แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
เปิดสมัครพระนักเทศน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
 

มส.ปลื้ม!ผลผลิตครู"มจร"ครบ"เก่ง ดี มีสุข"


มหาเถรสมาคม | สุจริตธรรมกถา | พระพรหมบัณฑิต
>>>แสดงพระธรรมเทศนา 'สุจริตธรรมกถา' มจร วังน้อย อยุธยา [8-08-2559]
>>>แสดงพระธรรมเทศนา 'สุจริตธรรมกถา' สำนักงาน ป.ป.ช.นนทบุรี [23-12-2559]
>>>แสดงพระธรรมเทศนา 'สุจริตธรรมกถา' กระทรวงวัฒนธรรม [6-01-2560]
>>>แสดงพระธรรมเทศนา 'สุจริตธรรมกถา' กระทรวงพาณิชย์ [27-01-2560]
>>>แสดงพระธรรมเทศนา 'สุจริตธรรมกถา' กระทรวงพาณิชย์ [15-02-2560]
>>>แสดงพระธรรมเทศนา 'สุจริตธรรมกถา' กระทรวงแรงงาน [9-03-2560]
>>>ขออาราธนา/เชิญสาธุชนร่วมสดับพระธรรมเทศนากัณฑ์ 'สุจริตธรรมกถา'
>>>แสดงพระธรรมเทศนา 'สุจริตธรรมกถา' ตามมติมหาเถรสมาคม
>>>พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศล
>>>งาน '๕๖ ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ รำลึก' มจร วังน้อย อยุธยา
 

          วันที่ 25 ก.ค.2560 ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร .อธิการบดี มจร เป็นประธานเปิดงาน "56 ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ รำลึก"  และบรรยายพิเศษ เรื่อง "ทิศทางการจัดการศึกษาคณะครุศาสตร์ยุค มจร 4.0  ความว่า คณะครุศาสตร์จะมีความงดงามมากขึ้นที่ได้นำสามเณรมาร่วมงานเพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจ โดยเดินตามรอยครูอาจารย์ต่อไป

          อธิการบดี มจร กล่าวต่อว่า คณะครุศาสตรนั้นเปิดการเรียนการสอนในวันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2504  จนถึงปัจจุบันได้เปิดหลักสูตรวิชาการการเทศนาและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ถือว่าเป็นหลักสูตรมากที่สุดในมหาจุฬาฯ เป็นจัดการศึกษาครบวงจร ทำให้เป็นคณะที่มีผู้เรียนเป็นจำนวนมาก

          ขณะที่ในยุคไทยแลนด์ 4.0 นี้ คณะครุศาสตร์จะมีทิศทางจัดการศึกษาอย่างไร ? เพื่อจะไปสู่นานาชาติ จะปรับทิศทางอย่างไรเพื่อการเติบโตไปข้างหน้าเราต้องมองภาพผลผลิตของครุศาสตร์ ซึ่ง  ศ. ดร.สาโรช บัวศรี กล่าวว่าในการผลิตครูผลจะต้องเกิด 2  ประการ คือ 1) Academic competence (เป็นคนเก่ง) 2) Character development (เป็นคนดี เป็นแม่แบบ ) อดีตต้นแบบในการผลิตครูฝึกหัดครู คือ มศว ประสานมิตร ปรมาจารย์ของประสานมิตรจึงบัญญัติคำ 2 ประโยค คือ มีความรู้ประดุจนักปราชญ์ มีจรรยามารยาทประดุจผู้ทรงศีล  เป็นสโลแกนของ มศว มาถึงทุกวันนี้ นี้คือตัวชี้วัดของครู สรุปคือ เก่งและดีสำหรับการเป็นครู สำหรับมหาจุฬาฯนั้นคือผู้ทรงศีล จึงต้องพัฒนาความเก่ง


          ที่ผ่านมามีการผลิตครูแบ่ง 4 ประเภทหรือตามยุคดังนี้ 

          1.0 "ได้ครูดีแต่ไม่เก่ง" คือ ในอดีตเด็กนักเรียนต้องเรียนกับพระสงฆ์ในวัด เปิดวัดเป็นโรงเรียนสอนเด็กสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระมหาสมณเจ้าเป็นแม่งานให้พระสอนหนังสือในหัวเมืองต่างๆ สมเด็จกรมพระยาราชานุภาพ เป็นผู้อุปถัมภ์ เด็กได้เรียนหนังสือจากพระสงฆ์ เป็นแม่แบบที่ดี แต่สอนไม่เก่ง เพราะเราไม่มีวิชาครู เรียกว่า ครูดีแต่สอนไม่เก่ง เพราะขาดศาสตร์สมัยใหม่ โรงเรียนจึงออกไปจากวัด

          2.0 "ได้ครูเก่งแต่ไม่ดี" คือ มีการสอนเก่งรู้ศาสตร์ทั้งหลายแร่ขาดการเป็นแม่แบบที่ดี ได้รับอิทธิพลจากอเมริกา กระทรวงศึกษาถอดแบบตะวันตก บทบาทของครูเปลี่ยนไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ลดบทบาทของครูไม่สอนให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม ตัวหลักสูตรที่มีปัญหา ลดความสำคัญลง แต่มุ่งเน้นให้สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ เด็กจะมีพฤติกรรมอย่างไรก็ตาม เราเน้นเทคนิคการสอน ทักษะต่างๆ จิตวิทยาพัฒนาการ แต่ไม่เน้นคุณธรรมจริยธรรม สอดรับกับคำว่า " Since the 1960's teacher education has downplayed the teacher's role as a transmitter of social and personal values and emphasized other areas such teaching techniques, strategies , models, and skills." เป็นการเน้นการติวให้เก่งเพื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัย ขอให้ครูเก่งไม่สนใจว่าจะดีหรือไม่

          3.0 "ได้ครูทั้งไม่เก่งและไม่ดี" คือ เปิดราชภัฎจำนวนมาก จบครูมาตกงานเป็นจำนวนมาก อดีตคนจะเป็นครูต้องๆ ได้คะแนนสูง ถึงมาเป็นครู แต่ยุคนี้บางคนผิดหวังจากที่อื่น หรือได้คะแนนน้อยแล้วมาเป็นครู ไม่มีการดึงดูดคนเก่งให้มาเป็นวิชาชีพครู คะแนนเด็กไทยติดอันดับท้ายๆ ในวิชาวิทย์ คณิต ภาษา รองปลัดกรุงเทพฯบอกว่าเด็กอ่านหนังสือไม่ออกเป็นจำนวนมาก ในยุคนี้คนมาเรียนครูไม่ดีและไม่เก่ง นี้วิเคราะห์ตามรัฐบาล จึงมีการขึ้นเงินเดือนสูงกว่าวิชาชีพอื่น โดยจะดึงคนเก่งๆ เข้าสู่วิชาครู ซึ่งกำหนดให้เรียน 5 ปี จึงเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเพิ่มอีก 1 ปี รวมเป็น 5 ปี ครูต้องเป็นมืออาชีพ มากกว่าอาชีพครู อาชีพครูเป็นทักษะพิเศษ เหมือนใครจะเป็นแพทย์พยาบาลต้องมีทักษะในการรักษา ส่วนครูมีคุรุสภาเป็นผู้กำกับครู

          4.0 "ได้ครูทั้งเก่งและดี"  คือ ต้องการกลั่นกรองคนเก่งและคนดีมีทำหน้าที่ครูมืออาชีพ ครูต้องจึงมีความเป็นมาตรฐาน ที่อื่นอาจจะเน้นเรื่องเก่ง แค่มหาจุฬาต้องเน้นเรื่องดี ถือว่าเป็นจุดขายของครุศาสตร์มหาจุฬา เป็นพื้นฐานที่สำคัญ ของครู มิใช่ดีและเก่งส่วนตัว แต่ครูจะต้องสามารถสอนให้เด็กเก่งและดีด้วย ได้ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม ครูเป็นคนดีสามารถถ่ายทอดให้ศิษย์เป็นคนดีด้วย


          หัวใจสำคัญของคณะครุศาสตร์ มจร ในยุคไทยแลนด์ 4.0 จะต้อง "มีความรู้ประดุจนักปราชญ์ มีจรรยามารยาทประดุจผู้ทรงศีล " ถือว่าเป็นอุดมคติของครู 4.0 เราต้องไปดูหลักสูตรว่าอะไรที่เน้นเก่งและเน้นดี เช่น วิชากรรมฐาน ครูต้องพัฒนาจิตใจตนเองให้เป็นคนดี กรรมฐานต้องมีการปรับให้เข้ากับยุคสมัย มิใช่แต่เพียงนั่งหลับตาทั้งวัน ครูที่ดีจริงๆ ในยุคแรกๆ จะเน้นจรรยามารยาทของศิษย์ ลูกศิษย์คนไหนพฤติกรรมไม่ดี มีการกล่าวตักเตือนให้สติ อาจารย์มหาจุฬาฯในอดีตเป็นแม่แบบที่ดีมากๆ สอนจนลูกศิษย์ต้องทำรูปปั้นให้ เพราะอดีตเราสอนให้ลูกศิษย์กตัญญู การไหว้ครูอย่าไหว้เพียงเป็นพิธี หรือ แค่ประกวดพานไหว้ครู ฉะนั้น เราต้องฝึกหัดคุณธรรมจริยธรรม แม้อดีตเรายังไม่ใส่รองเท้าขึ้นตึกมหาจุฬาฯ เพราะเน้นเรื่องความเคารพกตัญญูต่อสถานที่ เราเน้นความประพฤติทั้งองค์กร ครูครุศาสตร์มหาจุฬาต้องเป็นต้นแบบในการประพฤติ

          จึงมีการตั้งคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า จะต้องเน้นเก่งและดีไปด้วยกัน ด้วยประโยคที่ว่า " The twe educational goals most desired by both the public and educators academic competence and character development are not mutually exclusive, but complementary " ควรมีการเสริมกันและกัน เสริมความเก่งเสริมความดี คำถาม ทำอย่างไรถึงจะเรียนเก่งและดี เหมือนหลวงพ่อพุธ ฐานิโย  วัดป่าสาลวัน จะเรียนต้องฝึกกรรมฐาน ทำให้จำแม่น ถ้ามีสมาธิจะจำแม่น เหมือนเราถ่ายภาพเราต้องโพกัสภาพ

          การเป็นคนดีและคนเก่งไม่ได้แยกจากกัน จะต้องไปด้วยกัน อุดมคติของครูจะต้อง เก่ง ดี มีสุข เป็นจตุสดมภ์ของการศึกษา คือ " การศึกษาเพื่อพัฒนา เพื่อศักยภาพ เพื่อสมรรถภาพ เพื่อคุณภาพ และเพื่อสุขภาพ " ครูจะต้องมีความสุขในการสอน ฝึกปฏิบัติเมตตากรุณา ประสิทธิภาพในการสอนจึงมีความสำคัญ " ประโยชน์สูงประหยัดสุด " เป็นครูมีคุณภาพ มหาวิทยาลัยที่เจริญแล้วอยู่ที่ครูเก่งและดี มิใช่อยู่ที่สถาบัน เราต้องมีตัวตายตัวแทน เราจากพุทธคุณ 3 ประการ คือ มีปัญญาคุณ คือ สอนให้เก่ง มีกรุณาคุณ คือ สอนให้ดี มีวิสุทธิคุณ คือ สอนด้วยความบริสุทธิ์ อย่าเอาเครื่องตอบแทนเป็นตัวตั้ง เราจะมีความสุข ฐานสำคัญคือ เก่ง ดี มีสุข

          ในมุมของเถรวาทเมื่อเกิดปัญญาแล้วมีความกรุณาสงสารบุคคลจึงออกไปเผยแผ่ช่วยเหลือชี้ทางที่ถูกต้อง ทำด้วยความบริสุทธิ์ ส่วนมหายานมีความกรุณาคุณเป็นฐาน ช่วยเหลือคนอื่นก่อน ช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ เรามาเรียนครูเพราะเรามีความรู้เพื่อจะถ่ายทอดช่วยเหลือคนอื่นทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ สรุปว่าครูจะต้องมีปัญญา กรุณา วิสุทธิ ครูในมหาจุฬาฯต้องสอนเก่งกว่าครูที่อื่น ครูภายนอกสอนให้เก่งอย่างเดียว สอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้เพียงแจ่มแจ้ง แต่ครูมหาจุฬาฯต้องสอนให้เกิดการจูงใจ เกิดศรัทธาอยากจะมาเรียนครู เป็นต้นแบบ เด็กเล็กมีความใฝ่ฝันว่าจะเป็นครู สอนให้เกิดความแกล้วกล้า และมีความร่าเริงในการเรียนรู้ มีอารมณ์ขัน แต่มิใช่ตลกคาเฟ่ สรุปคือจะจบครุศาสตร์ครูต้องพัฒนาและประเมิน ๔ ส คือ "แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง " การไปฝึกสอนให้ดู 4 ส. เป็นเกณฑ์การประเมินครู ยูเนสโกบอกว่า การศึกษา ต้องสอนให้ " รู้ ทำ อยู่ร่วมกัน เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ "

          ตามแผนแม่บทใหม่ของครูดีในยุคไทยแลนด์ 4.0 มี 4 ประการ คือ "พอเพียง มีวินัย สุจริต และจิตอาสา" มีความสุขกับการเป็นผู้ให้ ยืนยันมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดทำวิจัยว่า เมื่อนิสิตเรียนจบไปแล้วชีวิตต้องการอะไร ? ชีวิตต้องการเป็นอะไร ศึกษาสองกลุ่ม กลุ่มที่เรียนกับกลุ่มที่ไม่ได้เรียน ตามดูชีวิตของนิสิตที่เรียนจบไป เป็นการทำวิจัย บทสรุป คือ ผู้มีเงินผู้มีอำนาจตายไปแล้ว และใครเป็นผู้ที่มีอายุยืนสุขภาพจิตดีที่สุด คำตอบคือ ผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะมีความสุข มีกัลยาณมิตรที่ดี มาจากความสัมพันธ์ที่ดี มีความสุขร่วมกับคนอื่น เพราะความเหงามีอันตรายเท่ากับการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า

          แม้แต่พระพุทธเจ้าตรัสว่า " อานนท์ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีพวกดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว " กัลยาณมิตรกัลยาณสหายกัลยาณธรรม ถือว่าเป็นสุดยอดในการอยู่ร่วมกัน ในธรรมบทกล่าวว่า วิสฺสาสปรมา ญาติ แปลว่า ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง ครูต้องไม่เหินห่างต้องมีความสัมพันธ์กับศิษย์ ปัจจุบันมีการเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ จุดด้อยทำให้เกิดความเหินห่าง วิชาเดียวที่เรียนผ่านคอมพิวเตอร์ไม่ได้ คือ วิชาคุณธรรมจริยธรรม เป็นต้นแบบ พันธกิจของครู คือ สอนให้รู้ (ปริยัติ) ทำให้ดู (ปฏิบัติ) อยู่ให้เห็น ( ปฏิเวธ) การล้มเหลวของการศึกษา คือ ครูมัวแต่ทำวิจัยเพื่อเลื่อนตำแหน่ง ไม่มีเวลาให้กับลูกศิษย์ ไม่มีเวลาสอน เด็กขาดความอบอุ่น เด็กขาดความรัก ครูจะต้องสอนให้คิดวิเคราะห์ เด็กจึงจะคิดเป็น ฉะนั้น ครูกับศิษย์ต้องไม่มีช่องว่างในการอยู่ร่วมกัน ครูเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับศิษย์ ให้ความรักก่อนให้ความรู้
 


นำเสนอข่าว : พระมหาผล วิเชฏฺฐสมโณ
ที่มาจากแหล่งข่าว : banmuang


          พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานกล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษ ในงาน "๕๖ ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ รำลึก" ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

          วันอังคารที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๒ เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานกล่าวเปิดงานและบรรยายพิเศษ เรื่อง "ทิศทางการจัดการศึกษาคณะครุศาสตร์ยุค มจร ๔.๐" ในงาน "๕๖ ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ รำลึก" ณ ห้องเธียเตอร์ โซนซี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


คลิกฟังเสียง / ดาวน์โหลดเสียงบรรยาย
                    >>>เรื่อง 'ทิศทางการจัดการศึกษาคณะครุศาสตร์ยุค มจร ๔.๐'


นำเสนอข่าว : พระมหาผล วิเชฏฺฐสมโณ
ข้อมูลภาพ/ข่าว : PYMLNECMTR
ภาพ : Mcu Tv-Channel
เสียง : MCU-IT








































































ข้อมูลอื่นๆ
>>>งาน"วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ๑๘๙ ปี"
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน"สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ"ปี ๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน"วันปีใหม่ วันเถลิงศก"วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘
>>>WaterFestival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำ วัดประยูร ฯ ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด"ประยูรฯวัดรั้วเหล็ก"๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ งานฉลองรางวัลยูเนสโก ๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์มีแกนกลางแบบอยุธยาได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน"วัดประยูรฯ ชนะเลิศอนุรักษ์
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศจากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (284 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (284 kb)

เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 | อ่าน 4560
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
ข่าวประชาสัมพันธ์ อื่นๆ
เปิดสมัครพระนักเทศน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘
รับสมัครพระสังฆาธิการ, จบนักธรรมเอก หรือเป็นเปรียญธรรม หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาการเทศนา (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘ ปี ๒๕๖๗ ณ วัดประยูรฯ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน54)
23/4/2567
สงกรานต์ บริการน้ำดื่มฟรี...! ที่วัดประยูรฯ
น้ำดื่มเย็นๆ ชานมเย็น กาแฟเย็น ประเพณีสงกรานต์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ระหว่างวันที่ ๖ - ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน178)
13/4/2567
สถานที่พร้อมแล้วในการเทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย ครั้งที่ ๒ (หนเหนือ)
เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย ครั้งที่ ๒ (หนเหนือ) ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (เปิดอ่าน107)
4/4/2567
ประกาศผลสอบบาลี ประจำปี ๒๕๖๗
ประกาศผลสอบประโยคบาลีสนามหลวงระดับชั้นเปรียญธรรม (ป.ธ.) ๑-๒ ถึง ๙ ประโยค ประจำปี ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน4556)
30/3/2567
ขอเชิญเที่ยวงาน "สงกรานต์ วัดประยูรฯ" ปี ๒๕๖๗
ร้อนนี้มาเย็นกาย เย็นใจ รับปีใหม่ไทยด้วยความร่มเย็น ระหว่างวันที่ ๖ - ๑๕ เมษายน ๒๕๖๗ ที่วัดประยูรฯ (เปิดอ่าน686)
20/3/2567
รับสมัครบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๗
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปี ๒๕๖๗ ณ โรงเรียนส่งเสริมพระพุทธศาสนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน662)
12/3/2567
เปิดรับสมัครแล้ว...! พระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔
รับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (หมดเขตรับสมัครวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗) (เปิดอ่าน2280)
9/2/2567
ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๖ ปี วัดประยูรฯ" กรุงเทพฯ
งาน 'สมโภชพระอาราม ๑๙๖ ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร' สุขสราญรุ่งโรจน์ สมโภชวัดประยูร ไหว้พระขอพร ย้อนวันวาน ชิมอาหารท้องถิ่น ชมศิลปินร่วมสมัย เที่ยวงานปลอดภัย ใส่ใจรักษ์โลก วันที่ ๑๒ - ๑๓ - ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน4204)
1/1/2567
ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๖ ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๗ วัดประยูรฯ
ในวันอาทิตย์ที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ถึงวันจันทร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๙ น. เป็นต้นไป ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน2343)
16/12/2566
ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทง วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๖
เทศกาลประเพณีลอยกระทงประจำปี ๒๕๖๖ 'River Festival 2023' เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรม ครั้งที่ ๙ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร (เปิดอ่าน2375)
5/11/2566
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 65 คน
วันนี้ 116 คน
เมื่อวานนี้ 1,084 คน
เดือนนี้ 38,435 คน
เดือนที่ผ่านมา 38,662 คน
ทั้งหมด 2,626,674 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob