แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
ข่าวเด่น
 

พระพรหมบัณฑิต ร่วมเสวนา เรื่อง 'ศาสนากับความยั่งยืนของชุมชน' ณ SX Grand Plenary Hall ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถ.รัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร


วัดประยุรวงศาวาส|กิจกรรมงานวัด'๖๕
>>>ขอเชิญร่วมสวดมนต์ข้ามปี วิถีออนไลน์ สไตส์นิวนอร์มอล ต้อนรับปี ๒๕๖๕
>>>พิธีสมโภชวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ครบ ๑๙๔ ปี
>>>ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรม เนื่องใน 'วันมาฆบูชา' ๒๕๖๕
>>>ประธานกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๕
>>>ขอเชิญเที่ยวงานวัด รับพรย้อนวันวาน สารพันอาหารย่านกะดีจีน-คลองสาน
>>>โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๒

[ไตรมาสที่ ๑] คณะสงฆ์|วัดประยูรฯ|พระธรรมเทศนา'๖๕|พระพรหมบัณฑิต
>>>เรื่อง 'บุญกิริยากถา' ว่าด้วยการทำบุญ
>>>เรื่อง 'อนาตุรกถา' ว่าด้วยความไม่กระสับกระส่าย
>>>เรื่อง 'สัปปุริสภูมิกถา' ว่าด้วยภูมิธรรมของคนดี
>>>เรื่อง 'ชีวิตัตถกถา' ว่าด้วยความหมายของชีวิต
>>>เรื่อง 'เถรธัมมกถา' ว่าด้วยธรรมของพระเถระ
>>>เรื่อง 'ปทักขิณกถา' ว่าด้วยความเจริญ
>>>เรื่อง 'วรพลกถา' ว่าด้วยกำลังอันประเสริฐ
>>>เรื่อง 'จิตตโวทานกถา' ว่าด้วยความผ่องใสแห่งจิต
>>>เรื่อง 'สุคติกถา' ว่าด้วยการดำเนินชีวิตที่ดี
>>>เรื่อง 'พหุการธรรมกถา' ว่าด้วยธรรมมีอุปการะมาก
>>>เรื่อง 'ธัมมสังคหกถา' ว่าด้วยการสงเคราะห์ด้วยธรรม
>>>เรื่อง 'อัตถวสกถา' ว่าด้วยอำนาจแห่งประโยชน์
>>>เรื่อง 'จตุพลกถา' ว่าด้วยกำลังสี่ประการ
>>>เรื่อง 'สาราณียธรรมกถา' ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน

[ไตรมาสที่ ๑] คณะสงฆ์|วัดประยูรฯ|พระธรรมเทศนา'๖๕|พระพรหมบัณฑิต
>>>[ประธาน] พิธีสมโภชวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ครบ ๑๙๔ ปี
>>>[โอวาทธรรม] 'ดินสอชีวิต' พิธีไหว้ครูประจำปี ๒๕๖๕
>>>[ประธาน] ประชุมเตรียมความพร้อมงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมปริม บุนนาค
>>>[ต้อนรับ] พระราชญาณกวี และคณะถวายหนังสือพจนานุกรมบาลี-ไทย
>>>[พระบัญชา] แต่งตั้งเป็นประธานกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
>>>[มอบปริญญา] ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ ดร.พรรณี โชตมั่นคงสิน
>>>[ประธาน] ประชุมคณะกรรมการบริหารสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV)
>>>[บรรยาย] 'การปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักธรรมาภิบาล'
>>>[ประธานสงฆ์] รับการถวายภัตตาหาร สิ่งของพระราชทาน วันสอบวันแรก
>>>[บรรยายอังกฤษ] 'Truth,Goodness and Beauty Reflections'
>>>[ตรวจเยี่ยม] สนามสอบบาลีวัดประยูรฯ วัดกัลยาณ์ วัดราชสิทธาราม
>>>[บรรยาย] 'คุณธรรมและจริยธรรม สำหรับนักบริหาร'
>>>[โอวาทกถา] 'เอกภาพในนโยบายและความหลากหลายในวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา'
>>>[สัมโมทนียกถา] พิธีฉลองครบรอบ ๙ ปี โป๊ปแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก
>>>[ปาฐกถา] 'แก่นพุทธจิตวิทยา'
>>>[ประชุม] คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนหลักธรรมคำสอนฯ ครั้งที่ ๑
>>>[ประชุม] คณะอนุกรรมการแปลพระไตรปิฎก ฉบับภาษาอังกฤษ
>>>[เข้ารับ] การถวายทุนการศึกษาพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๒
>>>[ประชุม] เตรียมงานวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) ประจำปี ๒๕๖๕

[ไตรมาสที่ ๒] คณะสงฆ์|วัดประยูรฯ|พระธรรมเทศนา'๖๕|พระพรหมบัณฑิต
>>>[ต้อนรับ] บุคคลสำคัญของประเทศภูฏาน
>>>[ประชุม] คกก.เขียนภาพจิตรกรรม ครั้งที่ ๖ และร่วมลงนามเซ็นสัญญาจ้างงาน
>>>[ประชุม] พระจริยานิเทศก์ทั่วประเทศ ประจำปี ๒๕๖๕
>>>[สัมโมทนียกถา] 'สุขสันต์วันสงกรานต์ด้วยพื้นฐานธรรมสร้างสุข'
>>>[ประธาน] พิธีลงนามในสัญญาจัดทำการแปลพระไตรปิฎก
>>>[สัมโมทนียกถา] ใต้ร่มพระบารมี ๒๔๐ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
>>>[บรรยาย] 'การสร้างพลังปัญญาในความแตกต่างและความหลากหลาย'
>>>[ประชุม] คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาพระปริยัตินิเทศก์ ครั้งที่ ๑
>>>[ต้อนรับ] สนทนาธรรมกับคณะสถาบันวะสะฏียะฮ์
>>>[ประชุม] คณะกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑
>>>[ได้รับ] การถวายรางวัลการส่งเสริมการศึกษาเพื่อสันติภาพ
>>>[บรรยาย] 'พุทธวิทยาศาสตร์กับปัญหาปรัชญาจากควอนตัมฟิสิกส์'
>>>[ปาฐกถา] 'มูลนิธิมหาจุฬาฯ กับการพัฒนาปัญญาและคุณธรรม'
>>>[ประชุม] คณะกรรมการจัดทำ แปล บรรณาธิการพระไตรปิฎก
>>>[บรรยาย] 'จริยธรรมและคุณธรรมของผู้บริหาร'
>>>[สัมมนา] เชิงปฏิบัติการ'แนวทางการจัดทำพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
>>>[ปาฐกถา] 'กรุณาธรรมในยามวิกฤต:หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาฯ' UN
>>>[ประธาน] การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการจัดทำพระไตรปิฎก UN
>>>[ประธาน] กล่าวปิดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๑๗ UN
>>>[บรรยาย] 'ธรรมกับการบริหารตน บริหารคน และบริหารงาน'
>>>[บรรยาย] 'การบริหารวัดด้วยหลักธรรมาภิบาล'
>>>[บรรยาย] 'พระสงฆ์ไทยพระสงฆ์โลก การเผยแผ่ พระพุทธศาสนาเชิงรุก'
>>>[บรรยาย] 'การบริหารและพัฒนาจิตตานุภาพ'
>>>[บรรยาย] 'พระราชรัตนโมลีกับการพัฒนาการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ'
>>>[ประชุม] คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนหลักธรรมคำสอนฯ ครั้งที่ ๒
>>>[ประชุม] พิธีเปิดการประชุมของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา
>>>[พบปะ] กรรมการบริหารสภาสากลวันวิสาขบูชโลก (ICDV)
>>>[ทัศนศึกษา] เขาซานจาซินโต
>>>[ปาฐกถา] 'เหลียวหลังแลหน้า 50 ปีวัดไทยลอสแองเจลิส'
>>>[ทำบัตร] ประจำตัวประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV)
>>>[ปฐมนิเทศ] โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๒
>>>[ปฏิสัณถารกถา] 'เล่าขานตำนานสาลิกาป้อนเหยื่อ'
>>>[บรรยาย] 'ความรู้พื้นฐานกับหลักการและวิธีการเทศน์'
>>>[สาระน่ารู้] 'ยกสื่ออุปกรณ์ EP.01'
>>>[บรรยาย] 'บทบาทของพระธรรมวิทยากรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา'
>>>[สาระน่ารู้] 'ทบทวนปฏิภาณ EP.02'
>>>[บรรยาย] 'หลักการและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา'

[ไตรมาสที่ ๓] คณะสงฆ์|วัดประยูรฯ|พระธรรมเทศนา'๖๕|พระพรหมบัณฑิต
>>>[สาระน่ารู้] 'วิจิตรอลังการด้านภาษา EP.03'
>>>[สาระน่ารู้] 'จรรยาบรรณนักเทศน์ EP.04'
>>>[บรรยาย] 'บทบาทพระธรรมจาริกกับงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาฯ'
>>>[สาระน่ารู้] 'แบบฉบับของความเป็นนักเทศน์ EP.05'
>>>[สัมโมทนียกถา] 'หน้าที่รู้ของพระปริยัตินิเทศก์'
>>>[บรรยาย] 'การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาด้วยปริยัตินิเทศก์'
>>>[บรรยาย] 'พ.ร.บ.การศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ และอนุบัญญัติที่เกี่ยวข้อง'
>>>[สาระน่ารู้] 'เทศน์ทันสถานการณ์ EP.06'
>>>[สาระน่ารู้] 'คู่มือพหุปการกถา EP.07'
>>>[ปัจฉิมนิเทศ] โครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๒
>>>[บรรยาย] 'บทบาทของปริยัตินิเทศก์ที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาฯ'
>>>[ธรรมกถา] 'อัคคมหาทานในโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย'
>>>[บรรยาย] 'เตรียมตัวอย่างไร ให้ตายแบบเป็นสุข'
>>>[สัมปสาทนียกถา] 'รำลึกบุรพาจารย์แต่ครั้งวันวานที่ลานอโศก'
>>>[ประชุม] จัดกิจกรรมการแสดงธรรมกถา วันเฉลิมพระชนมพรรษา
>>>[ประชุม] คณะอนุกรรมการจัดทำแผนเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
>>>[ออกอากาศ] อัคคมหาทานกับโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย
>>>[ต้อนรับ] สมาชิกวุฒิสภาและคณะ ที่เยี่ยมชมวัดประยูรฯ
>>>[บรรยาย] 'กระบวนการสร้างสันติภาพในมุมมองพุทธ'
>>>[บรรยาย] 'การประยุกต์หลักธรรมคำสอนกับหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา' ครั้งที่ ๑
>>>[บรรยาย] 'การประยุกต์หลักธรรมทางศาสนาเพื่อต้านการทุจริต' ครั้งที่ ๒
>>>[สัมโมทนียกถา] 'ตามรอยบุพเพสันนิวาส ๒'
>>>[บรรยาย] 'การประยุกต์หลักธรรมเพื่อสร้างสังคมไทยใสสะอาด' ครั้งที่ ๓
>>>[ประชุม] คณะกรรมการยกร่างฯ การดำเนินการโครงการหมู่บ้านรักษาศีล ๕
>>>[ต้อนรับ] คณะกรรมการบริหารสมาคมศิษย์เก่า มจร ชุดที่ ๒๕
>>>[บรรยาย] 'ความสำคัญของ ศพอ. กับการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม'
>>>[บรรยาย] 'การประยุกต์หลักธรรมเพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งความสุข' ครั้งที่ ๔
>>>[ประชุม] คณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสาแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕
>>>[ต้อนรับ] คณะกรรมการฝ่ายกิจการศาสนารัฐบาลเวียดนาม
>>>[ต้อนรับ] ต้อนรับคณะพระสงฆ์จากสิงคโปร์ ที่ได้เข้าถวายสักการะ
>>>[ปาฐกถา] 'Thailand-Singapore Sangha Fellowship'
>>>[ประชุม] คณะอนุกรรมการบรรณาธิการพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
>>>[ปาฐกถา] 'STRONG Together ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติ ต้านทุจริต'
>>>[บรรยาย] 'องค์กรวิถีพุทธ: กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาองค์กรแบบองค์รวม'
>>>[บรรยาย] 'Buddhist Wisdom for the World' ๑๓๕ ปี มหาจุฬาฯ
>>>[ประชุม] คณะอนุกรรมการจัดทำพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕
>>>[การประชุม] สัมมนาบุคลากรเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั่วประเทศ ปี ๒๕๖๕
>>>[พิธีบำเพ็ญกุศล] อายุวัฒนมงคล ๖๗ ปี พระพรหมบัณฑิต/มอบทุนการศึกษา
>>>[พิธีบำเพ็ญกุศล] อายุวัฒนมงคล ๖๗ ปี พระพรหมบัณฑิต
>>>[ได้รับการถวาย] ประกาศนียบัตรกิตติมศักดิ์ และเข็มวิทยฐานะ
>>>[กล่าวให้โอวาท] 'ตำรับคัมภีร์เทศนาต้านทุจริตศึกษา'
>>>[keynote speech] 'Customs and Lineage of the Elders'
>>>[บรรยาย] 'การพัฒนาการศึกษาพระปริยัติธรรมในยุคดิจิทัล'
>>>[ร่วมเสวนา] 'ศาสนากับความยั่งยืนของชุมชน' Sustainability Expo 2022

 

          วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙,ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ ประธานกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมเสวนา เรื่อง *****[ศาสนากับความยั่งยืนของชุมชน]  ในงาน Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022 มหกรรมการแสดงสินค้าด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ณ SX Grand Plenary Hall ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถ.รัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

          ศาสนากับความยั่งยืนเกี่ยวข้องกันอย่างไร ในงาน Sustainability Expo 2022 หรือ SX 2022 มหกรรมการแสดงสินค้าด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีคำตอบ

          บนเวทีเสวนา *****[‘ศาสนากับความยั่งยืนของชุมชน’] ของวันที่ ๒๙ กันยายนที่ มีตัวแทนจาก ๓ ศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ และอิสลาม ได้แก่ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร และกรรมการมหาเถรสมาคม มงซินญอร์ ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ รองเลขาธิการสภาประมุขบาทหลวง โรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ ฮัจยี อุมัร กาญจนกูล (วาสุเทพ กาญจนกูล) ผู้แทนชุมชนมุสลิมย่านกะดีจีน-คลองสาน ดำเนินรายการโดย สุรพล เศวตเศรนี ที่ปรึกษาคณะกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนและประธานจัดงาน Water & River Festival มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแสดงให้เห็นว่า ชุมชนเป็นฐานรากของสังคม ซึ่งหากชุมชนเข้มแข็ง ประเทศก็จะมั่นคงต่อไป
 

‘ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง’ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน

          พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กล่าวเปิดวงสนทนาว่า สำหรับศาสนากับความยั่งยืนของชุมชนนั้น คำว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้เริ่มมีการพูดถึงและใช้เมื่อ ๓๐ ปีก่อนเป็นครั้งแรก โดยให้ความหมายว่า เป็นการพัฒนาที่เอื้อต่อคนรุ่นต่อๆ ไป ซึ่งเป็นความหมายที่เน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม เพราะว่าทุกคนได้มีการหยิบยืมทรัพยากรธรรมชาติจากรุ่นลูกหลานมาใช้ จึงไม่ควรใช้อย่างสิ้นเปลือง และเหลือไว้ให้คนรุ่นลูกหลานได้ใช้บ้าง

          แต่องค์การสหประชาชาติได้ขยายคำว่า ความยั่งยืน ให้มีความหมายมากกว่านั้น โดยในปี ๒๕๕๕ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ว่า ภายในปี ๒๕๖๘-๒๕๗๑ โลกจะต้องบรรลุเป้าหมาย ๑๗ ข้อ แต่เป้าหมายที่ควรทำได้ มี ๓ เรื่อง คือ สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ สรุปแล้วการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงไม่ได้มีเพียงแค่สิ่งแวดล้อมเท่านั้น

          สำหรับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ ๙ ยังคงหลักเป้าหมายทั้ง ๓ เรื่อง ที่องค์การสหประชาชาติได้เน้นย้ำไว้อยู่ แต่ได้มีการนำวัฒนธรรมเข้ามา ซึ่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มีแนวคิดที่จะนำไปสู่ความสมดุล ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม แต่เนื่องจากสังคมและวัฒนธรรมเป็นเรื่องเดียวกัน องค์การสหประชาชาติจึงควบรวมเป็นเรื่องเดียวกัน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

          ดังนั้น ในปี ๒๕๔๙ สำนักเลขาธิการสหประชาชาติจึงนำรางวัล UN Human Development Lifetime Achievement Award ซึ่งเป็นรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ ทูลเกล้าฯ ถวาย ในหลวง รัชกาลที่ ๙

          “หลังจากองค์การสหประชาติประกาศเป้าหมายความยั่งยืนทั้ง ๑๗ ข้อ ฝ่ายศาสนาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้จัดการประชุมผู้นำศาสนาที่นครรัฐวาติกัน ในปี ๒๕๖๒ ซึ่งมีหนึ่งประโยคที่รู้สึกประทับใจ คือ ประโยคที่ว่า ‘No man left behind.’ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ไม่ว่าจะเป็นผู้ด้อยโอกาส หรือคนยากคนจน ซึ่งเป็นพระดำรัสของพระสันตปาปา

          “ทั้งนี้ ตัวผู้พูดได้มีส่วนร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในการประชุมครั้งนี้ และมีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายฝ่าย รวมถึงคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี (กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ไทยเบฟเวอเรจ) ก็ได้เข้าร่วมพูดคุยในครั้งนี้ด้วย โดยมีท่าน มงซินญอร์ ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ เป็นผู้ประสานงานครั้งนี้” เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารกล่าว แล้วเผยอีกว่า

          การประชุมดังกล่าวได้ข้อสรุปพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนว่า ต้องมี ๕ Ps ได้แก่ People คุณภาพชีวิตของผู้คน, Prosperity ความเจริญทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน, Planet ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, Peace สันติภาพ และ Partnership การมีส่วนร่วมเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งทั้งหมดจะต้องเกิดขึ้นพร้อมเพรียงกันและจับมือไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และได้มีการยกตัวอย่างชุมชนย่านกะดีจีน-คลองสาน ที่ชุมชนชาวพุทธ คริสต์ และอิสลาม ได้ร่วมจับมือกันเป็นต้นแบบ

‘บ้าน วัด ราชการ’ ตัวกลางประสานงานให้ชุมชนทั้ง ๓ ศาสนาทำงานร่วมกั

          พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กล่าวถึงชุมชนต้นแบบว่า ผู้นำชุมชนย่านกะดีจีน-คลองสาน มีอยู่ ๖ ชุมชนด้วยกัน ทั้งวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ที่เป็นหน้าด่านของชาวพุทธ ตามด้วยชุมชนวัดกัลยาณมิตร ชุมชนวัดบุปผาราม ชุมชนโรงพราหมณ์ ชุมชนมัสยิดกุดีขาวเป็นอิสลาม รวมถึงชุมชนกะดีจีนที่เป็นคริสต์ เรียกได้ว่าใน ๖ ชุมชน มีถึง ๓ ศาสนาอยู่ด้วยกัน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องยากที่จะติดต่อประสานงานให้ทำงานร่วมกันจนสำเร็จได้ แต่ก็เกิดขึ้นได้และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี



          “วิธีการทำงานจึงใช้ ‘บ้าน วัด ราชการ’ เป็นแกนหลักในการประสานงาน เริ่มจากชุมชนพุทธจับมือกับชุมชนอื่นๆ ในย่านกะดีจีน โดยนำผู้นำศาสนาอื่นมาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนความคิด และจากการสืบค้นทางประวัติศาสตร์พบว่า ชุมชนพุทธ คริสต์ อิสลาม เหล่านี้เริ่มสร้างชุมชนร่วมกันมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งหากนับตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบันก็นับได้ว่า คนในชุมชนมีความผูกพัน และนับญาติกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน”

          การแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆ มีองค์กรจากภาคเอกชนมาร่วมสนับสนุน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแกนนำ ยกตัวอย่างเช่น ด้านวัฒนธรรมที่จัดร่วมกัน คือ การจัดงานลอยกระทง ที่เริ่มต้นเมื่อปี ๒๕๕๓ จนมาถึงปัจจุบัน โดยให้ประชาชนนำกระทงมาลอยได้ที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ชุมชนมัสยิดกุดีขาว และย่านชุมชนกะดีจีน ภายในงานมีขนมและอาหารขึ้นชื่อของคนในชุมชนมาวางจำหน่าย โดยที่วัดไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งปฏิบัติเช่นนี้มานานกว่า ๑๐ ปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และเป็นจุดเริ่มต้นของวิสาหกิจชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง

          สำหรับกิจกรรมอื่นๆ อย่างการประกวดอาหาร ๓ ศาสนา ได้มีการประกวดกันอย่างละ ๑ วัน การรณรงค์ไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในศาสนสถาน และการรณรงค์เรื่องการเก็บขยะให้เป็นที่เป็นทาง รวมถึงการจัดงานศิลป์ในซอยเมื่อปี ๒๕๕๗ ที่ได้กลายเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมีเยาวชนในชุมชนเป็นมัคคุเทศก์น้อยพานักท่องเที่ยวเดินชมชุมชน และกลายเป็นการท่องเที่ยวเชิงพหุวัฒนธรรมไปโดยปริยาย





          วิธีการพัฒนาดังกล่าวเริ่มจากที่คนในชุมชน ได้ตื่นพร้อม ตื่นรู้ สร้างสรรค์ และกระจายสู่ภายนอกจนประสบความสำเร็จ โดยมีผู้นำชุมชนเป็นคนสำคัญในการประสานงาน จากชุมชนกะดีจีนได้พัฒนาไปถึงคลองสาน และกลายเป็นต้นแบบการพัฒนาชุมชนตัวอย่างของกรุงเทพมหานคร
 

ผู้นำศาสนาในชุมชน ต้องแสวงหาจุดร่วม-สงวนจุดต่าง คนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน

          ด้าน มงซินญอร์ ดร.วิษณุ ธัญญอนันต์ กล่าวเสริมหลังจากที่พระพรหมบัญฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) ได้บอกเล่าปูทางให้เข้าใจในภาพรวมของศาสนาและความยั่งยืนของชุมชนว่า สำหรับภาคปฏิบัติของชุมชนคาทอลิก เมื่อวันที่ ๑๔-๑๖ กันยายนที่ผ่านมา มีการประชุมผู้นำโลกที่อัสตานา ประเทศคาซัคสถาน ที่ผู้นำศาสนาได้นั่งร่วมวงสนทนาพูดคุยกันในหัวข้อ ‘ศาสนาเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างความยั่งยืนของโลก’

          “ตามหลักศาสนาคริสต์ เราทุกคนต่างเป็นพี่น้องกัน แต่เมื่อเรายังไม่รู้จักกัน เราก็ไม่กล้าทำความรู้จักกัน คือ ไม่ได้เรียนรู้กันและกัน ซึ่งปัจจุบันมีความแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการเป็นศาสนิกทำให้ต้องเข้านอกออกในวัด และมัสยิดของศาสนาอื่น คือความเป็นภราดรภาพไม่ใช่เพียงแค่พี่น้องชาวคริสต์เท่านั้น แต่ยังเป็นพี่น้องกับผู้คนในศาสนาอื่น วัฒนธรรมอื่นด้วย ทว่าสิ่งที่น่ากังวลในวงสนทนาดังกล่าวคือ ในยุโรปเริ่มกังวลกับภาวะ Xenophobia ซึ่งเป็นการหวาดกลัวคนต่างชาติ หรือคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม

          “ดังนั้น การแก้ไขปัญหานี้ต้องเริ่มจากผู้นำศาสนาในชุมชน ต้องแสวงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่างของผู้คนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน ส่วนที่น่ากังวลอีกประการ คือ คนที่นำเอาศาสนามาเป็นเรื่องสุดโต่ง หรือชาตินิยมจัด” มงซินญอร์ ดร.วิษณุ กล่าวด้วยความเป็นห่วง และบอกต่อไปอีกว่า

          นอกจากนี้ สิ่งที่พระสันตปาปาฟรานซิสทรงห่วงที่สุด คือ กลัวคนรุ่นใหม่จะลืมเลือนประวัติศาสตร์ แต่โชคดีที่สมาชิกชุมชนวัดคาทอลิกที่ซางตาครู้สกว่า ๑,๐๐๐ คน ไม่หลงลืมประวัติศาสตร์และช่วยรักษาวัฒนธรรมของชุมชน ผ่านการประสานงานของผู้นำศาสนาและชุมชนอื่นๆ ในบริเวณโดยรอบ ซึ่งชุมชนคริสต์คาทอลิกอยู่ตรงบริเวณนี้กว่า ๒๕๓ ปีแล้ว อยู่ติดกับวัดพุทธและศาลเจ้าจีน รวมถึงพี่น้องมุสลิมทางคลองหลวง แสดงถึงความเป็นพหุวัฒนธรรมในย่านนี้ได้เป็นอย่างดี

          มงซินญอร์ ดร.วิษณุ เผยด้วยว่า สิ่งที่น่าประหลาดใจและน่าประทับใจ คือ มีผู้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเยี่ยมเยียนชุมชนแห่งนี้ โดยมีผู้นำชุมชนอธิบายพื้นที่ในบริเวณต่างๆ ของชุมชนศาสนาอื่นได้ จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันมาก่อนอย่างเป็นกัลยาณมิตร โดยคนทั้ง ๓ ศาสนา ๔ ความเชื่อในพื้นที่แห่งนี้ได้ร่วมแบ่งปันกัน เพราะโลกใบนี้เปรียบเสมือนบ้านของเรา เราจึงต้องร่วมแบ่งปันกัน
 

ให้เกียรติทุกศาสนาและความเชื่อที่แตกต่าง จะทำให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

          ฮัจยี อุมัร กาญจนกูล (วาสุเทพ กาญจนกูล) ผู้แทนชุมชนมุสลิมย่านกะดีจีน-คลองสาน กล่าวถึงวิสัยทัศน์ของมัสยิดกูวติลอิสลาม หรือมัสยิดตึกแดง ว่า ย่านกะดีจีน-คลองสาน เป็นการต่อยอดและพัฒนาสู่ความยั่งยืน โดยคำว่า อิสลาม แปลว่า สันติ กล่าวคือศาสนอิสลามมีสันติ อิสรภาพ และภราดรภาพ โดยภราดรภาพนี้ ทำให้มัสยิดตึกแดงอยู่ร่วมชุมชนกะดีจีน-คลองสานมาได้อย่างเนิ่นนานแล้ว ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา

          มัสยิดตึกแดงอยู่ใกล้กับศาลเจ้าพ่อกวนอู และวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ซึ่งมีศรัทธาและความเชื่อที่แตกต่างกัน แต่อิสลามสอนให้มีมารยาทที่ดีงาม ให้เกียรติทุกศาสนาและความเชื่อที่แตกต่าง อีกทั้งไม่มีคำสอนใดอนุญาตให้ทำไม่ดีต่อคนอื่นแต่อย่างใด จึงทำให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยสิ่งสำคัญคือ ดุลยภาพ ที่เป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน จะทำให้ชุมชนมีความยั่งยืนได้อย่างแน่นอน

          ทั้งนี้ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาชาติให้เริ่มที่ประชาชน และการพัฒนาคนให้เริ่มที่ใจ จะพัฒนาอะไรให้เริ่มที่ตัวเรา ดังนั้น หากนำศาสนามาขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนา คือ เติมส่วนที่ขาดให้เต็ม เติมที่เต็มให้พอ และถ้าพอให้แบ่ง ที่แบ่งให้เป็นธรรม จะทำให้ทุกพื้นที่ทุกแห่งในสังคมไทยกลายเป็นสวรรค์บนดินที่น่าอยู่ จากพลังการแบ่งปันของศาสนาสืบไป

 

คลิกฟังเสียง / ดาวน์โหลดเสียงการเสวนา
>>>เรื่อง
‘ศาสนากับความยั่งยืนของชุมชน’

คลิกฟังเสียง / ดาวน์โหลดวีดิทัศน์การเสวนา
>>>เรื่อง ‘ศาสนากับความยั่งยืนของชุมชน’


ภาพ/ข่าว : พระมหาผล วิเชฏฺฐสมโณ ผจล. วัดประยุรวงศาวาส
วีดิทัศน์ : พระมหาสุรชัย สุรทสฺสี ผจล. วัดประยุรวงศาวาส
บันทึกวีดิทัศน์ : กล้าณรงค์ จิตรมุง
วิเคราะห์ข่าว : ข่าวเด่น มติชนสุดสัปดาห์ 30 กันยายน 2565
              


























































































































วัดประยุรวงศาวาส
>>>6 ไฮไลต์ที่ต้องปักหมุดเที่ยว (ตามรอยบุพเพสันนิวาส ตอนที่ ๑)
>>>บุพเพสันนิวาส ๒” ที่เปิดตัวแรงสุด ๆ (ตามรอยบุพเพสันนิวาส ตอนที่ ๒)
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๕
>>>พิธีสมโภชวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ครบ ๑๙๔ ปี
>>>พิธีทอดกฐินพระราชทาน วัดประยุรวงศาวาส ประจำปี ๒๕๖๔
>>>ประเพณีลอยกระทงประทีปเทียนหอม วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๔
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทงประทีปเทียนหอม วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญร่วมทำบุญกฐินพระราชทานวัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๓
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลตักบาตรเทโวโรหณะ วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>ร่วมงานแถลงข่าว“River Festival 2020 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย”ครั้งที่ ๖
>>> ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (316 kb)

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (316 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (316 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (316 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (316 kb)

เขียนเมื่อ 29 กันยายน พ.ศ. 2565 | อ่าน 1245
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
ข่าวเด่น อื่นๆ
พระพรหมบัณฑิต แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถ เรื่อง 'จิตตพลกถา' ว่าด้วยกำลังใจ ในวันธรรมสวนะ (วันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒) และในงานวันสมโภชครบรอบ ๑๙๗ ปี วัดประยุรวงศาวาส
การแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถ และงานสมโภชพระอาราม ๑๙๗ ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร 'สุขสราญงานวัด ทัศนาสถาปัตย์ นมัสการมหาเจดีย์' จัดระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ มกราคม ๒๕๖๘ พระธรรมเทศนาแสดงกัณฑ์ที่ ๑ประจำปี ๒๕๖๘ (เปิดอ่าน53)
13/1/2568
พระพรหมบัณฑิต กล่าวธรรมกถา เรื่อง 'ธรรมพัฒนาชีวิต' ในพิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ปี ๒๕๖๘ ของคณะผู้บริหารและพนักงานกลุ่มทิสโก้ (TISCO) บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ ปี ๒๕๖๘ ของคณะผู้บริหารและพนักงานกลุ่มทิสโก้ (TISCO) บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ณ ตึกธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ อาคารทิสโก้ทาวเวอร์ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน57)
10/1/2568
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานมอบวุฒิบัตร และกล่าวประกาศนโยบายกถา เรื่อง 'บุคลากรเข้มแข็ง ปริยัตินิเทศก์ก้าวไกล' ในพิธีปิดโครงการอบรมบุคลากรศูนย์ปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ (จศป.) ประจำปี ๒๕๖๘
พิธีปิดโครงการอบรมบุคลากรศูนย์ปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ (จศป.) ประจำปี ๒๕๖๘ ซึ่งจัดอบรมระหว่างวันที่ ๕ - ๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน214)
7/1/2568
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธาน และบรรยาย เรื่อง 'บทบาทบุคลากรศูนย์พระปริยัตินิเทศก์' ในพิธีเปิดโครงการอบรมบุคลากรศูนย์ปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ (จศป.) ปี ๒๕๖๘
พิธีเปิดโครงการอบรมบุคลากรศูนย์ปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ (จศป.) ประจำปี ๒๕๖๘ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน123)
5/1/2568
พระพรหมบัณฑิต กล่าวธรรมกถา เรื่อง 'ธรรมดี ปีใหม่' ในโครงการกิจกรรมทำบุญรับปีใหม่ ประจำปี ๒๕๖๘ รายการธรรมะวาไรตี้ ครั้งที่ ๑๘๑ ณ บริษัท เบนซ์อมรรัชดา จำกัด
โครงการกิจกรรมธรรมะวาไรตี้ ครั้งที่ ๑๘๑ กิจกรรมทำบุญรับปีใหม่ ประจำปี ๒๕๖๘ ณ บริษัท เบนซ์อมรรัชดา จำกัด ณ ห้องบอลรูมชั้น ๖ อาคารอมรรัชดา ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน90)
4/1/2568
พระพรหมบัณฑิต กล่าวธรรมกถา เรื่อง 'ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ตั้งต้นจิตใจในโลกที่ผันผวน' ในคืนข้ามปี ต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๖๘ ณ บริเวณลานหน้าองค์พระประธานพุทธมณฑล
พิธีสวดมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล 'สวดมนต์ข้ามปี วิถีไทย วิถีพุทธ วิถีพอเพียง' วันขึ้นปีใหม่ พ.ศ.๒๕๖๘ ณ บริเวณลานหน้าองค์พระประธานพุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (เปิดอ่าน267)
1/1/2568
พระพรหมบัณฑิต กล่าวธรรมกถา เรื่อง 'ประเมินตนประเมินใจ สร้างอุดมคติได้อย่างมีมาตรฐาน' ในคืนข้ามปี ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๘ ณ วัดประยูรฯ
'สวดมนต์คืนข้ามปี เสริมบารมีชีวิต คิดดี ทำดี พูด โชคดีตลอดไป ในคืนของวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพฯ (เปิดอ่าน155)
1/1/2568
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ปี ๒๕๖๗
การประชุมคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๕ ปี ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน158)
19/12/2567
พระพรหมบัณฑิต บรรยาย เรื่อง 'การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาปริยัติธรรม' ในโครงการประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษาพระปริยัติธรรม ปี ๒๕๖๗
โครงการประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำระบบประกันคุณภาพการศึกษาพระปริยัติธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗ ณ หอประชุมพุทธมณฑล ถนนอุทยาน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (เปิดอ่าน141)
17/12/2567
ประธานพุทธสมาคมแห่งฮ่องกง และเจ้าอาวาสวัดฝู่ไห่ซาน ประเทศสิงคโปร์ พร้อมด้วยคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ และถวายสักการะพระพรหมบัณฑิต อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส
ประธานพุทธสมาคมแห่งฮ่องกง และเจ้าอาวาสวัดฝู่ไห่ซาน ประเทศสิงคโปร์ พร้อมด้วยคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ และถวายสักการะพระพรหมบัณฑิต ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน123)
16/12/2567
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
ขณะนี้ 26 คน
วันนี้ 626 คน
เมื่อวานนี้ 544 คน
เดือนนี้ 9,562 คน
เดือนที่ผ่านมา 18,541 คน
ทั้งหมด 2,875,085 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2025 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob