แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
บทเทศนา
 

อนุสติฐานกถา ว่าด้วยเหตุแห่งการระลึกถึง

ปี ๒๕๖๗
>>>เรื่อง 001 ภาวิตปุคคลกถา ว่าด้วยบุคคลที่พัฒนาแล้ว
>>>เรื่อง 002 เมตตากถา ว่าด้วยความรักและความหวังดี
>>>เรื่อง 003 วชิโรปมกถา ว่าด้วยปัญญาประดุจเพชร
>>>เรื่อง 004 วิชชูปมกถา ว่าด้วยปัญญาประดุจสายฟ้า

ปี ๒๕๖๘
>>>เรื่อง 001 สัมมาสังกัปปกถา ว่าด้วยความดำริชอบ
>>>เรื่อง 002 อิทธิบาทกถา ว่าด้วยอิทธิบาททำให้อายุยืน
>>>เรื่อง 003 พุทธิวินยกถา ว่าด้วยความรู้คู่วินัย
>>>เรื่อง 004 อาชานิยกถา ว่าด้วยบุคคลอาชาไนย
>>>เรื่อง 005 อุปสมกถา ว่าด้วยความสงบ
>>>เรื่อง 006 บุญกิริยากถา ว่าด้วยการทำบุญ
>>>เรื่อง 007 เถรธัมมกถา ว่าด้วยธรรมของพระเถระ
>>>เรื่อง 008 วรพลกถา ว่าด้วยกำลังอันประเสริฐ
>>>เรื่อง 009 พหุการธรรมกถา ว่าด้วยธรรมมีอุปการะมาก
>>>เรื่อง 010 ธัมมสังคหกถา ว่าด้วยการสงเคราะห์ด้วยธรรม
>>>เรื่อง 011 จตุพลกถา ว่าด้วยกำลังสี่ประการ
>>>เรื่อง 012 สาราณียธรรมกถา ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน
>>>เรื่อง 013 ธรรมฉันทกถา ว่าด้วยความใฝ่ดี
>>>เรื่อง 014 สนันตนกถา ว่าด้วยเรื่องโบราณ
>>>เรื่อง 015 อนุสติฐานกถา ว่าด้วยเหตุแห่งการระลึกถึง

 

          อิทํ อานนฺท อนุสฺสติฏฺฐานํ เอวํ ภาวิตํ เอวํ พหุลีกตํ สติสมฺปชญฺญาย สํวตฺตตีติ ฯ (องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๓๐๐.๗/๓๖๓) ฐานแห่งอนุสตินี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต จัดเป็นฐานแห่งพุทธานุสติชั้นเลิศ เพราะประกอบด้วยลักษณะของปูชนียวัตถุที่สำคัญครบสามประการ คือ

     ๑) ใหญ่โตมโหฬาร คนสามารถมองเห็นแต่ที่ไกล ดังจะห็นได้ว่า หลวงพ่อโตเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่มีหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร สูง ๑๙ เมตร

     ๒) วิจิตรอลังการ คือ มีความงดงามตามหลักพุทธศิลป์ หลวงพ่อโตงดงามยิ่งตั้งแต่แรกสร้าง ทั้งยังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์จากพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตหลายพระองค์ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว

     ๓) ขลังและศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อโตได้เป็นฐานแห่งการเจริญพุทธานุสติคู่บ้านคู่เมืองมาเป็นเวลากว่า ๗ ศตวรรษจึงมีพลังอันเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธจากทิศานุทิศพากันมากราบไหว้บูชา

          การสร้างพระพุทธรูปหรือพระพุทธปฏิมากรช่วยสืบสานพระศาสนาเพราะเหตุผลที่ว่าพระพุทธรูปจัดเป็นเจดีย์ประเภทหนึ่ง คำว่า เจดีย์ แปลว่า สิ่งที่ควรบูชาแทนพระพุทธเจ้า มี ๔ ประเภท คือ

     ๑) ธาตุเจดีย์ หมายถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่บรรจุไว้ในสถูปต่างๆ 

     ๒) บริโภคเจดีย์ หมายถึงสิ่งที่พุทธเจ้าเคยใช้สอย เช่น พระคันธกุฎี ต้นศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ 

     ๓) ธรรมเจดีย์ หมายถึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้า คือพระไตรปิฎก

     ๔) อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึงสิ่งที่สร้างขึ้นเจาะจงให้แทนองค์พระพุทธเจ้า เช่น รอยพระพุทธบาท พระพุทธรูป พระพิมพ์

          รับพระราชทานแสดงพระธรรมเทศนา ในพิธีสมโภชพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) ครบ ๗๐๑ ปี ณ วัดพนัญเชิงวรวิหาร อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระธรรมเทศนาแสดงกัณฑ์ที่ ๘ ปี ๒๕๖๘ เมื่อวันอังคารที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๗ เวลา ๑๕.๓๐ น.

 

สื่อมัลติมีเดีย

คลิกฟังเสียง / ดาวน์โหลดเสียงพระธรรมเทศนา
>>>เรื่อง 
'อนุสติฐานกถา' ว่าด้วยเหตุแห่งการระลึกถึง


คลิกชมวีดิทัศน์ / ดาวน์โหลดวีดิทัศน์พระธรรมเทศนา
>>>เรื่อง 'อนุสติฐานกถา' ว่าด้วยเหตุแห่งการระลึกถึง


ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (20 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (9.47 mb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (20 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (20 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (20 kb)

อัพโหลดเมื่อ 10 เมษายน พ.ศ. 2568 | อ่าน 8838
เขียนโดย พระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิตคุณ

 
 
 
 
   
เรื่องน่าสนใจอื่นๆ
อนุสติฐานกถา ว่าด้วยเหตุแห่งการระลึกถึง
อิทํ อานนฺท อนุสฺสติฏฺฐานํ เอวํ ภาวิตํ เอวํ พหุลีกตํ สติสมฺปชญฺญาย สํวตฺตตีติ ฯ (องฺ.ปญฺจก. (บาลี) ๒๒/๓๐๐.๗/๓๖๓) ฐานแห่งอนุสตินี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต จัดเป็นฐานแห่งพุทธานุสติชั้นเลิศ คู่บ้านคู่เมืองมาเป็นเวลากว่า ๗ ศตวรรษจึงมีพลังอันเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธจากทิศานุทิศพากันมากราบไหว้บูชา (เปิดอ่าน8839)
10/4/2568
สนันตนกถา ว่าด้วยเรื่องโบราณ
สจฺจํ เว อมตา วาจา แปลความว่า วาจาจริงเป็นสิ่งไม่ตาย (สํ.ส. ๑๕/๒๗๘, ขุ.สุ. ๒๕/๔๑๒, ขุ.เถร. ๒๖/๔๓๔) เมื่อจะพูดความจริงที่กล่าวออกไปนั้นต้องมี อัตถะ (ประโยชน์) และเป็นธรรม (ความถูกต้องและเหมาะสม) ความจริงบางอย่าง หากพูดออกไปแล้วอาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ก็ไม่จำเป็นต้องพูด (เปิดอ่าน8733)
9/4/2568
ธรรมฉันทกถา ว่าด้วยความใฝ่ดี
กุสลธมฺมจฺฉนฺโท ทุลฺลโภ โลกสฺมึ แปลความว่า ความพอใจในธรรมที่เป็นกุศล หาได้ยากในโลก (องฺ. ปญฺจก.๒๒/๔๙๑/๓๖๗) ความพอใจธรรมที่เป็นกุศล นั่นคือความใฝ่ดี ซึ่งตรงกับคำว่า ''รักดี'' เป็นคนรักดีเพราะมีธรรมฉันทะคือความใฝ่ดีภายในในจิตใจ เป็นคนประเภทปฏิโสตคามี (เปิดอ่าน28717)
20/2/2568
สาราณียธรรมกถา ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน
ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ยานิ ตานิ สพฺรหฺมจารีนํ อุจฺจาวจานิ กึกรณียานิ ตตฺถ ทกฺโข โหติ อนลโส ตตฺรุปายาย วีมํสาย สมนฺนาคโต อลํ กาตุ อลํ สํวิธาตุ อยมฺปิ ธมฺโม สาราณีโย (แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกิจธุระใหญ่น้อยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ประกอบด้วยปัญญาพิจารณาหาอุบายในกิจธุระนั้นๆ ทำเองก็ได้ จัดการให้คนอื่นทำก็ได้ นี้เป็นสาราณียธรรมคือเหตุให้บุคคลระลึกถึงกัน) (องฺ.ทสก. (ไทย) ๒๔/๑๗/๓๒) (เปิดอ่าน27709)
19/2/2568
จตุพลกถา ว่าด้วยกำลังสี่ประการ
จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว พลานิ เป็นต้น แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ปัญญาพละ กำลังปัญญา ๑ วิริยพละ กำลังความเพียร ๑ อนวัชชพละ กำลังการงานไม่มีโทษ ๑ สังคหพละ กำลังการสงเคราะห์ ๑ (เปิดอ่าน27265)
18/2/2568
ธัมมสังคหกถา ว่าด้วยการสงเคราะห์ด้วยธรรม
อามิสสงฺคโห จ ธมฺมสงฺคโห จ อิเม โข ภิกฺขเว เทฺว สงฺคหา เป็นต้น แปลความว่า การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ (เปิดอ่าน26566)
17/2/2568
พหุการธรรมกถา ว่าด้วยธรรมมีอุปการะมาก
บุคคลผู้หวังความเจริญก้าวหน้าในชีวิตจึงควรน้อมนำเอาพหุการธรรม ๔ ประการนี้ไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ควรตั้งเป้าหมายชีวิตว่าตนเองต้องการจะเป็นอะไรในอนาคต เมื่อกำหนดเป้าหมายชัดเจนแล้วก็ดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายนั้นด้วยอาศัยธรรม ๔ ประการ (เปิดอ่าน26594)
14/2/2568
วรพลกถา ว่าด้วยกำลังอันประเสริฐ
การศึกษาสร้างพลังปัญญาให้แก่สังคมโดยรวม เพราะ "กำลังปัญญาประเสริฐยอดเยี่ยมกว่ากำลังทั้งหลาย เพราะว่าบัณฑิตผู้มีกำลังปัญญาสนับสนุนย่อมได้รับความเจริญ" (เปิดอ่าน21127)
7/2/2568
เถรธัมมกถา ว่าด้วยธรรมของพระเถระ
ธรรมของพระเถระ ๕ ประการ : ภิกษุผู้เถระประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก (เปิดอ่าน22487)
4/2/2568
บุญกิริยากถา ว่าด้วยการทำบุญ
บางคนให้ทานด้วยตนเองด้วย ชักชวนคนอื่นด้วย เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ ในที่ที่ตนเกิดแล้ว “ปุญฺเมว โส สิกฺเขยฺย อายตคฺคํ สุขุทฺริยํ” เป็นต้น แปลความว่า “บุคคลควรศึกษาบุญนี่แหละ ซึ่งมีผลกว้างขวาง สร้างความสุขให้ คือ ควรบำเพ็ญทาน บำเพ็ญสมจริยาและควรเจริญเมตตาจิต” (เปิดอ่าน23088)
3/2/2568
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 965 คน
วันนี้ 2,673 คน
เมื่อวานนี้ 2,831 คน
เดือนนี้ 57,028 คน
เดือนที่ผ่านมา 58,272 คน
ทั้งหมด 3,121,327 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2025 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob