่างนี้ ประชาชนคนฟังชอบมาก สาลิกาป้อนเหยื่อ ท่านมาฝึกที่นี้ท่านสังเกตไหม วิชาการเทศนาที่เป็นคู่มือของท่านเจ้าคุณพระราชปฏิภาณมุนีสำนักองค์การเผยแผ่ ตั้งแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย คล้องจองกันหมด ให้จำง่าย ท่านแตงของท่านเอง มันอยู่ในสายเลือดของนักเทศน์สาลิกาป้อนเหยื่อมีแห่งเดียวที่ได้รับการกล่าวขาน
ทุนนักเทศน์มหาชาติ
     การเป็นนักเทศน์ที่ดีนั้น ต้องมีคุณสมบัตินักเทศน์อย่างน้อยประกอบด้วย
     ความรู้พอเพียง
     เสียงดังกังวาน
     ปฏิภาณว่องไว
     น้ำใจดี มีมารยาทเรียบร้อย
     แต่ไม่ใช่กลอนเรียกอีกอย่างว่ากลอนเปล่า สมัยนี้เราเรียกว่ากลอนเปล่า แต่มันสัมผัส สงสัยไหม ว่า ทำไมต้องเป็นสำนักนี้ที่เทศน์อย่างนี้ สอนอย่างนี้ แล้วเราเรียกว่าสาลิกาป้อนเหยื่อเพราะอะไร เพราะสำนักนี้นอกจากจะสืบทอดประเพณีมาจากสมัยโบราณ ซึ่งต้องเทศน์อย่างนี้แล้ว แต่สำนักอื่น ไม่ได้ผสมผสานเทศน์มหาชาติกับเทศน์ธรรมวัตร เทศน์มหาชาติอย่างที่หลวงตาท่านแหล่ มันจะต้องมีบทแหล่จะต้องสัมผัส จะต้องคล้องจอง ทำให้วัดนี้เป็นเจ้าบทเจ้ากลอน เพราะเราเทศน์รักษาประเพณีเทศน์มหาชาติมาแต่ไหนแต่ไร
     และการเทศน์มหาชาติกับเทศน์ธรรมวัตร มันเริ่มมาจากอันเดียวกันคือเทศน์ให้คล้องจอง ย้อนไปปีพุทธศักราช ๒๐๒๕ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยา ให้แต่งมหาชาติคำหลวง พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง มหาชาติคำหลวงฉบับนี้ยังอยู่มาจนทุกวันนี้ แล้วใครที่เรียนมัธยม ต้องท่องบทอาขยาน ผมก็ท่อง หลายรูปยังจำได้อยู่ เดี๋ยวผมจะยกให้ดู มหาชาติคำหลวงไม่ใช่แหล่ เป็นบทเทศนาดี ๆ เอง เหมือนกับเทศน์เราเรียกว่าเทศน์ธรรมวัตรก็คือ เหมือนกับที่เราเทศน์กันทุกวันเทศน์ปากเปล่าเรียกว่าเทศน์ธรรมวัตร
     เทศน์มหาชาติปัจจุบันนี้เรียกว่าเทศน์แหล่ และก็เทศน์ปุจฉา-วิสัชนา เทศน์บรรยายอย่างที่เราเทศน์เราฝึกกันเรียกว่าเทศน์ธรรมวัตร มหาชาติคำหลวงที่แต่งไว้อ่านแบบเทศน์ธรรมวัตร แต่สัมผัสคล้องจองกัน
ผมยกตัวอย่างนะ บทอาขยานนะ เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ก็ท่องได้ ผมก็เคยท่องได้ ท่านลองดูนะ
     “วาริชสฺเสว เม สโต เสมือนหนึ่งพรานเบ็ดมาตีปลาที่หน้าไซ” นึกออกไหม
     พระเวสสันดรบริจาคกัณหาชาลีให้กับชูชก ชูชกตีกัณหาชาลีต่อหน้าเลย
     พระเวสสันดรโกรธมาก มาตีลูกต่อหน้าพ่อได้อย่างไร ชักพระขรรค์เลย อยากจะฆ่าเจ้าเฒ่าชราตาชูชกคนนี้เหลือเกิน แต่เตือนสติพระองค์ด้วยคำนี้ ไม่ฆ่าชูชก ไม่ฆ่าชูชก
     “เสมือนพรานเบ็ดมาตีปลาที่หน้าไซ” ชูชกท่านผู้ แหละ คือพรานเบ็ด ปลาที่จะเข้าไซ ไซคือโพธิญาณ บรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า ตัวพระเวสสันดรคือปลากำลังจะเข้าไซ บริจาคลูกแล้ว บำเพ็ญทานบารมีถึงขั้นสุดยอดแล้ว กำลังจะเข้าไซ เจ้าชูชกเอาไม้มาตี ก็เหมือนตีน้ำ ปลาตกใจไม่เข้าในไซ ก็คือไม่เข้าโพธิญาณ
     คือข้อความต่อไปนี้ ท่านลองฟังดูว่า พระเวสสันดรได้กล่าวสอนปลอบตัวเองว่า
     “วาริชสฺเสว เม สโต เสมือนหนึ่งพรานเบ็ดมาตีปลาที่หน้าไซ บรรดาปลาจะเข้าไปให้แตกฉาน ตัวเราผู้ทำทานเหมือนตัวปลา พระโพธิญาณในภายหน้านั้นคือไทร ปรารถนาจะเข้าไปจึงยกพระลูกให้เป็นทานบารมี พระลูกรักทั้งสองศรีดั่งกระแสสินธุ์ พราหมณ์ประมาทหมิ่นมาด่าตี เสมือนกระทุ่งวารีให้ปลาตื่น น้ำพระทัยท้าวเธอถอยคืนจากอุเบกษา บังเกิดอวิชชามาห่อหุ้ม พระปัญญานั้นกลัดกลุ้มไปด้วยโมโหให้ลุ่มหลง โทโสเข้าซ้ำส่ง ให้บังเกิดวิหิงสา ขึ้นทันที”
     พระบรมไตรโลกนาถ ไม่ได้นิมนต์พระไปอ่านให้ฟัง ทุกครั้งก็ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตอ่านให้ฟังด้วย เดี๋ยวนี้ ยังมีพิธีอ่านมหาชาติคำหลวงที่วัดพระแก้วอยู่ เลือกบางกัณฑ์เท่านั้น
     เพราะฉะนั้นท่านจะเห็นได้ว่าไม่ใช่กลอน แต่พูดคล้องจองกัน คือต้นแบบของการเทศนา ท่านลองมาดู “เสมือนหนึ่งพรานเบ็ดมาตีปลาที่หน้าไซ บรรดาปลาที่จะเข้าไปสัมผัส ให้แตกฉาน ตัวเราผู้ทำทาน (ทานกับฉาน) เหมือนตัวปลา พระโพธิญาณในภายหน้า (หน้ากับปลา สัมผัสกัน) นั้นคือไทร ปรารถนาจะเข้าไปจึงยกพระลูกให้เป็นทานบารมี พระลูกรักทั้งสองศรีดั่งกระแสสินธุ์ พราหมณ์ประมาทหมิ่นมาด่าตี เสมือนกระทุ่งวารีให้ปลาตื่น น้ำพระทัยท้าวเธอถอยคืนจากอุเบกษา บังเกิด อวิชชามาห่อหุ้ม พระปัญญานั้นกลัดกลุ้มไปด้วยโมโหเข้าลุ่มหลง โทโสเข้าซ้ำส่งให้บังเกิดวิหิงสา ขึ้นทันที” ขอให้สังเกต ใช้ภาษาถูกต้องมาก โมโหคือลุ่มหลง โทโสคือตัวโกรธทำให้เกิดวิหิงสา
     พระสงฆ์สมัยนี้เทศน์ไม่ระวังภาษา “โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า ไม่โกรธดีกว่าไม่บ้าไม่โง่” ใช้คำว่า “โกรธกับโมโห” ในความหมายเดียวกัน ซึ่งผิดหลักภาษาธรรม
     โมโหต้องลุ่มหลง ถ้าเราเป็นพระเรียกว่าสมณโวหาร แต่ถ้าชาวบ้านเขาพูดว่าโมโหคือโกรธเราไม่ว่ากัน แต่พระ เรามาจากภาษาบาลี เพราะฉะนั้น
     โมโห ท่านหมายถึง โมหะ โมโหให้ลุ่มหลง โทโสโมโห กลายเป็น โทโสก็คือโกรธ โมโหก็คือโกรธ แต่ที่จริง โทสะกับโมหะ สมณโวหารก็ผิด เราอย่าไปผิดตามชาวบ้าน
     มหาชาติคำหลวง ดังที่กล่าวมานี้ คือร่าย เป็นคำประพันธ์ที่ใช้แต่งมีมาแต่สมัยโบราณ และพระในสมัยรัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ไล่มา แต่งเทศน์โดยใช้ร่าย ทุกวันนี้ ถ้าท่านจะแต่งบทเทศนาให้ดี ไปอ่าน ท่านต้องแต่งเป็นร่ายยาว มันมีร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ ร่ายยาว มหาชาติคำหลวงคือร่ายยาว
     ร่ายเป็นคำประเภทร้อยกรอง ไม่ใช้ร้อยแก้ว แบบหนึ่งที่แต่งง่ายที่สุด เพราะฉะนั้น ถ้าใครมีหัวในทางร่าย จะแต่งโดยอัตโนมัติ เขาเรียกว่าร่ายด้น อย่างพระเทศน์ พูดสัมผัสคล้องจอง แล้วฟัง ไพเราะมาก โดยท่านเทศน์ลักษณะเรียกว่าธรรมวัตร แล้วใช้ร่ายเป็นการเดินอุเทศนิเทศของท่าน ซึ่งทุกวัน เราใช้ร่ายเฉพาะตอนอารัมภบทเท่านั้น หลังจากนั้นแล้วเราใช้ภาษาธรรมดา ไม่ใช่ร้อยกรอง เราใช้ภาษาร้อยแก้ว แม้แต่ผมก็ใช้ภาษาร้อยแก้ว มีฉันทลักษณ์น้อยกว่าร้อยกรอง ประเภทร้อยกรองก็มีอะไร กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ เป็นร่าย มีลักษณะใกล้เคียงกับร้อยแก้วมาก เหมือนกับเราพูดที่เราพูดไม่ต้องมีสัมผัสคล้องจอง ไม่สัมผัสอักษร ไม่สัมผัสเสียง เราพูดไปเรื่อย ๆ อย่างนี้ เขาเรียกว่าร้อยแก้ว เหมือนที่เราแต่งหนังสือบทเทศนา แต่เมื่อใดก็ตามที่ท่านแต่งให้มันสัมผัสกันทั้งสัมผัสอักษร สัมผัสคำ หรือสัมผัสเสียง เมื่อนั้นเป็นร่าย
     ฉะนั้นในบทเทศนา เขาเรียกว่าร่ายยาว โอ้ โฮ องค์นี้กำลังร่ายยาวแล้ว พอถามหน่อยว่า ท่านคิดเห็นอย่างไรกับพันธมิตรประชุมที่ทำเนียบ ร่ายยาวครึ่งชั่วโมงไม่ได้หายใจ เหมือนเทศน์ พอได้เริ่มร่ายยาวละก็ เอาล่ะเทศน์มาเป็นชุด ผู้ฟังหนีเลย เพราะว่าท่านไม่หยุดหายใจ ร่ายยาวต้องหยุดหายใจ ร่ายยาวคือร่ายที่ใช้แต่งเทศน์ ไม่กำหนดจำนวนคำในวรรคหนึ่ง ๆ ว่าจะมีกี่คำ มากบ้างน้อยบ้างก็ได้ แต่ถ้าร่ายสุภาพจะ ๕คำ ๔ คำ ๕ คำ ๖ คำ
     ข้อสำคัญก็คือว่าต้องสัมผัสกัน คำสุดท้ายของวรรคหน้าจะสัมผัสกับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป คำที่ ๒ คำที่ ๓ คำที่ ๔ คำที่ ๕ ก็ได้
     “ตัวเราผู้ทำทานเหมือนตัวปลา พระโพธิญาณในภายหน้านั้นคือไซ ปลาจะเข้าไปก็ต้องแตกฉาน” สัมผัสกัน
     จะแต่งสั้นยาวเท่าไรก็ได้ จำนวนคำที่ใช้ในวรรคหนึ่ง ๆ ไม่ควรให้ยาวเกินกว่าช่วงระยะหายใจครั้งหนึ่ง ๆ เพราะว่าถ้ายาวมาก เทศน์ไปขาดใจตายมรณภาพแน่ เพราะฉะนั้น ท่านพูดแต่ละประโยค เพื่อจะให้สัมผัสเหมือนด้น
     เพราะฉะนั้น ท่านสังเกตไหม ตอนร่าย เวลาจบเขาจะลงว่านั้นแล สมัยโบราณร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ลงท้ายด้วยคำว่า “นั้นแล, ฉะนี้, ด้วยประการฉะนี้” จึงเป็นที่มาของ “เอวัง ก็มี ด้วยประการฉะนี้” และถ้าหากว่าลงท้ายด้วยคำว่านั้นแล ก็คือออกเสียงแบบแหล่ แล้วมักจะจบด้วยคำว่า นั้นแหล่ เราเลยเรียกเทศน์ที่ออกเสียงนี้ว่า “เทศน์แหล่” เพราะมันลงท้ายด้วยคำว่า “นั้นแล” เทศน์มหาชาติ ในที่สุด เทศน์เท่านั้น ในเทศน์มหาชาติ ถ้าลงท้ายด้วยคำว่าแล เรียกว่าเทศน์แหล่ ถ้าลงท้ายด้วยคำว่า เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ เทศน์ธรรมวัตรอย่างที่เราฝึกกัน
     ร่ายยาวนี้ใช้แต่งเทศน์หรือบทสวด ที่ต้องว่าเป็นทำนอง เช่นเทศน์มหาชาติและเทศน์ธรรมวัตร ที่เราฝึกกัน แต่ไหนแต่ไรในสมัยโบราณ เพราะฉะนั้น เวลาที่ท่านแต่งเทศน์ โดยไม่รู้ตัว ท่านเริ่มให้สัมผัสกัน และเขาถือว่าเป็นภาษาเทศน์
ปฏิภาณในการเทศน์
    สุนทรภู่ ตอนบวชพระ อยู่ที่วัดเลียบก่อน แล้วค่อยไปอยู่วัดเทพธิดา แล้วก็ออกไปหาเล่นแร่แปลธาตุ แต่งนิราศ ในระหว่างทาง โยมก็ถวายสังฆทาน เขาถวายสังฆทาน ท่านจำไม่ได้ ท่านมัวแต่แต่งกลอน อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ โยมก็ว่าไม่ได้ ก็ให้สุนทรภู นำว่าสังฆทาน สุนทรภู่พายเรืออยู่ มองไปที่อาหารที่อยู่ที่แพ ก็นำให้โยมยกมือขึ้นจะว่า อิมานิ มะยัง ภันเต ก็จำไม่ได้ ใช้ร่าย เพราะเป็นนักกวีเป็นนักกลอน สัมผัสกันเลย โยมก็นึกว่าสงสัยจะเป็นแบบโบราณ ที่จริงแต่งเดี๋ยวนั้นเลย
     “อิมัสมิง ริมฝั่ง อิมัง ปลาร้า (มองไปด้วยว่ามีอะไร) กุ้งแห้งแตงกวาอีกปลาดุกย่าง ช่อมะกอกดอกมะปราง เนื้อย่าง ยำมะดัน (ที่โยมเตรียมมา) ข้าวสุกค่อนขันน้ำมันขวดหนึ่ง น้ำผึ้งครึ่งโถ ส้มโอแช่อิ่ม ทับทิมสองผล เป็นยอดกุศล สังฆัสสะ เทมิ”
     โอ๊ยโยมได้บุญเหลือเกิน ภาษาพระ ร่าย ไม่ยาวมาก ไม่เหมือนมหาเวสสันดร แต่พอหยุดหายใจได้ ท่านลองดูสิ ต่างจาก “เสมือนตัวเรานี้เป็นปลาพระโพธิญาณในภายหน้านั้นคือไซ” แต่สุนทรภู่สั้น ๆ “อิมัสมิง ริมฝั่ง อิมัง ปลาร้า กุ้งแห้งแตงกวาอีกปลาดุกย่าง ช่อมะกอกดอกมะปราง” ไล่ไปเรื่อย
     ร่าย ฟังแล้ว โอ้โฮ ศักดิ์สิทธิ์ โยมก็ชื่นใจ
     หลวงพ่อพระพุทธวรญาณ ท่านให้คาถากันหมากัดแก่เด็ก ถ้าพูดธรรมดา ไอ้ร็อตไวเรอไม่กลัว คาถาหลวงพ่อบอกว่า “ไอ้จอ ไอ้จอ หางงอ หูกลาง เอ็นดูกูบ้าง อะระหัง พุทโธ เพี้ยง” ต้องมีเพี้ยง ถึงจะศักดิ์สิทธิ์ สัมผัสกันหมด คาถากันหมากัด
    ศรีปราชญ์ ศรีปราชญ์ไปตามเสด็จพระเจ้าแผ่นดิน แล้วก็ประพาสสวน ไอ้ลิงตัวหนึ่ง มันซน มันถ่ายลงมา มันถ่ายลงมาใส่หัวพระยาเดโชที่ตามเสด็จพระจ้าแผ่นดิน และแกหัวล้าน อุจจาระลิงเต็มหัวหมด ไอ้คนเดินข้างหลังก็หัวเราะกันกิ๊ก กิ๊ก กิ๊ก หัวเราะ พระยาเดโชหลบหน้ามุ่ย ตาขึงใส่ไอ้คนที่เดินตาม มึงอย่าไปบอกนะ ว่าหัวเราะอะไร
     พระเจ้าแผ่นดินกำลังอยู่บนคานหาม หันมาถาม หัวเราะอะไรกัน กลัว ไม่กล้าบอก กลัวใคร กลัวพระยาเดโช ผมก็ไม่มี ลิงมันก็เลือก ถ่ายลงหัวพอดีเลย
     ศรีปราชญ์ พูดแล้วคนหัวเราะ รวมทั้งพระยาเดโช ด้วยตอบเดี๋ยวนั้นเลย เพราะฉะนั้นเราจึงเรียกศรีปราชว่า ปฏิภาณกวี ตอบทันทีเลย
     “ขอเดชะ พยัคฆะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระยาเดโช พะย่ะค่ะ” สัมผัสหมดเลย ฟังอีกที โปรดฟังอีกครั้ง บางทีท่านฟังไม่ทัน
     “ขอเดชะ พยัคฆะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระยาเดโช พะย่ะค่ะ” พระยาเดโชขำเลย มันคิดขึ้นมายังไง สัมผัส ร่ายเลย ไม่ใช่โคลง คือร่าย สัมผัสกัน เอาเสียงอะ ด้น อย่างนี้
     ท่านเทศน์ทุกวันนี้ ท่านรู้ไหม เราก็ใช้ร่ายตอนต้นเท่านั้น และหลังจากนั้นกู่ไม่กลับเลย ไม่ใช่ร่ายไม่รู้อะไร
     “ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักรับประทานแสดงพระธรรมเทศนา” อย่าไปหยุดตรงใดตรงหนึ่ง
     ยกเว้นแต่ บางคน “ ณ บัดนี้ อาตมภาพ (มองซ้ายมองขวา โยมก็บอก หยุดทำไมท่าน รู้จักแล้ว ไม่ต้องแนะนำตัว)
    “ณ บัดนี้ อาตมภาพ จัก อือ...”ไม่ได้ ขาดคำ
     “ณ บัดนี้อาตมภาพจักรับประทาน” (จะฉันอะไรหรือท่าน)
     เห็นไหมท่าน ไม่ได้อีกไม่ได้ “ณ บัดนี้” ท่านต้องฝึกหายใจ ไม่งั้นมรณภาพแน่นอน “ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักรับประทานแสดงพระธรรมเทศนา” วิธีออกเสียง ธัมมะเทสะนา อ่านเป็นภาษาบาลี หรือท่านจะอ่านสะกดแบบไทย ธัมมะเทดสะหนา ถ้าเทดต้องสะหนา เทต้องสะนา สมณโวหารอย่าอ่านให้ผิด
ลีลาอารัมภบทพจนคาถา
     “ ณ บัดนี้ อาตมภาพจักรับประทานแสดงพระธรรมเทศUนาU ใน อเวรUกถาU” สังเกตไหม นา กับ กถา สัมผัสกันแล้ว “ในอเวรกถา เพื่อเป็นการประคับประคองฉลองศรัทUธาU” ลงท้ายด้วยอานะ “ประดับปัญUญาUบารมี” (ญากับทา สัมผัสกัน เริ่มเป็นร่ายแล้ว สระอีแล้ว เริ่มเปลี่ยน “เพิ่มกุศลบุญราUศรีU” บางคนก็จบอยู่แค่นั้น แล้วต่อไปไม่สัมผัสเลย ทดลองให้ดูว่า สัมผัสกัน “เพิ่มกุศลบุญราUศรีUส่วนธัมมัสสวนUมัยU ของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งUหลายU” UอัยUกับUหลายU พอเข้ากันได้ “ของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งUหลายU ผู้ขวนUขวายUมาประชุมUกันU” UขวายUกับUอายU “ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิUหารUแห่งนี้” UหารUกับUกันU จะไม่ใส่หารก็ได้แต่ไม่สัมผัส “ผู้ขวนUขวายUมาประชุมUกันU ณ วัดประยุรวงศาวาสUแห่งUนี้” ณ วัดประยุรวงศาวาสนี้ อย่างนี้ เราเทศน์ธรรมดา ท่านไม่ได้เป็นสาลิกาป้อนเหยื่อ แต่ “ขวนขวายมาประชุมUกันU ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิUหารU” UอารUกับUกันU มันสัมผัสกัน แล้วถ้านี้อย่างเดียวไม่เพราะ “วรวิUหารU” ต้อง หอหีบ ต่อ “Uแห่งUนี้”ไม่ใช่ที่นี้ ทอ กับ หอ ไม่สัมผัสอักษร ออกเสียงยากด้วย “ณ วัดประยุรวงศาวาสแห่งUนี้U เพื่อประกอบUพิธีUบำเพ็ญกุศล” เห็นไหม UพิธีU กับUนี้U แต่ว่าถ้าตัดคำว่า พิธีออก “เพื่อประกอบการกุศล” ไปแล้ว ไม่ใช่สาลิกาป้อนเหยื่อ “เพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศล และได้มงคลที่เกิดจากการฟังธรรม ตามสมควรแก่เวลาสืบต่อไป” ท่านทดลองดูนะ ท่านลองว่าซิพร้อมๆ กัน ดูสาลิกาป้อนเหยื่อของท่านซิ จะขาดช่วงไหม สรุปอีกครั้งว่า
     “ณ บัดนี้ อาตมภาพจักรับประทานแสดงพระธรรมเทศนา ในอเวรกถา เพื่อเป็นการประคับประคองฉลองศรัทUธาU ประดับปัญUญาUบารมี เพิ่มกุศลบุญราUศรีUส่วนธัมมัสสวนUมัยU ของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งUหลายU ผู้ขวนUขวายUมาประชุมUกันU ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิUหารUแห่ง เพื่อประกอบUพิธีUบำเพ็ญกุศล และได้มงคลที่เกิดจากการฟังธรรม ตามสมควรแก่เวลาสืบต่อไป” เป็นอย่างไร เป็นร่ายไหม ท่านอาจจะบอก “เอ๊ย ไม่ใช่กลอน” ใช่แล้วมันไม่ใช่กลอน ก็มันร่าย ไม่ใช่กลอนนะ แล้วร่ายนี้จะยาวก็ได้ สั้นก็ได้ นี้เรียกว่าร่ายยาว ใช้ในการเทศน์
     หลวงพ่อปัญญานันทะ เล่าให้ฟังว่า ในงานสมเด็จย่า ที่มีการถวายพระธรรมเทศนาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท งานสมเด็จย่า เขานิมนต์หลวงพ่อปัญญาไปเทศน์ แล้วหลวงพ่อปัญญาก็ถามหลวงพ่อพระสุเมธาธิบดีว่าเทศน์อย่างไร มาแวะที่วัดมหาธาตุ ก่อนตั้งนะโม ต้องขอพระราชทานอภัยกับพระเจ้าแผ่นดินก่อน สมัยก่อน เทศน์ผิดไม่ได้ ห้ามเทศน์ผิด เพราะฉะนั้นถ้าเทศน์ผิดต้องขออภัยก่อน ก่อนตั้งนะโม หลวงพ่อพระสุเมธาธิบดี บอกว่าให้ขออภัยอย่างนี้นะ
     “ขอถวายพระพร” ก่อนตั้งนะโมนะ คือร่าย
    “ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคล พระชนนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ณ บัดนี้จักรับพระราชทานถวายวิสัชนา พระธรรมเทศนา ในปัณฑิตกถา ฉลองพระเดชพระคุณประดับพระปัญญาบารมี ถ้ารับพระราชทานวิสัชนาไป มิได้ต้องตามโวหารพระอรรถาธิบาย ในพระธรรมเทศนา ณ บทใดบทหนึ่งก็ดี ขอเดชะพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ พระขันติคุณ ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานอภัย แก่อาตมะผู้มีสติปัญญาน้อย (หลวงพ่อปัญญาร้อง ฮึ มีปัญญาน้อยแล้วจะเทศน์ยังไง) (ท่องไปนี้มันเป็นแบบ พระสุเมธาธิบดี ท่านว่า) หลวงพ่อปัญญามาเล่าให้ผม “มันมีปัญญาน้อยได้อย่างไร” ยังมาบ่นให้ผมฟังอีก ท่านลองดู คือร่าย “ขอถวายพระพร เจริญพระราชสวัสดิพิพัฒนมงคล พระชนนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรราชสมภาร พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ” อาจารย์ภาวาส บุนนาค บอกผมว่า “พระราชสมภาระเจ้า” ไม่ได้ มันไม่สัมผัสกับผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระสมัยนี้แต่งไป “จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ” ไม่สัมผัส อาจารย์พาวส บุญนาค ผู้แต่งพระบรมราโชวาท หมายถึง ผู้ยกร่างพระบรมราโชวาท ถวายในหลวง ก็คือ อาจารย์พาวาส บุนนาค เป็นโยมวัดประยูร ตอนนี้สิ้นไปแล้ว ต้องใช้คำว่า “จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร” และพระองค์ไม่ได้ พระราชสมภารพระองค์ผู้ทรง
     โบราณ เขาจะออกเสียงอย่างนี้ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร (พานระ) พระองค์ (ระ ร.เรือ ต้องสัมผัสกับพระองค์ เหมือนกับ พุทธสฺส นโม ตสฺส แหละเรียกว่าเทศน์ไม่เป็น มีสอนเฉพาะวัดประยูรเท่านั้น พระสมัยใหม่ไม่มีรู้หรอก อาจารย์พาวาสบอกผม พระสมัยใหม่เปลี่ยนหมดแล้ว ท่านไปดูที่ไหนก็ตาม “จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ” เห็นไหม ผิดหมด “จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร(พานระ)พระองค์ผู้ทรงอันประเสริฐ บัดนี้ (หรือ ณ บัดนี้ ) จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาในปัญญากถา ฉลองพระเดชพระคุณ ประดับพระปัญญาบารมี ถ้ารับพระราชทานถวายวิสัชนาไป มิได้ต้องตามโวหาร (โวระ) อรรถาธิบาย (ไม่ใช่โวหานอรรถาธิบาย อ่านให้ถูกด้วย มันเป็นแบบ ท่องไป อย่ามาว่า โอ้ เรื่องมากสมณโวหาร ถ้าชาวบ้านเขาจะอ่านอย่างไรก็เรื่องของเขา ถ้าสมณโวหาร เวลาเทศน์ต้องเป็นอย่างนี้ “มิได้ต้องตามโวหาระธิบาย” บางท่านก็ “มิได้ต้องตามโวหาร(โวหาน) อรรถาธิบาย” คนละเรื่องกันเลย
ราชาศัพท์กับการเทศน์
     โวหาระอรรถาธิบาย ในพระธรรมเทศนาบทใดบทหนึ่งก็ดี ขอเดชะ พระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ และพระขันติคุณ ทรงพระกรุณาโปรด (อย่าใช้คำว่าเกล้าโปรดกระหม่อมเด็ดขาด พระไม่มีคำว่าเกล้ากระหม่อม พูดกับในหลวงว่า “โปรด” และไม่มี ไปยานด้วย (ฯ) เพราะถ้าไปใส่ไปยาล พระอ่านเต็ม “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานอภัย” ผิดอีก สมณโวหารไม่พูดกับพระเจ้าแผ่นดินว่า “โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม” ใช้คำว่า “โปรด” อย่างเดียว เวลาท่านทำหนังสือทูลเชิญ “เพื่อทรงโปรด” “เพื่อโปรดเททอง” อะไรอย่างนี้ ไม่มีไปยาล (ฯ) “ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานอภัยแก่อาตมะผู้มีสติปัญญาน้อย ขอถวายพระพร” ไม่ “อาตมภาพ” ด้วย แบบตรงนี้ ท่านต้องจำ ถ้าบังเอิญท่านได้ไปเทศน์
อย่า “แก่อาตมภาพ” ก็ผิดอีก ตรงอื่นอาตมภาพ หลังจากนั้น ณบัดนี้ อาตมภาพจักแสดงพระธรรมเทศนา แต่ตรงนี้ใช้ อาตมะ
     ลองทดสอบว่าพร้อมกันว่า
     “ขอถวายพระพร เจริญพระราชสิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคล พระชนมสุขทุกประการ จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร (พานระ) พระองค์”
     มรณภาพแน่นอน ท่านไม่มีจังหวะจะโคนไง “จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารพระองค์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ” ฝึกหายใจด้วย นี้ยาวมาก “จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตราชสมภารพระองค์”
     ฝึกกำหนดลมหายใจเข้าออกอย่างสม่ำเสมอ ไม่งั้นท่านต้องหยุดตรงนี้เทคนิค “จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร (หยุดนิดหนึ่ง) พระราชสมภารพระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ” เอาใหม่
     “จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตร (หยุดนิดหนึ่ง) พระราชสมภารพระองค์ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนาในปัญญากถา” เอาใหม่ ๆ
     “บัดนี้ จักรับประทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา ในปัญญากถา” พระก็ว่า
     “บัดนี้ จักรับพระราชทานถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา ในปัญญากถา ฉลองพระเดชพระคุณ ประดับพระปัญญาบารมี ถ้ารับพระราชทานถวายวิสัชนาไป มิได้ต้องตามโวหาร(โวหาระ)อรรถาธิบาย ในพระธรรมเทศนาบทใดบทหนึ่งก็ดี ขอเดชะ พระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ และพระขันติคุณ ทรงพระกรุณาโปรด พระราชทานอภัยแก่อาตมะผู้มีสติปัญญาน้อย ขอถวายพระพร”
     โอ้โฮ แจ๋ว เข้าวังได้แล้ว ถ้าเขาให้เข้า วาสนาอาจจะถึง เตรียมตัวไว้แล้ว ไปโชเจ้าอาวาสได้เลย เทศน์ในวังได้แล้ว เพราะเจ้าอาวาสก็ยังเทศน์ไม่เป็น
     สรุปสาลิกาป้อนเหยื่อได้แล้ว คล้องจอง ทีละวรรค ทีละตอน เหมือนป้อนเหยื่อทีละคำ ไพเราะ สละสลวยงดงามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ท่านนึกออกหรือยังว่า ทำไมเวลาเทศนา คนเขาชมว่าไพเราะ ไม่ชมว่าเทศน์สนุก เพราะบทเทศน์จริง ๆ มันไพเราะจริง ๆ สัมผัสคล้องจอง
     ฉะนั้นเวลาที่เทศน์จึงไม่เหมือนที่ปาฐกถา จะเลือกคำ ภาษา สมณโวหารที่สอดคล้องตามตำรับตำรา ไม่ได้ใช้คำอย่างฟุ่มเฟือย แต่สรรหาประโยควลีที่กินใจตรงตามความหมายที่ต้องการเห็นไหม ถ้าผมจะพูดแบบเทศน์ ลองเอาเทปผมไปฟังก็ได้ ผมจะไม่เทศน์ฟุ่มเฟือย และคำที่ผมเลือก ผมใช้ ผมเฟ้น เน้น หา สละสลวย สอดคล้อง แสดงออกซึ่งความรู้สึกของเราที่อยากจะพรรณนา ซึ่งเรื่องเดียวกัน ท่านใช้ภาษาได้หลากหลาย แต่เวลาที่แสดงพระธรรมเทศนา ภาษาต้องอลังการ เป็นสมณโวหาร อลังการ งดงาม จึงจะเรียกว่า เทศนา มีตัวอย่างเยอะแยะ ให้ตัวอย่างวันนี้ไว้แล้ว อันนี้ถือว่าเป็นสุดยอดทั้งสิ้น แต่เวลาที่ท่านไปเทศน์จริง ๆ ท่านไปฟังฉบับครู หรืออ่านบทเทศนาหน้าพระที่นั่ง อย่างของพระสังฆราชท่านจะรู้เลย เขาเรียกว่ามงคลวิเสสกถา ทุกวันเกิดของพระเจ้าแผ่นดิน ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา พระสังฆราชจะถวายพระธรรมเทศนา เรียกว่าพระมงคลวิเสสกถา
     การใช้คำเทศนานั้น ถ้าไพเราะจริง ๆ จะแต่งคล้าย ๆ ร่าย จะแต่งคล้องจองกัน แล้วคำจะอลังการมาก เขานิยมเอามาออกสอบแต่งบาลีประโยค ๙ แล้วก็ตกกันเพราะเทศนา แหละ ใครที่เรียนประโยค ๙ จะได้แต่ง มีประโยค ๙ ที่มาฝึกเทศน์ที่ ท่านคงนึกออก ถ้าออกพระมงคลวิเสสกถา ปราบเซียนเลย เพราะว่า
ศัพท์เทศนามันยาก และอลังการมาก กว่าจะตีความภาษาไทยเอามาเป็นภาษาบาลีเขาเรียกว่าแต่ง แต่งบาลี “ยาก” สมเด็จพระมหาสมณเจ้า เวลาแสดงพระมงคลวิเสสกถา เป็นร่ายกลาย ๆ โอ้โหย แต่งนอกจากจะภาษาไทยจะเข้าใจยากแล้ว แต่งกลับเป็นภาษาบาลีก็ยาก ปีที่ผมสอบได้ ออกมงคลวิเสสกถา มีคำหนึ่งที่ผมแต่งยากแต่งเย็นเหลือเกิน “ขึ้นเขา ลงห้วย บุกป่า ฝ่าหนาม” แล้วมันจะหาศัพท์ว่ายังไงเล่า แล้วปีที่ผมสอบ ผมนึกว่าไม่ออกแล้วมงคลวิเสสกถา ไม่ออกมาเป็น ๑๐ ปี แล้ว
     เพราะฉะนั้น ผมไม่เกร็งเลย เพื่อนเขาไปซ้อมที่วัดสามพระยา เอามาให้ผมบอก ซ้อมตรงนี้หน่อยนะ ผมว่ายากเกินไปไม่ออกสอบหรอก แต่ออกตรงนั้นแหละ ผมล่ะตาลายเลย เจอแค่ “ขึ้นเขา ลงห้วย บุกป่า ฝ่าหนาม” โหย หนาม มันเต็มตัวหมด เวลาผมแต่ง ท่านเอ๊ย แต่ผมสอบได้ แล้วได้ ๓ ให้ด้วยนะวิชานี้ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิตรวจผม ผมได้ ๓ ให้ ทั้ง ๆ ที่ผมนึกว่ามันไม่ออก และผมก็ไปแต่งตามความรู้ผมนะ ๔ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมงแรกผมแต่งไปด้วยลายมือไก่เขี่ยแล้วเอามาดู ๒ ชั่วโมงผ่านไป เขาให้ ๔ ชั่วโมง ๑๕ นาฬิกานะ ๒ ชั่วโมงผ่านไป ขืนส่งไปตกแน่นอน ไม่ได้เรื่องเลย ผมปิดเลย แต่งใหม่รอบที่ ๒ เหมือนวิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์ แล้วเอาฉบับที่ผมแต่งรอบที่ ๒ นี้ส่ง ไม่มีเวลาตรวจเลย ได้ ๓ ให้ ทำไมได้ ๓ ให้ เพราะผู้ที่ให้ผม ๓ ให้ มือแรก สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิ “ถูกใจผม สำนวนผมมาก” ทำไมถูกใจท่านทราบไหม เพราะว่าก่อนสอบ ๒-๓ เดือน ผมหาสำนวนเก่า ๆ ที่ครูบาอาจารย์เขาแต่งสมัยเป็นประโยค ๙ เขาเอามารวมพิมพ์ หาสำนวนไม่ได้ ได้แต่สำนวนของพระมหารูปหนึ่ง...ที่ต่อมาท่านได้เป็นสมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดจักรวรรดิ (หัวเราะ) (พระมหามหาธีร์ ปุณฺณโก) ยังมีอยู่ เดี๋ยวนี้ก็ยังมี...ไม่มี เพราะว่าผมไปเรียนวัดสามพระยา สำนวนของพระธรรมวโรดม
     ศัพท์สำนวนของท่าน ยาวอลังการเลย ผมแต่งไม่ได้ ภาษาของท่าน ภาษาบาลี ใช้ไวพจน์กัน ไขไม่รู่เท่าไรต่อเท่าไร ที่จริงเรื่องเดียวนั่นแหละ ผมไม่เอาเลย ผมไม่ไขตามท่านเลย ผมเอาตรงเป๋ง เป๋ง เป๋ง สั้น สำนวนผม อย่างที่พูด ผมจะพูดอย่างสั้น ๆ ภาษาบาลีผมก็แบบเดียวกัน ภาษาอังกฤษผมก็แบบเดียวกัน เพราะโครงสร้างในความคิดเราเป็นอย่างนี้ เราอย่าไปฝืน เราเป็นคนพูดอย่างนี้ ให้มันฝืนสมองมันจะเพี้ยนเอา ผมพูดของผมได้แค่นี้ผมก็เอาแล้ว เอาสั้น ๆ กระชับ ภาษาบาลีก็เหมือนกัน ประโยคของผมไม่ยาว
     หลวงพ่อพระธรรมวโรดม ประโยคของท่าน ๔ -๕ บรรทัด นึกออก เวลาเฉลยสนามหลวง อย่างนี้ผมตัดหมดเลย แค่สองแถวหรือแถวเดียวเท่านั้น อัดหน้าอัดหลัง ผมได้แบบจากท่านสมเด็จธีร์ญาณ เพราะท่านแต่งยังได้ เอาแบบนี้ก็แล้วกัน ตัดสั้น ๆ แล้วมันโชคเข้าข้างผม ท่านมาตรวจผมพอดี ได้ ๓ ให้ เลย เขาว่าแข่งอะไรแข่งได้ แข่งเรือแข่งพาย แข่งวาสนา มันยากนะ ผมไม่ได้พูดเล่น เพราะว่าวัดสามพระยามาบอกผม ได้ ๓ ให้ เขาชื่นชมมาก โอ้โห แต่งเก่งเหลือเกิน พอผมถามว่า แล้วใครตรวจ พอได้ฟังว่าสมเด็จพระธีรญาณมุนี ผม อยากจะหัวเราะ ถ้าองค์อื่นตรวจนะ ให้สั้น ๆ อย่างนี้ ๒ ให้มันจะได้หรือเปล่าไม่รู้เลย คนมันจะสอบได้ สรุปนั่นคือ ลีลาสาลิกาป้อนเหยื่อ ล่ะ ไม่รู้มันเกี่ยวกันยังไง จบแค่นี้ เวลาหมด

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? ( 20 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? ( 20 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? ( 20 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? ( 20 kb )
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? ( 20 kb )
(20 kb)
(20 kb)
(20 kb)
(20 kb)
(20 kb)

เขียนเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2556 | อ่าน 18508
เขียนโดย พระมหาสุรชัย สุรทสฺสี

 
 
 
 
 
หนังสือธรรมะอื่นๆ
Sucaritadhammakatha
The most venerable Prof. Dr Phra Brahmapundit (เปิดอ่าน 10550 )
4/5/2565
อิทธิบาทกถา ว่าด้วยอิทธิบาททำให้อายุยืน
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 12751 )
9/2/2565
สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 13401 )
30/11/2564
โควิทกถา รวมเทศนาในสถานการณ์โควิด
แสดงโดย...พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ศ.,ดร. เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส (เปิดอ่าน 15325 )
17/9/2564
ปรักกมกถา ว่าด้วยความมุ่งมั่น (ในสถานการณ์โควิด ๑๙)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 14567 )
22/8/2564
พุทธิวินยกถา ว่าด้วยความรู้คู่ระเบียบวินัย (ต้านภัยโควิด ๑๙)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 14681 )
19/8/2564
อนาวิลจิตตกถา ว่าด้วยใจไม่ขุ่นมัว (ในสถานการณ์โควิด)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 14798 )
29/7/2564
อัตตทมกถา ว่าด้วยการปรับตัว (ในสถานการณ์โควิดระลอกที่ ๑)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 13796 )
19/7/2564
กิมานันทกถา ว่าด้วยบันเทิงกันได้อย่างไร (เตรียมตัวสู้ภัยโควิด)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 18166 )
16/7/2564
ฌานกถา ว่าด้วยการเพ่งพินิจ (ในสถานการณ์โควิดระลอกที่ ๓)
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 12415 )
15/7/2564
ทักไขยกถา ว่าด้วยทักษะชีวิต
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 13447 )
17/6/2564
พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 13681 )
27/5/2564
อจินตามยกถา ว่าด้วยความไม่ได้ดั่งใจ
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 12951 )
5/5/2564
สัจจกถา ว่าด้วยความจริง
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 12839 )
4/5/2564
จักกธรรมกถา ว่าด้วยธรรมคือวงล้อ
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 13347 )
20/3/2564
อัคคทานกถา ว่าด้วยทานอันเลิศ
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 13384 )
14/3/2564
นาถกรณธรรมกถา ว่าด้วยธรรมสร้างที่พึ่ง
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 13071 )
12/3/2564
อภิรติกถา ว่าด้วยความยินดีพอใจ
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 13641 )
28/2/2564
ปริจาคกถา ว่าด้วยความเสียสละ
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) (เปิดอ่าน 13940 )
24/2/2564
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 73 คน
วันนี้ 268 คน
เมื่อวานนี้ 1,084 คน
เดือนนี้ 38,587 คน
เดือนที่ผ่านมา 38,662 คน
ทั้งหมด 2,626,826 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob