แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
ขอเชิญเที่ยวงาน
ข่าวเด่น
 

มหาเถรสมาคมเห็นชอบบทพระธรรมเทศนาเรื่องพหุปการกถาที่พระพรหมบัณฑิตเป็นผู้แต่งและมีมติให้วัดทั่วประเทศใช้จัดแสดงพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะ


วัดประยุรวงศาวาส|กิจกรรมงานวัด'๖๓
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>พิธีเปิดงานสมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศแด่อดีตเจ้าอาวาส บุรพาจารย์
>>>การเสวนา 'ชุมชนทันสมัย จิตใจพัฒนา' สมโภช ๑๙๒ ปี
>>>ขอเชิญร่วมกิจกรรมงาน'วันมาฆบูชา'วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญทำบุญ'โครงการเข้าวัดยามเป็นเดือนกุมภาพันธ์'๖๓'
>>>พิธีเวียนเทียนและฟังเทศน์ ๒ ธรรมาสน์ "วันมาฆบูชา"ปี ๖๓
>>>สอบบาลีสนามหลวง ป.ธ.๓ ปี ๒๕๖๓ วัดประยูรฯ วันแรก
>>>สอบบาลีสนามหลวง ป.ธ.๓ ปี ๒๕๖๓ วัดประยูรฯ วันที่ ๒
>>>สอบบาลีสนามหลวง ป.ธ.๓ ปี ๒๕๖๓ วัดประยูรฯ วันที่ ๓
>>>ชาตกาลครบ ๑๐๘ ปี พระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจนมหาเถร)
>>>ชาตกาลครบ ๑๐๙ ปี พระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจนมหาเถร)
>>>การเขียนภาพจิตรกรรมฝาฝนังพระวิหารหลวงพ่อพระพุทธนาค
>>>จัดเตรียมสิ่งของช่วยเหลือชาวบ้าน จากการแพร่ไวรัส COVID-19
>>>มอบสิ่งของช่วยเหลือชาวบ้าน จากการแพร่ไวรัส COVID-19
>>>ทำวัตรสวดมนต์เช้า-เย็น ร่วมกันสวดพระพุทธมนต์บทรัตนสูตร
>>>รวมธรรม คำกวี พระเทพปฏิภาณกวี วัดประยูรฯ
>>>ส่องกล้องมองผ่านเลนส์ถึงการเรียนการศึกษาภาษาบาลี วัดประยูรฯ
>>>อุโมงค์พ่นน้ำยาป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19)
>>>ต้อนรับข้าราชการกระทรวงวัฒนธรรมที่มามอบให้แก่ผู้ประสบ (COVID-19)
>>>คณะสงฆ์วัดประยูรฯ อนุโมทนาบุญแก่แม่ชีทองสุข นามเจ็ดสี
>>>คณะสงฆ์วัดประยูรฯ อนุโมทนาบุญแก่บริษัท GULF
>>>คณะสงฆ์วัดประยูรฯ อนุโมทนาบุญแก่ ดร.สนธยา กล่อมเปลี่ยน
>>>กิจกรรมวันวิสาขบูชา วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๓
>>>ต้อนรับคณะสถาบันวะสะฏียะฮ์ เพื่อสันติภาพและการพัฒนา
>>>การถวายรายงานการดำเนินการก่อสร้างโครงการพระปกเกล้าสกายปาร์ค
>>>โรงพยาบาลสงฆ์ถวายเครื่องวัดความดันแก่พระสงฆ์วัดประยูรฯ
>>>คณะสงฆ์วัดประยูรฯ ขออนุโมทนาบุญแก่คุณนพเดช คุณปูรณี กรรณสูต
>>>อุโมงค์พ่นน้ำยาป้องกันไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่วัดประยูรฯ
>>>พิธีเปิด 'สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา'
>>>พิธีอธิษฐานเข้าพรรษา พระสงฆ์วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>พิธีทำสามีจิกรรมพระพรหมบัณฑิต กรรมการ มส (วันที่ ๑)
>>>พิธีทำสามีจิกรรมพระพรหมบัณฑิต กรรมการ มส (วันที่ ๒)
>>>พิธีทำสามีจิกรรมพระพรหมบัณฑิต กรรมการ มส (วันที่ ๓)
>>>พิธีเปิดงานบวร On Tour ย่านกะดีจีน ชุมชนประวัติศาสตร์
>>>พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๓
>>>พิธีฉลองตราตั้งเจ้าคณะเขตภาษีเจริญ
>>>พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
>>>งานบำเพ็ญกุศล 'อายุวัฒนมงคล ๖๕ ปี พระพรหมบัณฑิต'
>>>วัดประยูรฯ จัดพิธีทำบุญเทศกาลเดือนสิบ ปี ๒๕๖๓
>>>สำนักเรียนวัดประยูรฯ เป็นสนามสอบนักธรรมชั้นตรี ปี ๒๕๖๓
>>>สอบนักธรรมชั้นตรี สนามสอบวัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญพุทธศาสนิกชนร่วมทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>วันมหาปวารณาออกพรรษา 'กิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีฯ' วัดประยูรฯ ปี'๖๓
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลตักบาตรเทโวโรหณะ วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญร่วมทำบุญกฐินพระราชทานวัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๓
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลตักบาตรเทโวโรหณะ วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญร่วมพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย
>>>พิธีสมโภชองค์กฐินพระราชทานบริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นเเนล จำกัด
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทงประทีปเทียนหอม วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๓

[ไตรมาสที่ ๔] วัดประยูรฯ|เปิดงาน'๖๓|ธรรมบรรยาย'๖๓|ปาฐกถา'๖๓|พระพรหมบัณฑิต
>>>[สาราณียธรรมกถา] 'กิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีในช่วงสถานการณ์ โควิด-๑๙'
>>>[ประธาน] ในพิธีบำเพ็ญกุศลตักบาตรเทโวโรหณะ วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>[บรรยาย] 'กิจการพระพุทธศาสนาในยุควิถีใหม่'
>>>[สัมโมทนียกถา] 'นโยบายเพื่อการสืบสาน รักษา ต่อยอด ด้วยหลักธรรมภิบาล'
>>>[ประธาน] ในพิธีทอดผ้าป่าสมทบทุนโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย
>>>[ประธาน] พิธีสมโภชองค์กฐินพระราชทานบริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นเเนล จำกัด
>>>[บรรยาย] 'พระพุทธศาสนากับสันติภาพ'
>>>[สัมโมทนียกถา] 'ฉลองอย่างไรให้มีความสุขตลอดไป'
>>>[บรรยาย] 'คุณธรรมกับการดำเนินชีวิต'
>>>[ธรรมกถา] 'ธรรมปฏิสันถาร เล่าขานวัดประยูรฯ'
>>>[สัมโมทนียกถา] พิธีทำบุญเนื่องในโอกาสที่ พระมหาบุญเลิศ  อินฺทปญฺโญ
>>>[สัมปสาทนียกถา] 'ลอยกระทงกตัญญูบูชาคุณของธรรมชาติ'
>>>[ช่อง 7] บันทึกรายการตอบปัญหาธรรม
>>>[สัมโมทนียกถา] บำเพ็ญกุศลอายุวัฒนมงคล ๖๐ ปี พระเทพปวรเมธี
>>>[ธรรมกถา] 'ตามรอยธรรม' รายการมีเทศน์มีทอล์ค
>>>[บรรยาย] 'ตุลาการตามวิถีแห่งหลักศาสนา'
>>>[สัมโมทนียกถา] 'สืบสาน รักษา ต่อยอดทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย'
>>>[บรรยาย] 'หลักการและวิธีการเทศน์'
>>>[บรรยาย] 'นักเทศน์ปฏิภาณกับนักเทศน์ธรรมวิจัย'
>>>[บรรยาย] 'ปฏิภาณกับการเทศน์'
>>>[บรรยาย] 'วิธีเทศนาสาธก'
>>>[บรรยาย] 'หลักการและวิธีการเผยแผ่เชิงรุก'
>>>[บรรยาย] 'การใช้อุปมาประกอบการเทศน์'
>>>[ต้อนรับ] กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
>>>[บรรยาย] 'ยึดแนวทางพุทธเทศนา'
>>>[มติ มส] ให้วัดทั่วประเทศเทศน์'พหุปการกถา' ที่แต่งโดยพระพรหมบัณฑิต

 

กดดาวน์โหลด>>>พหุปการกถา ว่าด้วยความรู้รักสามัคคีมีอุปการะมาก [.docx]

กดดาวน์โหลด>>>พหุปการกถา ว่าด้วยความรู้รักสามัคคีมีอุปการะมาก [.pdf]

 

          วันศุกร์ที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ประธานศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก ได้นำเสนอบทพระธรรมเทศนาเรื่อง พหุปการกถา เกี่ยวกับความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ที่พระพรหมบัณฑิตเป็นผู้แต่งโดยการสนับสนุนของคณะกรรมการจากศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้ที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณา

          มหาเถรสมาคมพิจารณาแล้วให้ความเห็นชอบบทพระธรรมเทศนานี้และมีมติให้วัดทั่วประเทศใช้จัดแสดงพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะเริ่มตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายนเป็นต้นไป

          ในวันพระวันพรุ่งนี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร จะทำการถ่ายทอดสดการแสดงพระธรรมเทศนา ณ อาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผ่านทาง (https://www.facebook.com/Watprayoon) รวมถึงส่วนงานราชการต่างๆ จะร่วมกันถ่ายทอดสดผ่านสื่อต่างๆ ขอเชิญสาธุชนเข้าร่วมงาน และได้ติดตามชมได้จากสื่อตามวันและเวลาดังกล่าว

 

 


 

พหุปการกถา
ว่าด้วยความรู้รักสามัคคีมีอุปการะมาก


พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กรรมการมหาเถรสมาคม
และคณะจากศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
แต่งตามมติมหาเถรสมาคมที่ ๕๗๙/๒๕๖๓
มหาเถรสมาคมมีมติเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
ให้วัดทั่วประเทศใช้จัดแสดงพระธรรมเทศนา

 

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ
สาคารา  อนาคารา จ       อุโภ อญฺโญญฺญนิสฺสิตา
อาราธยนฺติ สทฺธมฺมํ         โยคกฺเขมํ อนุตฺตรนฺติ

          ณ บัดนี้อาตมภาพจักรับประทานแสดงพระธรรมเทศนาในพหุปการกถา ว่าด้วยความรู้รักสามัคคีมีอุปการะมาก เพื่อเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับปัญญาบารมีอนุโมทนากุศลบุญราศีส่วนธัมมัสสวนมัยคือบุญที่ได้จากการฟังธรรมซึ่งท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้พร้อมใจกันบำเพ็ญให้เป็นไปในวันนี้

          การฟังพระธรรมเทศนาตามกาลเวลาอันเหมาะสมจัดว่าเป็นมงคลคือเหตุแห่งความเจริญในชีวิต ดังพุทธภาษิตที่ว่า “กาเลน ธมฺมสฺสวนํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ” แปลความว่า “การฟังธรรมตามกาลเป็นมงคลอันสูงสุด” ทั้งนี้เพราะการฟังธรรมช่วยให้ผู้ฟังได้อานิสงส์ ๕ ประการ ดังที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงพรรณนาไว้ว่า “อสฺสุตํ สุณาติ” เป็นต้น แปลความว่า “๑. ได้ฟังเรื่องใหม่ ๒. ได้วิจัยเรื่องเก่า ๓.ได้บรรเทาข้อกังขา ๔. ได้พัฒนาความคิด ๕. ได้ทำจิตให้ผ่องใส” อานิสงส์การฟังธรรมเหล่านี้บังเกิด มีขึ้นเพราะเหตุที่การแสดงพระธรรมเทศนาประกอบด้วยวาจาสุภาษิตที่นับว่าเป็นมงคลอันสูงสุดสมดังพุทธพจน์ที่ว่า “สุภาสิตา จ ยา วาจา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ” แปลความว่า “วาจาสุภาษิตเป็นมงคลอันสูงสุด”

          โอกาสนี้เป็นเวลาอันควรที่สาธุชนชาวไทยทั้งหลายจะได้ใส่ใจระลึกถึงวาจาสุภาษิตในพระบรมราโชวาทเรื่องความรู้รักสามัคคีที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรรัชกาลที่ ๙ พระราชทานไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๔ ว่า “ประเทศของเรารักษาเอกราชอธิปไตยและอิสรภาพให้สมบูรณ์มั่นคงมาได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะคนไทยทุกหมู่เหล่ารู้รักความสามัคคีและรู้จักทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ประสานส่งเสริมกัน” พระบรมราโชวาทนี้แสดงให้เห็นว่าความรู้รักสามัคคีเป็นคุณธรรมสำคัญที่มีอุปการะมากเพราะช่วยให้ประเทศไทยรักษาเอกราชอธิปไตยและอิสรภาพมาได้จนถึงปัจจุบัน        

          ความรู้รักสามัคคีนี้จำแนกออกเป็นคุณธรรมย่อยสามประการคือความรู้ ความรัก และความสามัคคี คุณธรรมประการแรก คือ ความรู้ หมายถึงความกตัญญูรู้อุปการคุณที่คนไทยทุกหมู่เหล่าได้รับจากประเทศไทย คุณธรรมประการที่สอง คือ ความรัก หมายถึงความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการแสดงออกซึ่งความกตเวทีคือประกาศความรักให้ปรากฏด้วยการทำปฏิการะตอบแทนคุณของสถาบันทั้งสามด้วยวิธีการต่างๆ คุณธรรมประการที่สาม คือ ความสามัคคี หมายถึง การแสดงออกอย่างพร้อมเพรียงกันในการปฏิบัติหน้าที่ถนอมรักษาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

          คำว่า สถาบันชาติ หมายรวมทั้งคนไทยและแผ่นดินไทยสถาบันศาสนาหมายถึงพระพุทธศาสนาและศาสนธรรมอื่นใดที่สร้างลักษณะนิสัยที่ดีงามให้กับคนไทยสถาบันพระมหากษัตริย์หมายถึงพระประมุขของประเทศไทยตามนัยแห่งพระบาลีที่ว่า “ราชา มุขํ มนุสฺสานํ พระราชาเป็นประมุขของปวงชน” การนิยามความหมายของสถาบันทั้งสามนี้สอดคล้องกับการที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ผู้ทรงออกแบบธงชาติไทยที่เรียกว่าธงไตรรงค์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๐ ได้ทรงพระราชนิพนธ์อธิบายความหมายแห่งธงไตรรงค์ที่ประกอบด้วยสามสี คือ แดง ขาว น้ำเงิน ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ดังต่อไปนี้

     “ขอพร่ำรำพรรณบรรยาย  ความคิดเครื่องหมาย แห่งสีทั้งสามงามถนัด
      ขาวคือบริสุทธิ์ศรีสวัสดิ์   หมายพระไตรรัตน์     และธรรมะคุ้มจิตไทย
      แดงคือโลหิตเราไซร้      ซึ่งยอมสละได้         เพื่อรักษะชาติศาสนา
      น้ำเงินคือสีโสภา           อันจอมประชา          ธ โปรดเป็นของส่วนองค์
      จัดริ้วเข้าเป็นไตรรงค์      จึ่งเป็นสีธง              ที่รักแห่งเราชาวไทย”

          สถาบันทั้งสามคือชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เปรียบเหมือนเสาหลักสามเส้าที่ช่วยค้ำยันประเทศไทยให้ดำรงคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นเสาหลักสามเส้านี้ยังทำหน้าที่พยุงค้ำยันซึ่งกันและกันเพื่อให้แต่ละสถาบันสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงเช่นเดียวกับธงไตรรงค์ซึ่งประกอบด้วยแผ่นผ้าสามสีเย็บติดเป็นผืนเดียวกันอย่างชนิดที่ไม่มีวันแยกขาดจากกันการประสานสามัคคีของสถาบันทั้งสามนี้ ยังมีอยู่ตราบใดความมั่นคงและพัฒนาสถาพรของประเทศไทยก็ดำรงอยู่ได้ตราบนั้นทั้งนี้เพราะความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทั้งสามเป็น “อญฺโญญฺญนิสฺสิตา”คือต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกันและกันตามหลักปฏิจจสมุปบาทที่ว่า สิ่งทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ดังพระบาลีนิกเขปบทที่ยกไว้ ณ เบื้องต้นว่า “สาคารา อนาคารา จ อุโภ อญฺโญญฺญนิสฺสิตา” เป็นต้น แปลความว่า “คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่ายต่างอาศัยกันและกันจึงทำให้พระสัทธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยมสำเร็จได้”

          ตามนัยแห่งพระบาลีนี้คฤหัสถ์และบรรพชิตต่างฝ่ายต่างพึ่งพาอาศัยกัน กล่าวคือคฤหัสถ์อุปถัมภ์บำรุงบรรพชิตด้วยอามิสทานคือการบริจาคจตุปัจจัยไทยธรรมบำรุงพระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันฝ่ายบรรพชิตก็ทำปฏิการะตอบแทนฝ่ายคฤหัสถ์ด้วยธรรมทานคือเทศนาสั่งสอนธรรมคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่ายเมื่อได้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างนี้ย่อมสามารถปฏิบัติหน้าที่ของชาวพุทธ ๔ ประการที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในมหาปรินิพพานสูตร ได้แก่ ๑) พหูสูตคือศึกษาธรรมจนแตกฉาน ๒) อนุธัมมจารี ปฏิบัติธรรมตามที่ได้ศึกษานั้น ๓) ธัมมเทศนา แสดงธรรมและเผยแผ่ธรรม ๔) ปรัปปวาทนิคคหะ อุปถัมภ์และปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา

          โดยนัยนี้พุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์อันประกอบด้วยพระมหากษัตริย์และประชาชนทั่วไปให้การอุปถัมภ์บำรุงแก่ฝ่ายบรรพชิตเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้งสี่ประการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ฝ่ายบรรพชิตก็ทำปฏิการะตอบแทนฝ่ายคฤหัสถ์ด้วยการสั่งสอนธรรมแก่ประชาชนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรมทางศาสนา และถวายพระธรรมเทศนาแด่พระมหากษัตริย์เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการครองแผ่นดินโดยธรรมตามนัยแห่งพระบาลีในอัคคัญญสูตรที่ว่า “ธมฺเมน ปเร รญฺเชตีติ ราชา” แปลความว่า “พระราชาคือผู้ที่ทำให้ประชาชนยินดีพอใจโดยธรรม” ธรรมที่พระราชาทรงถือปฏิบัติเพื่อสร้างความยินดีพอใจแก่ประชาชนเรียกว่าทศพิธราชธรรม มี ๑๐ ประการ ประกอบด้วยทาน ศีล บริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน เป็นต้น

          บทกลอนต่อไปนี้ สรุปความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพุทธบริษัททั้งฝ่ายคฤหัสถ์และบรรพชิตได้เป็นอย่างดี ดังนี้

          “วัดจะดี   มีหลักฐาน   เพราะบ้านช่วย
            บ้านจะสวย   เพราะมีวัด   ดัดนิสัย
            บ้านกับวัด   ผลัดกันช่วย   ยิ่งอวยชัย
            ถ้าขัดกัน   ก็บรรลัย   ทั้งสองทาง”

          ความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างคฤหัสถ์และบรรพชิตดังพรรณนามานี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดความรู้รักสามัคคีที่ทำให้ประเทศไทยสามารถรักษาเอกราชอธิปไตย และอิสรภาพมาได้จนถึงปัจจุบันความสำคัญของความรู้รักสามัคคีเช่นว่านี้ปรากฏชัดอยู่ในบทปาฐกถาเรื่อง “ลักษณะการปกครองประเทศไทยแต่โบราณ” ที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพพระบิดาแห่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีไทยได้แสดงไว้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐ ความตอนหนึ่งว่า “ชนชาติไทยมีคุณธรรมสามอย่างเป็นสำคัญ จึงสามารถปกครองประเทศไทยมาได้ คือ ความจงรักอิสระของชาติอย่างหนึ่ง ความปราศจากวิหิงสา อย่างหนึ่งความฉลาดในการประสานประโยชน์ อย่างหนึ่ง”

          ในบรรดาคุณธรรมทั้งสามประการนั้น คุณธรรมประการแรกคือความรักอิสรภาพของชาตินับว่าสำคัญที่สุดในการปกป้องรักษาเอกราชอธิปไตยและอิสรภาพของชาติ ความรักอิสรภาพนี้เป็นไปตามนัยแห่งพุทธภาษิตที่ว่า “วโส อิสฺสริยํโลเก อำนาจเป็นใหญ่ในโลก” บรรพบุรุษของไทยแต่โบราณปกป้องรักษาความเป็นไทคือการมีอำนาจเป็นใหญ่ในการปกครองตนเองด้วยความเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิต ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามนัยแห่งพระบาลีที่ว่า “จเช ธนํ องฺควรสฺสเหตุ” เป็นต้น แปลความว่า “บุคคลควรสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะควรสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ควรสละทั้งทรัพย์อวัยวะและชีวิตเมื่อระลึกถึงธรรม” ตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้คือการที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงนำประชาชนชาวไทยลุกขึ้นกอบกู้อิสรภาพของแผ่นดินอีกตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญเช่นกันคือการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงนำพาประเทศชาติให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของประเทศนักล่าอาณานิคม

          คุณธรรมประการที่สอง คือความปราศจากวิหิงสาหมายถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดยไม่มีการเบียดเบียนกันคนต่างชาติต่างศาสนาที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารล้วนได้รับการต้อนรับจากคนไทยด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดีสมดังพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖  ที่ว่า ”เป็นธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ” ความปราศจากการเบียดเบียนนี้ถือเป็นการปฏิบัติตามนัยแห่งพุทธภาษิตที่ว่า “อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก การไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก” ดังจะเห็นได้ว่า คนไทยนิยมกล่าวคำว่า ”ไม่เป็นไร” จนติดปากอันแสดงถึงความมีน้ำใจรู้จักให้อภัยกันซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างความสามัคคีปรองดองในสังคม สมด้วยบทกลอนที่ว่า

          “ถ้าไม่มีการให้อภัยผิด
           และไม่คิดที่จะลืมซึ่งความหลัง
           จะหาสามัคคียากลำบากจัง
           ความผิดพลั้งย่อมมีทั่วทุกตัวคน”

          คุณธรรมประการที่สาม คือ ความฉลาดในการประสานประโยชน์หมายถึงการเปิดโอกาสให้คนทุกหมู่เหล่าเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชาติไทย โดยไม่มีการกีดกันเพราะเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนาภาษา เป็นต้น ความฉลาดในการประสานประโยชน์นี้ทำให้เกิดการประนีประนอมในบ้านเมือง ดังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “เพ่งดูประโยชน์หมู่มาก  ตัวยอมลำบากทุกสิ่งสรรพ์ ประนีประนอมพร้อมกันทุกวันมุ่งรักษ์สามัคคี” ด้วยเหตุนี้ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้ารัชกาลปัจจุบัน ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐจึงทรงมีพระราชดำรัสตอบผู้สื่อข่าวต่างประเทศว่า“ประเทศไทยเป็นดินแดนแห่งการประนีประนอม” การประนีประนอมช่วยสร้างความสามัคคีของคนในชาติและความสามัคคีนั้นย่อมนำความสุขและความเจริญมาให้ ดังพุทธภาษิตที่ว่า “สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะนำสุขมาให้”

          คุณธรรมสำคัญที่เสริมสร้างความรู้รักสามัคคีของคนไทยดังพรรณนามายังคงได้รับการรักษาสืบทอดต่อมาจนถึงทุกวันนี้ดังที่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลปัจจุบันผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐทรงมีพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อพุทธศักราช ๒๕๖๒ ว่า "เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป" พร้อมกับทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้อาณาประชาราษฎรตามที่ทรงประกาศไว้ในพระปฐมบรมราชโองการดังปรากฏเป็นที่ประจักษ์ว่า พระองค์ทรงสืบสานรักษาและต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและแนวพระราชดำริต่าง ๆ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป

          เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดมรดกธรรมทางพระพุทธศาสนาสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลปัจจุบันผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงมีพระราชดำรัสประกาศพระองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภกว่า “ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญแต่เดิมมาข้าพเจ้าได้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสและถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะด้วยวิธีนั้นๆ อยู่แล้ว ฉะนั้น บัดนี้ ข้าพเจ้าได้เถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้วจึงขอมอบตัวแด่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสังฆเจ้า จะได้รับการจัดการให้ความคุ้มครองและรักษาพระพุทธศาสนาโดยชอบธรรมตลอดไป  ข้าแด่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงจำไว้ด้วยว่าข้าพเจ้าเป็นพุทธศาสนูปถัมภกเถิด”   ในฐานะที่ทรงเป็นพุทธมามกะสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า รัชกาลปัจจุบันผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐทรงประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการครองแผ่นดินโดยธรรม ดังกรณีที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หน่วยราชการในพระองค์ร่วมกับประชาชนทุกหมู่เหล่าทำกิจกรรมจิตอาสาจนเกิดโครงการจิตอาสาพระราชทานกิจกรรมจิตอาสานี้มีผลเป็นการระดมสรรพกำลังมาร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยน้ำใจเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทนพระบรมราโชบายนี้เป็นไปตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ประการ คือ ๑. ทาน หมายถึง การให้สิ่งของ รวมทั้งให้ธรรมทานและวิทยาทาน ๒. ปิยวาจา หมายถึง การกล่าววาจาไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี รวมถึงกล่าวคำแนะนำและปลุกปลอบใจด้วยความปรารถนาดี ๓. อัตถจริยา หมายถึง การทำตนให้เป็นประโยชน์แก่สังคมรวมทั้งการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ด้วยวิธีการต่างๆ ๔. สมานัตตตา หมายถึง การวางตนพอดีเสมอต้นเสมอปลายในการติดต่อสมาคมกับผู้อื่นทั้งในยามได้ดีมีสุขหรือในยามตกทุกข์ได้ยาก สังคหวัตถุทั้งสี่ประการนี้เป็นเสมือนกาวใจที่ประสานประชาชนชาวไทยให้มีความสมัครสมานสามัคคี

          ดังนั้นโครงการจิตอาสาพระราชทานจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรู้รักสามัคคีให้กับคนไทยทั้งปวงทั้งนี้เพราะกิจกรรมจิตอาสาช่วยให้คนไทยตระหนักรู้อุปการคุณของชาติมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา และมีความจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์นั่นคือเป็นกิจกรรมที่หล่อหลอมคนไทยให้มีความกตัญญูกตเวทีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ความกตัญญูเกิดจากความตระหนักรู้ว่าสถาบันทั้งสามมีอุปการคุณอย่างมากต่อการดำรงอยู่และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทย ความกตเวที หมายถึงการทำปฏิการะตอบแทนคุณสถาบันทั้งสามนั้นความกตัญญูกตเวทีจัดว่าเป็นภูมิธรรมคือพื้นฐานของคนดีดังพระบาลีที่ว่า “สปฺปุริสภูมิ ยทิทํ กตญฺญุตา กตเวทิตา” แปลความว่า “ความกตัญญูกตเวทีเป็นคุณธรรมพื้นฐานของคนดี”

          สถาบันชาติอันประกอบด้วยประชาชนคนไทยควรมีความกตัญญูคือตระหนักรู้อุปการคุณอันยิ่งใหญ่ของสถาบันพระพุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ในขณะเดียวกันก็แสดงออกซึ่งความกตเวทีคือปฏิบัติหน้าที่ในการถนอม
รักษาสถาบันชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์อย่างเต็มกำลังความสามารถสมดังพระบรมพุทโธวาทที่ว่า “ธมฺมญฺจเร สุจริตํ บุคคลควรปฏิบัติธรรมคือหน้าที่ให้สุจริต” ในการปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้คนไทยทุกคนควรตั้งใจปฏิบัติหน้าที่อย่างสุดความสามารถโดยไม่มีการละทิ้งหน้าที่ ไม่บกพร่องในหน้าที่ ไม่ก้าวก่ายหน้าที่และไม่ทุจริตต่อหน้าที่ตราบใดที่ประชาชนยังรู้รักสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันปฏิบัติหน้าที่ในการถนอมรักษาสถาบันชาติสถาบันพระศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ตราบนั้นความเจริญรุ่งเรืองของประเทศไทยก็คงมีอยู่ต่อไปทั้งนี้เพราะความเสื่อมและความเจริญของสถาบันชาติ ศาสนาพระมหากษัตริย์มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันเหมือนเสาหลักสามเส้าพยุงกันและกัน ฉะนั้นตามนัยแห่งพระบาลีนิกเขปบทที่ยกไว้ ณ เบื้องต้นว่า
“สาคารา อนาคารา จ อุโภ อญฺโญญฺญนิสฺสิตา” เป็นต้น แปลความว่า “คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองฝ่ายต่างอาศัยกันและกัน” ดังพรรณนามาพอสมควรแก่เวลา

          เทสนาปริโยสาเน ในอวสานเป็นที่สุดแห่งพระธรรมเทศนานี้ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและอานุภาพแห่งกุศลบุญราศีส่วนธัมมัสสวนมัย จงมารวมกันเป็นตบะ เดชะ พลวปัจจัยสัมฤทธิผลเป็นพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้ารัชกาลปัจจุบัน ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พร้อมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ ให้ทรงเจริญพระชนมสุขสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลทุกประการ พระบรมเดชานุภาพแผ่ไพศาล ทรงอภิบาลรักษาประเทศชาติ พระศาสนา และพระบรมราชจักรีวงศ์ ให้ดำรงวัฒนาสถาพร ตลอดจิรัฐิติกาล

          รับประทานแสดงพระธรรมเทศนาในพหุปการกถา พอสมควรแก่เวลา ขอยุติลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้

          เอวัง ก็มีด้วยประการะฉะนี้


วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทงประทีปเทียนหอม วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญร่วมทำบุญกฐินพระราชทานวัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๓
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลตักบาตรเทโวโรหณะ วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>ร่วมงานแถลงข่าว“River Festival 2020 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย”ครั้งที่ ๖
>>>๕ สมเด็จพระราชาคณะ ร่วมงานสมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๒ วิถีไทยต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทง วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๒
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๒
>>>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิดอาคาร "สิริภักดีธรรม"
>>>ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๑ วิถีไทยต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๒ วิถีพุทธ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๑ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๑
>>>แถลงข่าวการจัดงานสงกรานต์ประจำปี ๒๕๖๑ Water Festival 2018
>>>๓ สมเด็จพระราชาคณะ ร่วมเจริญพระพุทธมนต์งานสมโภชวัดประยูรฯ ๑๙๐ ปี
>>>เปิดงานสมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ อย่างอลังการ สืบสานวัฒนธรรมไทย
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>งาน"วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ๑๘๙ ปี"
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน"สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ"ปี ๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน"วันปีใหม่ วันเถลิงศก"วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘
>>>WaterFestival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำ วัดประยูร ฯ ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด"ประยูรฯวัดรั้วเหล็ก"๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ งานฉลองรางวัลยูเนสโก ๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์มีแกนกลางแบบอยุธยาได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน"วัดประยูรฯ ชนะเลิศอนุรักษ์
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศจากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส
>>>มส. มอบของยังชีพแก่ผู้ประสบอัคคีภัยชุมชนจอมทอง


 


ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (280 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (280 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (280 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (280 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (280 kb)

เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 | อ่าน 9111
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
ข่าวเด่น อื่นๆ
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธาน และปาฐกถา เรื่อง 'พุทธนวัตกรรมกับการสร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน' ในการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ ๖ และระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๔ ปี ๒๕๖๗ ณ มจร วิทยาเขตขอนแก่น
การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ ๖ และระดับนานาชาติ ครั้งที่ ๔ ปี ๒๕๖๗ ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น (เปิดอ่าน61)
27/3/2567
พระพรหมบัณฑิต บรรยาย เรื่อง 'เมตตาช่วยลดปัญหาความเครียด' โครงการอบรมวิปัสสนากรรมฐานพระสังฆาธิการ เจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ผู้ได้รับการแต่งตั้งใหม่ ประจำปี ๒๕๖๖-๒๕๖๗ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๒
โครงการอบรมวิปัสสนากรรมฐานพระสังฆาธิการ เจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ผู้ได้รับการแต่งตั้งใหม่ ประจำปี ๒๕๖๖-๒๕๖๗ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๒ (พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง และสระบุรี) (เปิดอ่าน111)
24/3/2567
พระพรหมบัณฑิต แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถ เรื่อง 'วิริยสมาธิกถา' ว่าด้วยสมาธิอันเกิดจากความเพียร ในวันธรรมสวนะ (วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ) เป็นพระธรรมเทศนาแสดงกัณฑ์ที่ ๐๙ ปี ๒๕๖๗
การแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถในวันธรรมสวนะ วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ณ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน130)
24/3/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นพระอุปัชฌาย์ ในโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่นที่ ๑๖ ประจำปี ๒๕๖๗ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่นที่ ๑๖ ประจำปี ๒๕๖๗ เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา (เปิดอ่าน86)
23/3/2567
คณะสงฆ์ไทย-คณะสงฆ์นานาชาติทั่วโลก จัดประชุมยิ่งใหญ่ร่วมกับรัฐบาล เตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดงาน 'วิสาขบูชาโลก 2567'
การประชุมคณะกรรมการบริหาร (ICDV) และคณะกรรมการบริหาร (IABU) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในนามรัฐบาล เตรียมความพร้อมการจัดงานวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ครั้งที่ ๑๙ ปี ๒๕๖๗ ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ (เปิดอ่าน233)
23/3/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหาร (ICDV) และคณะกรรมการบริหาร (IABU) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ในการเตรียมความพร้อมการจัดงานวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ครั้งที่ ๑๙
การประชุมคณะกรรมการบริหารสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) และคณะกรรมการบริหารสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ (เปิดอ่าน91)
23/3/2567
พระพรหมบัณฑิต บรรยาย เรื่อง 'พระอุปัชฌาย์ต้องเป็นแบบที่ดี' ในการฝึกซ้อมอบรมหรือสอบความรู้พระอุปัชฌาย์ รุ่นที่ ๕๗ ครั้งที่ ๒ ณ วัดสามพระยา
การฝึกซ้อมอบรมหรือสอบความรู้พระอุปัชฌาย์ รุ่นที่ ๕๗ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน124)
22/3/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวิชาการ โครงการ ''เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย'' ในหนเหนือ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๗
การประชุมคณะกรรมการวิชาการ โครงการ ''เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย'' ในหนเหนือ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๗ ณ สำนักงานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน92)
21/3/2567
พระพรหมบัณฑิต ตรวจติดตามการใช้งานระบบ AI เทคโนโลยี ''ห้องเรียนเสมือนจริง'' ''ห้องเรียนอัจฉริยะ'' ยกระดับการเผยแผ่
การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์ เดินหน้าตามแผนพัฒนาการเผยแผ่ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ส่งเสริมการใช้ E-learning การบริหารจัดการด้านการเผยแผ่ (เปิดอ่าน103)
19/3/2567
พระพรหมบัณฑิต บรรยาย เรื่อง 'พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ : วัฒนธรรมแห่งปัญญาและกรุณา' แก่ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาจุฬาฯ
การบรรยายรายวิชาพุทธปรัชญาแห่งศาสตร์ ในหลักสูตรบัณฑิตศึกษา ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (เปิดอ่าน151)
16/3/2567
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 76 คน
วันนี้ 531 คน
เมื่อวานนี้ 912 คน
เดือนนี้ 34,583 คน
เดือนที่ผ่านมา 30,824 คน
ทั้งหมด 2,584,159 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob