แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
2565-12-16-MATI001 วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ข่าวเด่น
 

พระพรหมบัณฑิต แสดงปาฐกถาเรื่อง "วันเวลาเปลี่ยน แต่ปณิธานไม่เปลี่ยน" ณ มณฑลพิธีลานหินโค้ง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ นนทบุรี


คณะสงฆ์ | มจร | วัดประยูรฯ | รางวัล | พระพรหมบัณฑิต
>>>พระพรหมบัณฑิต เข้ารับถวายรางวัล"เสาอโศกผู้นำศีลธรรม"
>>>พระพรหมบัณฑิต เข้ารับถวายกิตติคุณสัมพันธ์"สังข์เงิน"

มหาจุฬาฯ | พระพรหมบัณฑิต
>>>กราบทูลถวายรายงานแด่สมเด็จพระสังฆราช มจร วังน้อย
>>>กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดประชุมทางวิชาการ วิสาขบูชา
>>>เปิดตัวหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสากล มจร วังน้อย 
>>>เปิดตัวหนังสือ"พระธรรมเทศนาในอเมริกา" ภาษาจีน
>>>ลงนามความร่วมมือในหนังสือบันทึกความเข้าใจ
>>>พิธีเปิดอาคารวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ
>>>กล่าวต้อนรับในการประชุมวิสาขโลก ที่ UN
>>>เฝ้ารับเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ
>>>กล่าวขอบคุณและปิดการประชุมวิสาขบูชาโลก ที่ UN
>>>ประชุมติดตามการเตรียมงานวิสาขบูชาโลกที่ศรีลังกา
>>>กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดงานวิสาขบูชาโลกที่ศรีลังกา
>>>เปิดตัวหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสากล (CBT) ที่ศรีลังกา
>>>นำคณะจากมหาจุฬาฯร่วมสวดมนต์ ที่ศรีลังกา
>>>พิธีฉลองวิสาขบูชาโลกและมอบพระไตรปิฎกฉบับแก่ประธานธิบดี
>>>นำคณะเข้าพบมหานายกะอัศคิริยะแห่งสยามนิกายของศรีลังกา
>>>พิธีทำบุญฉลอง ๑ ทศวรรษหลักสูตรการจัดการเชิงพุทธ
>>>พิธีถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์สหไมตรีราชมิตราภรณ์ ชั้นมหาสิริวัฒน์
>>>พุทธศาสตรบัณฑิตกับประเทศไทย ๔.๐ มจร วังน้อย
>>>พิธีประทานปริญญาบัตรเป็นวันแรก มจร วังน้อย
>>>พิธีประทานปริญญาบัตรเป็นวันที่สอง มจร วังน้อย
>>>บรรยายพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ ๒๓ ณ มจร วังน้อย
>>>บรรยายแผนยุทธศาสตร์สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาจุฬาฯ
>>>เปิดการเสวนาครูพระสอนศีลธรรม ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา
>>>สัมมนาเรื่องกฎหมายใกล้สงฆ์ ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา
>>>๓๐ ปี มจร วิทยาเขตแพร่กับไทยแลนด์ ๔.๐
>>>รับมอบรถโดยสารปลดระวางจำนวน ๗๕ คัน จาก ขสมก.
>>>ฉลองครบรอบ ๒๐ ปี ฮ่องกงรวมกับประเทศจีน ณ ฮ่องกง
>>>เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ฉีเหมย เมืองไถ่หนาน ไต้หวัน
>>>พิธีฉลองปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาจิ้งเจี๋ยไต้หวัน
>>>ประชุมคณะกรรมการกำกับสถาบันสมทบไต้หวัน ณ วัดกวงเต๋อ
>>>เจริญพระพุทธมนต์ฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี พระธรรมาจารย์ชิงซิน
>>>นำผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ มจรสักการะพระมหาเถระ
>>>พิธีเปิดการศึกษาและพิธีทำสามีจิกรรมในเทศกาลเข้าพรรษา
>>>วันบุรพาจารย์และการจัดการความรู้  วังน้อย อยุธยา
>>>พิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ป.พศ., ป.วน.
>>>พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ  รัชกาลที่ ๑๐
>>>งาน '๕๖ ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ รำลึก' มจร วังน้อย อยุธยา
>>>พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
>>>กล่าวเปิดการประชุมอบรมด้านกฏหมายสำหรับผู้บริหารมหาจุฬาฯ
>>>พิธีปฐมนิเทศนิสิตปริญญาเอก สาขาพุทธจิตวิทยา
>>>งานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาฯ ปีที่ ๓
>>>การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนฯศูนย์อาเซียนศึกษา
>>>การประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาทั่วประเทศ
>>>การประชุมวิพากษ์แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ
>>>งานครบรอบวันสถาปนา ๑๓๐ ปี มหาจุฬาฯ
>>>งานวันก่อตั้งคณะพุทธศาสตร์ ครบ ๗๐ ปี
>>>เปิดการสัมมนา'Buddhism in Digital Era'
>>>๑ ทศวรรษโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
>>>การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มจร
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันปิยมหาราชรำลึก มจร วังน้อย
>>>แสดงปาฐกถาเรื่อง "วันเวลาเปลี่ยน แต่ปณิธานไม่เปลี่ยน"
 

          วันเสาร์ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๙.๓๐ น. พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค ๒ เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แสดงปาฐกถาเรื่อง "วันเวลาเปลี่ยน แต่ปณิธานไม่เปลี่ยน" บูชาคุณพระพรหมมังลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ณ มณฑลพิธีลานหินโค้ง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จังหวัดนนทบุรี

          วัดชลประทานรังสฤษดิ์กำหนดพิธีพระราชทานเพลิงศพพระพรหมมังลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ในวันอาทิตย์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๓๐ น. ณ เมรุวัดชลประทานรังสฤษดิ์ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯไปเป็นองค์ประธานในพิธี


คลิกฟังเสียง / ชมวีดิทัศน์ / ดาวน์โหลดธรรมบรรยาย>>>เรื่อง 'วันเวลาเปลี่ยน แต่ปณิธานไม่เปลี่ยน'

          



          "พระสงฆ์ผู้สร้างนวัตกรรมในการเผยแผ่ธรรมแห่งยุค : ปณิธานคือเข็มทิศชีวิตหลวงพ่อปัญญานันทะ : วันเวลาเปลี่ยน แต่ปณิธานหลวงพ่อปัญญาไม่เคยเปลี่ยน : พระสงฆ์แห่งทุกฤดูกาลในการเป็นต้นแบบธรรมทายาท : ปฏิรูปการสอนพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงแก่นแท้  "

          พระพรหมบัณฑิต,  ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า ความยิ่งใหญ่ของบุคคลในโลกใบนี้อย่างมหาตมะคานธีเป็นบุคคลที่สร้างความยิ่งใหญ่ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ สร้างความยิ่งใหญ่ รวมถึงหลวงปัญญานันทะมีความยิ่งใหญ่ เพราะที่ท่านมีชีวิตอยู่ เราก็ฟังคำสอนของหลวงปัญญานันทะ แต่เราไม่ได้ถอดรหัสอย่างลึกซึ้ง แต่พอท่านจากไปแล้ว นิยามชีวิตของท่านสมบูรณ์ เราจึงเริ่มมองว่าในประเทศไทยมีพระสงฆ์ที่มี "ความกล้าหาญทางจริยธรรม"  เป็นต้นแบบของพระนักเผยแผ่พระนักเทศน์ที่ทำได้จริงๆ ตลอด ๗๗ ปี หลวงพ่อมีปณิธานที่ชัดเจนไม่เคยเปลี่ยนแปลงปณิธาน "หลวงปัญญานันทะไม่เคยเปลี่ยนปณิธาน" เพราะปณิธานคือเข็มทิศชีวิต เป็นความตั้งมั่นมุ่งมั่นจะทำอะไร จะเป็นอะไร และดำเนินตามปณิธาน
          พระปฐมบรมราชโองการของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ว่า  " เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม "  ๗๐ ปีที่ครองราชย์ไม่เคยเปลี่ยนปณิธานนี้เลย ถือว่าเป็นอัศจรรย์ ปฏิบัติตามคำมุ่นสัญญา  เดินทางสู่เข็มทิศที่ตั้งไว้  สังคมต้องบุคคลแบบนี้มาเป็นผู้ทางบ้านเมืองและจิตวิญญาณ ชาวพุทธไทยโชคดีที่มีผู้นำจิตวิญญาณที่มีความตรง ที่ชื่อว่า ปัญญานันทะภิกขุ  เป็นพระสงฆ์ที่มีความมุ่งมั่นแบบหลวงพ่อปัญญานันทะฝรั่งกล่าวว่า " เป็นบุคคลแห่งทุกฤดูกาล " ซึ่งในยุโรปและอเมริกาในฤดูหนาวเราจะเห็นหิมะตกต้นไม้ปกคลุมด้วยหิมะนึกว่าต้นไม้ตาย ผ่านฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ  ต้นไม้เปลี่ยนสีตามฤดูกาล แต่มีต้นไม้หนึ่งไม่ยอมเปลี่ยนสีตามฤดูกาล เป็นไม้แห่งทุกฤดูกาล คือ ต้นสน เราจึงเรียกต้นสนว่าเป็นต้นไม้แห่งทุกฤดูกาล บุคคลที่ไม่เปลี่ยนแปลงปณิธานจึงเป็นบุคคลแห่งทุกฤดูกาล หลวงพ่อปัญญาเป็นพระแห่งทุกฤดูกาล เสมอต้นเสมอปลาย  เคยเทศน์เคยอย่างไร ก็สอนเหมือนเดิม ยึดปณิธาน ตามอุดมการณ์ที่ตั้งไว้ เป็นพระสงฆ์ที่กล้าพูดกล้าทำ  ชีวิตต้องมีปณิธานชีวิตจึงดำเนินไปไม่ออกนอกเส้นทาง เราต้องมีเรือที่มีหางเสือ เพื่อไปถึงจุดหมายปลายทาง คือ อุดมการณ์ ปณิธานเป็นกลยุทธ์เพื่อเดินทางสู่เป้าหมาย คนที่มีปณิธานจะมีความมุ่งมั่นเหมือนสุเมธดาบส นอนเป็นสะพานให้พระพุทธเจ้าชื่อว่าธีปังกรเหยียบข้ามไป ตั้งปณิธานว่า ขอเป็นพระพุทธเจ้า นั่นคือจุดเปลี่ยน จะเจอปัญหาอะไรก็มีความมุ่งมั่นตามปณิธาน คนที่มีปณิธานจะไปถึงเป้าหมาย  ดั่งพุทธพจน์ว่า  " เกิดเป็นคนต้องพยายามล้ำไปจนกว่าจะได้ในสิ่งที่ปรารถนา "  ชีวิตหลวงพ่อปัญญานันทะเป็นชีวิตที่สมหวัง เพราะเป็นไปตามมโนปณิธานที่ตั้งไว้  สิ่งสำคัญปณิธานต้องลงมือทำ สุภาษิตจีนกล่าวว่า " ระยะทางหมื่นลี้ต้องมีก้าวแรก "  เราต้องตั้งปณิธานให้มั่นคง เราจะทำดีอะไรเพื่อฝากไว้ในสังคม เราอาจจะไม่มีปณิธานอันยิ่งใหญ่เหมือนหลวงพ่อปัญญานันทะ แต่เราต้องมีปณิธาน ถ้าใครไม่มีปณิธานคือ คนพาล ส่วนบัณฑิตจะมีปณิธาน ฝากอะไรไว้กับโลกใบนี้ไว้บ้าง  ซึ่งผู้มีปัญญาจะรู้ประโยชน์ ๒ ประการ คือ รู้ประโยชน์ภายหน้าในปัจจุบันและประโยชน์ระยะยาวในอนาคต หรือ การเกื้อกูล  เช่น ในปี ๒๕๐๓ มีการสร้างวัดชลประทาน นิมนต์พระหนุ่มชื่อปัญญานันทะมาสร้างประโยชน์โดยตรงแต่ผู้ที่สร้างประโยชน์โดยอ้อมคือกรมชลประทาน ไม่มีวัดชลประทานก็ไม่มีเจ้าอาวาสชื่อปัญญานันทะ เกิดมาทั้งทีต้องมีอะไรฝากไว้ นี่คือ ปณิธานของชีวิต
          หลวงปัญญานันทะภิกขุมีปณิธานชีวิตอะไรที่เป็นเข็มทิศพาชีวิตไปสู่เป้าหมาย ปณิธานมี ๖ ข้อ จึงทำหลวงพ่อปัญญานันทะเป็นตำนาน หลวงพ่อปัญญานันทะทำได้จริง ไม่เปลี่ยนไปตามฤดูกาล  หลวงพ่อเสมอต้นเสมอปลาย  ปณิธาน ๖ ประการ คือ
          ๑) อยู่เพื่อพระรัตนตรัย เพื่อรับใช้พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์  หลวงพ่อปัญญานันทะอุทิศตนเพื่อพระรัตนตรัย เอาธรรมะเป็นใหญ่ เรียกว่า ธรรมาธิปไตย  แต่ถ้าเพื่อตนเองเรียกว่า  อัตตาธิปไตย  ทำเพื่อเด่นดีเพื่อตนเองเท่านั้น  และทำดีเพื่อคนอื่น คนอื่นเป็นใหญ่ เรียกว่า โลกาธิปไตย  แต่ถ้าเพื่อความถูกต้องดีงาม เรียกว่า ธรรมาธิปไตย เป็นการขับเคลื่อนของรัชกาลที่ ๕ จะทาสเพราะความถูกต้อง เพื่อสิทธิมนุษยชน ใช้เวลาในการเลิกทาสมาก เพราะมีปณิธานที่มุ่งมั่น  หลวงพ่อปัญญาเป็นแม่ทัพธรรมต่อต้านความไม่ถูกต้อง ต่อต้านไสยศาสตร์ หลวงพ่อปัญญานันทะถือธงนำหน้า เป็นธงแห่งธรรมะ มีผลกระทบต่อพระสงฆ์ในปัจจุบัน  หลวงพ่อปัญญาถวายจิตวิญญาณไว้ในพระพุทธศาสนา อธิษฐานถวายชีวิตไว้กับพระพุทธศาสนา ถวายกายใจไว้ในพระพุทธศาสนา อธิษฐานและประกาศให้คนอื่นทราบ เหมือนรัชกาลที่ ๕ จะเสด็จประพาสยุโรป กลัวว่าจะไปเปลี่ยนศาสนา พระองค์ทรงประกาศในพระบรมมหาราชวังต่อหน้าพระบรมวงศานุวงต่อหน้าพระสงฆ์ ว่า  " ไปยุโรปครั้งนี้เพื่อประโยชน์ของบ้านเมือง จะไม่นับถือศาสนาอื่น นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ " มีความมั่นคงในพระรัตนตรัย  เป็นเรื่องที่หนึ่งที่หลวงปัญญาได้กระทำ โดยมีกัลยาณมิตรร่วมเดินทางคือ " พุทธทาส หมายถึง ทาสของพระพุทธเจ้า "  บุคคลที่จะทำการใหญ่จึงต้องมีกัลยาณมิตรมีแนวร่วม  นโปเลียนมหาราช กล่าวว่า การจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ต้องมี ๒ สิ่ง คือ ๑) มีศัตรูที่กล้าแข็งที่สุด ๒) มีมิตรที่ซื่อสัตย์ที่สุด   หลวงพ่อปัญญาต่อสู้กับความโง่อวิชชาของผู้คน โดยอาศัยกัลยาณมิตรมาช่วย  มาอยู่วัดชลประทานก็สร้างธรรมทายาท เพื่อสนองงานเผยแผ่ สร้างแนวร่วมมากมาย สนับสนุนกิจการของมหาจุฬาเพื่อ "ต่อสู้กับความโง่ด้วยการให้การศึกษาของพระสงฆ์สามเณร" และแก่ชาวพุทธทั่วโลก  
           ๒) ประกาศคำสอนแท้ของพระพุทธศาสนา  มีคำสอนแท้และคำสอนไม่แท้ เหมือนผลไม้มีเปลือก  คำสอนไม่แท้เหมือนเปลือกของผลไม้ เช่น พิธีกรรมต่างๆ คนชอบติดเปลือกผลไม้จึงไม่ได้ประโยชน์สาระของพระธรรม หลวงพ่อปัญญาปอกเปลือกเพื่อนำเนื้อในของผลไม้ คือ แก่นแท้ของพระศาสนา  
           ๓) มีความกล้า   การจะปอกเปลืองต้องเป็นบุคคลที่กล้าพูดความจริง ทุกกาลเทศะ พูดความจริงความถูกต้องดีงาม  กล้าพูดในความจริงซึ่งเป็นแก่นคำสอนทางพระพุทธศาสนา ท่านต่อสู้กัยไสยศาสตร์
           ๔) ต่อสู้กับสิ่งเหลวไหลในพระพุทธศาสนา และนำความเข้าใจมาถึงชาวพุทธ  โดยยึดพระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธเจ้าทำลายสิ่งเหลวไหลของคนที่มีความเชื่อผิดๆ บางทีปฏิวัติบางทีปฏิรูป ปฏิวัติเรื่องความเชื่อว่าพระพรหมสร้างโลก เชื่ออำนาจงมงาย  เชื่อว่าทำบาปมามากมาย ถ้าอยากบริสุทธิ์ก็ลงไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา เป็นการล้างบาป พระพุทธเจ้าตรัสว่าไม่ใช่ แบบนี้ปลาเต่าก็ขึ้นสวรค์หมด พระพุทธเจ้าเสนอให้ล้างที่ใจ ในโอวาท คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง  การทำดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใส  พระพุทธเจ้าจรัสว่า " ความบริสุทธิ์และความเศร้าหมองเป็นของเฉพาะตน  คนอื่นไม่สามารถทำให้เราบริสุทธิ์หรือเศร้าหมอง "  ส่วนปฏิรูป พรหมสี่หน้าก็สนองเรื่องพรหมวิหารธรรม  หลวงพ่อปัญญาเดินตามรอยพระพุทธเจ้า  พิธีกรรมรักษาไว้แต่ใส่เนื้อหาสาระไว้ เหมือน การสวดศพแต่มีการเทศน์เข้าไปให้ปัญญาด้วย หลวงพ่อปัญญาวางระบบไว้เป็นอย่างดี หลวงพ่อปัญญานันทะรับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดชลเพราะอยากทำงาน เพราะเป็นวัดที่สร้างใหม่ง่ายต่อการปฏิรูป มีการวางระบบใหม่ ยึดหลักเป็นระเบียบ เรียบง่าย ประหยัด ประโยชน์ ตามพระธรรมวินัย  เจ้าอาวาสรุ่นต่อมาต้องรักษาปณิธานไว้
            ๕) ขอเพียงมีปัจจัย ๔ เลี้ยงชีพ สอดรับกับเศรษฐกิจพอเพียง พอเพียงมาจากคำว่า จำเป็น  บริโภคตามความจำเป็น แต่บางคนบริโถคอาหารด้วยความพอใจ มีคุณค่าแท้คือ มีกำลังกายในการปฏิบัติธรรม แต่อร่อย สีสัน แสดงฐานะทางสังคม เป็นคุณค่าเทียม เหมือนรถเก่าๆ เขียนข้อความว่า"  ดีกว่าเดิน   "  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเน้นความจำเป็น  เหมือนนักศึกษามีกระเป๋าราคาแพง มีความจำเป็นขนาดไหน  เป้าหมายเป็นตัวกำหนด หลวงพ่อปัญญาบอกว่า ขอเพียงมีปัจจัย ๔ ในการเลี้ยงกายเพื่อทำงานพระพุทธศาสนา  ปณิธานต้องพอเหมาะกับเป้าหมาย  บางคนเป้าหมายสูง จึงต้องมีปณิธานสูง  พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า " จงสันโดษในการบริโภคปัจจัย ๔ แต่อย่าสันโดษในความดี "  รักษาศีล ๕ ได้ก็รักษาศีล ๘ เลื่อนขั้นความดี พระพุทธเจ้าตรัสรู้เพราะคุณสมบัติ ๒  ประการ คือ ๑) ไม่สันโดษในการทำความดี ๒) ไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญเพียร   หลวงพ่อปัญญานันทะมีครบทั้ง ๒ ข้อ ไม่เคยสันโดษในการทำความดี และไม่ท้อถอยถึงจะเจออุปสรรค
          ๖) ประพฤติตามหลักธรรม   ใครที่มีอุดมการณ์เดียวกันท่านถือว่าเป็นแนวร่วม  ท่านออกไปเทศน์ไปสอนด้วยการผูกมิตร เป็นการให้ธรรมทาน  ปัจจัยที่ได้จากนิตยภัตถวายมูลนิธิมหาจุฬาเพื่อการศึกษา  จับมือสร้างพระธรรมทายาท " ท่านเผยแผ่เองด้วย และจัดการให้คนอื่นเผยแผ่ด้วย " ทำให้หลวงพ่อปัญญาเป็นแม่ทัพนำในการด้านการเผยแผ่ สร้างกัลยาณมิตรให้พระหนุ่มเณรน้อยเดินตาม ประโยคคำพูดหนึ่งที่เป็นแรงบันดาลใจ คือ " คนสร้างงาน  งานสร้างคน " หลวงพ่อปัญญาท่านเล่าเรื่องความกล้า กล้าด้วยการใช้ปัญญา ซึ่งคนกล้ากับคนบ้าบิ่นมีความแตกต่างกัน คนบ้าบิ่นขาดปัญญา แต่คนกล้ามีปัญญา เหมือนหลวงพ่อปัญญาเป็นพระสงฆ์ที่กล้า
          สุดท้ายหลวงพ่อปัญญานันทะเป็นแม่ทัพธรรมมิใช่ออกส่งคนอื่นออกหน้าอย่างเดียว ท่านทำเองเป็นแบบอย่าง  สอนได้ครบ ๔ ส. นักพูด นักเทศน์ นักเผยแผ่ที่ดี ต้องทำได้ ๔ ประการ เหมือนพระพุทธเจ้าเทศน์ คือ ๑) สันทัสสนา  สอนได้แจ่มแจ้ง  ๒) สมาทปนา สอนได้จูงใจ ๓) สมุตเตชนา  สอนให้แกล้วกล้า  ๔) สัมปหังสนา  สอนได้น่าเริงบันเทิงธรรมไม่น่าเบื่อ  ๔ ข้อนี้มีในหลวงพ่อปัญญานันทะ  เหมือนคนจะขึ้นบ้านใหม่มาถามหลวงพ่อ หลวงพ่อบอกว่า ถ้าบ้านมีบันไดขึ้นได้เลย หรือ การเจิมรถ หลวงพ่อบอกว่าเจิมคนขับดีกว่าต้องมีสติอย่าประมาทจะปลอดภัย  พระพุทธเจ้าตรัส " ประโยชน์เป็นฤกษ์ยามในตัวดวงดาวจะทำอะไรได้ "เราศรัทธาในท่านหลวงพ่อปัญญานันทะ เพราะ"สอนให้รู้ ทำให้ดู  อยู่ให้เห็น  เย็นให้สัมผัส" สอนอย่างไรทำอย่างนั้น  วัดชลประทานเป็นต้นแบบในการเทศน์หรือปาฐกถาในงานศพ วัดอื่นก็เลียนแบบ วัดชลประทานสร้างพระธรรมทายาท วัดประยุรวงศาวาสก็สร้างพระนักเทศน์  หลวงพ่อปัญญานันทะเป็นพระสงฆ์รูปแรกในการยืนปาฐกถา ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการสอน จนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน หลวงพ่อปัญญานันทะมีการสอนที่ทันสมัยมีสื่อการสอน โดยใช้สิ่งรอบข้างเป็นสื่อการสอน  ดังนั้น วัดชลประทานเป็นวัดที่หลวงพ่อปัญญาจุดเทียนส่องธรรมให้เราทุกคนเดินตาม  ปณิธานของหลวงพ่อยังคงอยู่ด้วยพวกเราเหล่าศิษย์มีการการปฏิบัติบูชาครูอาจารย์ เป็นการบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องสรรเสริญ  
 

สาราณียธรรม
พระอาจารย์ปราโมทย์    วาทโกวิโท
นิสิตปริญญาเอก   สาขาสันติศึกษา
ณ  วัดชลประทานรังสฤษดิ์
๔    พฤศจิกายน    ๒๕๖๐

 


นำเสนอข่าว : พระมหาผล วิเชฏฺฐสมโณ
ข้อมูลข่าว : PYMLNECMTR
ภาพ : Pramote
วีดิทัศน์ : MCU TV CHANNEL








































คณะสงฆ์ | มจร | วัดประยูรฯ | รางวัล | พระพรหมบัณฑิต
>>>พระพรหมบัณฑิต เข้ารับถวายรางวัล"เสาอโศกผู้นำศีลธรรม"
>>>พระพรหมบัณฑิต เข้ารับถวายกิตติคุณสัมพันธ์"สังข์เงิน"

ข้อมูลอื่นๆ
>>>งาน"วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ๑๘๙ ปี"
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน"สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ"ปี ๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน"วันปีใหม่ วันเถลิงศก"วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘
>>>WaterFestival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำ วัดประยูร ฯ ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด"ประยูรฯวัดรั้วเหล็ก"๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ งานฉลองรางวัลยูเนสโก ๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์มีแกนกลางแบบอยุธยาได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน"วัดประยูรฯ ชนะเลิศอนุรักษ์
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศจากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (280 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (280 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (280 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (280 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (280 kb)

เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 | อ่าน 2931
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
ข่าวเด่น อื่นๆ
พระพรหมบัณฑิต แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถ เรื่อง 'ปฏิสังเวทิตากถา' ว่าด้วยความเข้าใจแจ่มแจ้ง ในวันแห่งเทศกาลประเพณีวันลอยกระทง (วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) ณ พระอุโบสถ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กทม.
การแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถในวันธรรมสวนะ (วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) วันแห่งเทศกาลประเพณีวันลอยกระทง ณ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน31)
27/11/2566
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานเปิด และบรรยาย เรื่อง 'การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคเปลี่ยนผ่านของสังคมดิจิทัล Digital Disruption' ณ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ''การพัฒนาทักษะดิจิทัลเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่วิถีใหม่และวิถีถัดไป'' รุ่นที่ ๑ ปี ๒๕๖๖ ณ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน35)
25/11/2566
พระพรหมบัณฑิต ต้อนรับคณะนักท่องเที่ยวชาวสิงค์โปร์ ในโอกาสที่ได้มาเยี่ยมชมวัดประยุรวงศาวาส
คณะนักท่องเที่ยวชาวสิงค์โปร์ เยี่ยมชมวัดประยุรวงศาวาส และรับฟังการบรรยายข้อมูลสถานที่เยี่ยมชมภายในวัดประยุรวงศาวาส (เปิดอ่าน97)
20/11/2566
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดประยุรวงศาวาส ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖
การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรม สำนักเรียนวัดประยุรวงศาวาส ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ (เปิดอ่าน129)
16/11/2566
พระพรหมบัณฑิต เป็นวิทยากรบรรยายในการเข้าชมพิพิธภัณฑ์พระประยูรภัณฑาคาร และพระบรมธาตุมหาเจดีย์ แก่พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก และข้าราชการระดับสูง กองทัพบก
พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานนำถวายพระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ประจำปี ๒๕๖๖ (เปิดอ่าน123)
16/11/2566
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้กองทัพบก นำถวายวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ปี ๒๕๖๖
พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ พลเอก เจริญชัย หินเธาว์ ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานนำถวายพระสงฆ์จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ประจำปี ๒๕๖๖ (เปิดอ่าน140)
16/11/2566
พระพรหมบัณฑิต ต้อนรับพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะได้เข้าปรึกษาหารือข้อคิดแนวทาง ในการใช้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เสริมส่งให้พระสงฆ์ได้นำไปเผยแผ่แก่ผู้ถูกคุมประพฤติ
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะนมัสการพระพรหมบัณฑิต คณะสงฆ์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ณ หอประชุมสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ อาคารสิริภักดีธรรม วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน144)
15/11/2566
พระพรหมบัณฑิต ปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง 'ความเห็นอกเห็นใจ เพื่อเยียวยามนุษยชาติและโลกที่บอบช้ำ' : 'Karuna for Healing a Wounded Humanity and the Earth' ในการเสวนาเชิงวิชาการ ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์
การเสวนาเชิงวิชาการ ศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ ครั้งที่ ๗ ภายใต้หัวข้อ 'ความเห็นอกเห็นใจ และความรักอย่างไม่เห็นแก่ตัวในการเสวนาเพื่อเยียวยามนุษยชาติและโลกที่บอบช้ำ' (Karuna and Agape in dialogue for Healing a Wounded Humanity and the Earth) (เปิดอ่าน162)
14/11/2566
พระพรหมบัณฑิต แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถ เรื่อง 'นิสสรณกถา' ว่าด้วยทางออกจากปัญหา ในวันธรรมสวนะ (วันพระแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑) กัณฑ์ที่ ๓๕ ประจำปี ๒๕๖๖
การแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถในวันธรรมสวนะ วันพระแรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ณ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน183)
12/11/2566
พระพรหมบัณฑิต ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง 'Buddhism, Maritime Silk Road' ในการประชุมเชิงวิชาการ (The Fifth Maritime Silk Road Buddhism Forum) ณ เมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน
การประชุมเชิงวิชาการ (The Fifth Maritime Silk Road Buddhism Forum) ปี ๒๕๖๖/2023 ณ มหาวิทยาลัยสงฆ์ฟูเจี้ยน เมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน (เปิดอ่าน168)
9/11/2566
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 72 คน
วันนี้ 89 คน
เมื่อวานนี้ 1,197 คน
เดือนนี้ 29,756 คน
เดือนที่ผ่านมา 27,791 คน
ทั้งหมด 2,452,157 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2023 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob