แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
ขอเชิญเที่ยวงาน
ข่าวเด่น
 

พระพรหมบัณฑิต แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถ เรื่อง 'พลีกถา' ว่าด้วยการบูชาสงเคราะห์ ในงานพิธีเททองหล่อพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ (ตี่จั๊งอ๊วงผ่อสัก) ปี ๒๕๖๖ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพฯ


วัดประยุรวงศาวาส|กิจกรรมงานวัด'๖๖
>>>สวดมนต์ข้ามปี วิถีออนไลน์ ต้อนรับปีใหม่ รับความเป็นสิริมงคล ๒๕๖๖
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๕ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลงาน ''สมโภชพระอาราม ๑๙๕ ปี วัดประยูรฯ''
>>>พิธีเปิดงาน ''สมโภชพระอาราม ๑๙๕ ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร''

[ไตรมาสที่ ๑] คณะสงฆ์|วัดประยูรฯ|พระธรรมเทศนา'๖๖|พระพรหมบัณฑิต
>>>กัณฑ์ที่ ๐๑ เรื่อง 'อิสสากถา' ว่าด้วยความอิจฉาริษยา
>>>กัณฑ์ที่ ๐๒ เรื่อง 'เมตตากถา' ว่าด้วยความรักและความหวังดี
>>>กัณฑ์ที่ ๐๓ เรื่อง 'ปาโมชชกถา' ว่าด้วยความปราโมทย์
>>>กัณฑ์ที่ ๐๔ 'อนุสสติฐานกถา' ว่าด้วยเหตุแห่งอนุสสติ
>>>กัณฑ์ที่ ๐๕ 'พลีกถา' ว่าด้วยการบูชาสงเคราะห์

 

          วันอาทิตย์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๓๐ น. พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙,ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) ประธานศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ ประธานกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) อุปนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถ เรื่อง *****['พลีกถา' ว่าด้วยการบูชาสงเคราะห์] ในงานพิธีเททองหล่อพระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์ (ตี่จั๊งอ๊วงผ่อสัก) ปี ๒๕๖๖ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

          พระกษิติครรภโพธิสัตว์ หรือ ตี้จั้งผูซ่า ในสำเนียงแต้จิ๋ว ตี่จั่งอ๊วง มาจากพระนามเต็มว่า ตี้จั้งหวางผูซ่า  หรือ “ต้าเอวี้ยนตี้จั้งหวางผูซ่า” แปลว่า พระโพธิสัตว์ผู้เป็นครรภ์แห่งแผ่นดินมีความหมายแฝงว่า พระองค์ได้ทรงสถิตอยู่ใต้ผืนพื้นโลกใบนี้ เป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือและศรัทธาเป็นอย่างมาก เป็นรองแต่เพียงพระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) เท่านั้น สาเหตุที่ทำให้พระกษิติครรภโพธิสัตว์ (ตี้จั้งผูซ่า) เป็นที่นับถืออย่างกว้างขวางนั้น มาจากเรื่องราวของปณิธานของพระองค์ที่มีจารึกไว้ใน “พระสูตรปณิธานแห่งพระกษิติครรภโพธิสัตว์” หรือ “ตี้จั้งผูซ่าเปิ่นเอวี้ยนจิง” ที่ทรงแผ่เมตตาธรรมต่อเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหกในนรกภูมิ พระองค์รู้สึกเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งที่ไม่อาจช่วยเหลือมิให้สรรพชีวิตหลงเดินในทางผิด จนตกตายไปสู่นรกภูมิเช่นนั้น พระกษิติครรภโพธิสัตว์จึงได้ยินยอมอยู่บนโลกมนุษย์ เพื่อแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่เหล่าสัตว์โลกในนรกภูมิ ทรงมีความปรารถนาจะให้แสงแห่งพระธรรมชี้นำทางสว่างให้แก่สัตว์ทั้งปวง

          โดยมีมหาปณิธานอันยิ่งใหญ่ว่า “หากตราบใดที่นรกยังไม่ว่างเปล่า ตราบนั้นก็จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ” พระมหาปณิธานของท่านย่อมเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า อันสัตว์โลกนั้น คนกระทำความชั่วมีอยู่มากมาย เมื่อตายไปแล้วนรกภูมิก็จะมีจำนวนสัตว์นรกมากยิ่งกว่าผู้ที่ได้ขึ้นสวรรค์ การจะมาช่วยสัตว์นรกที่มีจำนวนมากนี้ จึงเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าความยากใดๆ
กล่าวกันว่า พระมหาปณิธานของพระองค์ คล้ายคลึงกับพระอวโลกิเตศวร (กวนอิม) เป็นอย่างมาก ต่างกันตรงที่ พระอวโลกิเตศวร(กวนอิม)ทรงเปี่ยมไปด้วยพระมหาเมตตาด้วยหวังจะช่วยสัตว์โลกผู้ตกทุกข์ได้ยากบนโลกให้ได้หลุดพ้น
แต่พระกษิติครรภโพธิสัตว์จะการุณต่อสัตว์ในนรกภูมิให้รอดพ้นจากกองทุกข์ทรมาน ดังนั้น ด้วยความซาบซึ้งในพระมหากรุณาพระองค์จึงทำให้พระกษิติครรภโพธิ์สัตว์เป็นที่ศรัทธาของปวงชน จนเป็นสัญลักษณ์ของพระโพธิสัตว์ผู้มีมหาเมตตามาโปรดแก่สัตว์นรกให้พ้นจากบ่วงกรรม

          ดังนั้น ในพิธีศพของชาวจีนที่เรียกกันว่า “พิธีกงเต๊ก” จึงต้องมีรูปประดิษฐานของพระกษิติครรภโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะเชื่อกันว่า ด้วยพระมหาเมตตาของพระองค์จะช่วยนำทางแห่งธรรมให้แก่ดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิต ทำให้ดวงวิญญาณไปสู่ภพภูมิที่ดี ไม่ต้องตกขุมนรกอันแสนทุกข์ทรมาน

          ในขณะเดียวกัน ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระกษิติครรภโพธิสัตว์นั้นไม่ได้หมายความว่าพระองค์จะโปรดช่วยเฉพาะคนที่ตายไปแล้วเท่านั้น หากแต่พระองค์ย่อมช่วยทั้งคนที่ยังมีชีวิตอยู่ให้ตั่งมั่นอยู่ในความดี และผู้ตายไปแล้วไม่ให้หลงเหลืออยู่ในขุมนรกอีกต่อไป

สัญลักษณ์รูปเคารพขององค์พระกษิติครรภโพธิสัตว์จะมีอยู่ด้วยกันสองแบบ

          แบบแรกเป็นลักษณะของภิกษุหนุ่มที่เพิ่งออกบวช มีศีรษะที่ล้านเลี่ยน ทำให้แลดูมีใบหน้าที่อ่อนเยาว์ อันเปรียบเสมือนดั่งการตัดเรื่องทางโลกโดยสิ้นแล้ว พระหัตถ์ขวามักถือไว้ด้วยไม้เท้าพระธรรม เป็นความหมายว่าได้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์เป็นสรณะ

          ส่วนแบบที่สองนั้นเป็นแบบพระโพธิสัตว์ปางประทับนั่ง สวมหมวกภิกษุจีนที่เรียกว่า “มาลาห้าพุทธะ” พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท่าพระธรรม

          ตำนานเกี่ยวกับพระกษิติครรภโพธิสัตว์มีเล่าไว้แตกต่างกัน บ้างว่า แต่เดิมเมื่อชาติปางก่อน ท่านเป็นสตรี ถือกำเนิดเป็นพราหมณีบุตรี มารดาของนางเมื่อยังมีชีวิตอยู่ได้ก่อกรรมทำเข็ญไว้มากมาย ต่อเมื่อตายไป ดวงวิญญาณก็ได้ลงสู่นรกภูมิ ด้วยความกตัญญูของพราหมณีบุตรีที่ปรารถนาจะไถ่บาปให้แก่มารดา นางจึงเพียรสร้างบุญญาบารมี ทำบุญบริจาคทาน เพื่อส่งผลกุศลบุญไปให้แก่มารดา โดยตั้งจิตว่า แม้จะต้องแลกด้วยชีวิต ขอเพียงได้ช่วยมารดาก็ยินดี คำอธิษฐานของนางล่วงรู้ไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงชี้แนะให้นางเพียรสร้างกรรมดีอย่าละเลิก จนกระทั่งวันหนึ่ง พราหมณีบุตรีก็ได้นั่งสมาธิจนดวงวิญญาณได้ลงไปถึงนรกภูมิและทราบว่า กุศลผลบุญต่างๆ ที่ได้ทำไว้นั้น ช่วยส่งผลให้แก่วิญญาณของมารดาพ้นจากขุมนรกไปสู่สุคติแล้ว

          ตั้งแต่นั้นมา พราหมณีบุตรีจึงตั้งจิตขอบำเพ็ญบุญญาบารมีสืบไปจนชั่วชีวิต จนกระทั้งในชาติต่อมาจึงได้กำเนิดมาเป็นองค์พระกษิติครรภโพธิสัตว์

          ส่วนอีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า พระกษิติครรภโพธิสัตว์นั้น เดิมเป็นเจ้าชายนามว่า คิม เคียว กัก แห่งอาณาจักรชิลลา ได้ออกบวชเมื่ออายุ ๒๕ ปี โดยได้ออกเดินทางแสวงหาความสงบในป่าเขา จนกระทั่งถึงแถบที่ตั้งของภูเขาจิ่วหวาซานในประเทศจีน ได้ทรงเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ตั่งมั่นทำแต่กรรมดีจนเป็นที่เลื่องลือและศรัทธาจากมหาชน กล่าวกันว่า ท่านได้ละสังขารเมื่ออายุ ๙๙ พรรษา และร่างนั้นก็อยู่ในท่าประทับนั่งสมาธิโดยไม่เน่าเปื่อย บรรดาชาวบ้านจึงพร้อมใจกันศรัทธาและสร้างวัดเพื่อบูชาพระองค์สืบไป โดยเรียกนามของพระองค์ว่า พระกษิติครรภโพธิสัตว์ หรือในภาษาเกาหลีเรียกว่า พระชีจัง

          ในประเทศจีนเชื่อกันว่า พระกษิติครรภโพธิสัตว์สถิตอยู่ ณ เทือกเขาจิ่วหวาซาน ซึ่งเป็นหนึ่งใน ๔ ขุนเขาศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานปัจจุบันเทือกเขาจิ่วหวาซานตั้งอยู่ในเขตอำเภอชิงหยาง มณฑลอานฮุย กล่าวกันว่า ณ เทือกเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ในอดีตนั้น เคยเป็นที่ตั้งของวัดวาอารามมากกว่า ๓๐๐ แห่ง และเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาในประเทศจีนปัจจุบัน

          อนึ่ง ในทางพุทธศิลป์ฝ่ายมหายานนั้น พระกษิติครรภโพธิ์สัตว์เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญที่นิยมสร้างเป็นประติมากรรมแบบองค์สาม โดยตั้งประดิษฐานเรียงกันคือ พระศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นพระประธานที่อยู่กึ่งกลาง ทางเบื้องซ้ายเป็นพระอวโลกิเตศวร(กวนอิม) และเบื้องขวาเป็นพระกษิติครรภโพธิสัตว์ การจัดเรียงพระพุทธรูปแบบนั้น เรียกกันว่า ซวอผอซานเสิ้ง

 

คลิกฟังเสียง / ดาวน์โหลดเสียงพระธรรมเทศนา
>>>เรื่อง
'พลีกถา' ว่าด้วยการบูชาสงเคราะห์

คลิกฟังเสียง / ดาวน์โหลดวีดิทัศน์พระธรรมเทศนา
>>>เรื่อง 'พลีกถา' ว่าด้วยการบูชาสงเคราะห์


ภาพ / ข่าว : พระมหาผล วิเชฏฺฐสมโณ ผจล. วัดประยุรวงศาวาส
วีดิทัศน์ : พระมหาสุรชัย สุรทสฺสี ผจล. วัดประยุรวงศาวาส
ภาพ : น.ส.พ. ธรรมนำโลก
































































































































วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๕ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>6 ไฮไลต์ที่ต้องปักหมุดเที่ยว (ตามรอยบุพเพสันนิวาส ตอนที่ ๑)
>>>บุพเพสันนิวาส ๒” ที่เปิดตัวแรงสุด ๆ (ตามรอยบุพเพสันนิวาส ตอนที่ ๒)
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๕
>>>พิธีสมโภชวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ครบ ๑๙๔ ปี
>>>พิธีทอดกฐินพระราชทาน วัดประยุรวงศาวาส ประจำปี ๒๕๖๔
>>>ประเพณีลอยกระทงประทีปเทียนหอม วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๔
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทงประทีปเทียนหอม วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญร่วมทำบุญกฐินพระราชทานวัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๓
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลตักบาตรเทโวโรหณะ วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>ร่วมงานแถลงข่าว“River Festival 2020 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย”ครั้งที่ ๖
>>>๕ สมเด็จพระราชาคณะ ร่วมงานสมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๒ วิถีไทยต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทง วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๒
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๒
>>>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิดอาคาร "สิริภักดีธรรม"
>>>ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๑ วิถีไทยต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๒ วิถีพุทธ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๑ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๑
>>>แถลงข่าวการจัดงานสงกรานต์ประจำปี ๒๕๖๑ Water Festival 2018
>>>๓ สมเด็จพระราชาคณะ ร่วมเจริญพระพุทธมนต์งานสมโภชวัดประยูรฯ ๑๙๐ ปี
>>>เปิดงานสมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ อย่างอลังการ สืบสานวัฒนธรรมไทย
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>งาน"วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ๑๘๙ ปี"
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน"สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ"ปี ๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน"วันปีใหม่ วันเถลิงศก"วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘
>>>WaterFestival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำ วัดประยูร ฯ ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด"ประยูรฯวัดรั้วเหล็ก"๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ งานฉลองรางวัลยูเนสโก ๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์มีแกนกลางแบบอยุธยาได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน"วัดประยูรฯ ชนะเลิศอนุรักษ์
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศจากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส
>>>มส. มอบของยังชีพแก่ผู้ประสบอัคคีภัยชุมชนจอมทอง


 


ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (284 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (284 kb)

เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 | อ่าน 893
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
ข่าวเด่น อื่นๆ
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
การประชุมคณะกรรมการจัดงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน160)
16/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธาน และกล่าวธรรมกถา เรื่อง 'สงกรานต์ไทย:มรดกทางวัฒนธรรมของโลก' ในพิธีสรงน้ำพระเทศกาลประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗
เทศกาลประเพณีสงกรานต์ 'Bangkok River Festival 2024 เทศกาลวิถีน้ำวิถีไทย' ครั้งที่ ๙ 'สนุกอย่างดีงามก้าวข้ามปีใหม่ไทย' จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖ - ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ (เปิดอ่าน29)
15/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗
การประชุมคณะทำงานโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน302)
9/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานในการประชุมผู้บริหารศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ ครั้งที่ ๑ /๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
การประชุมผู้บริหารศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ ครั้งที่ ๑ /๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน285)
9/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เนื่องในเทศกาลประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
งานประเพณีสงกรานต์ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 'Water Festival 2024 เทศกาลวิถีน้ำ วิถีไทย สนุกอย่างดีงาม ก้าวข้ามปีใหม่ไทย' ระหว่างวันที่ ๖-๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ (เปิดอ่าน250)
9/4/2567
พระพรหมบัณฑิต แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถ เรื่อง 'โลกปาลกถา' ว่าด้วยธรรมะคุ้มครองโลก ในวันธรรมสวนะ (วันพระแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) เป็นพระธรรมเทศนาแสดงกัณฑ์ที่ ๑๑ ปี ๒๕๖๗
การแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถในวันธรรมสวนะ วันพระแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ณ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน347)
8/4/2567
พระพรหมบัณฑิต รับพระราชทานแสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง 'จิตตุปบาทกถา' ว่าด้วยความคิดริเริ่ม ในพิธีสมโภชพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) ครบ ๗๐๐ ปี ณ วัดพนัญเชิงวรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พิธีสมโภชพระพุทธไตรรัตนนายก (หลวงพ่อโต) ครบ ๗๐๐ ปี ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเป็นพระราชกุศลถวายพระพรชัยมงคลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน163)
5/4/2567
พระพรหมบัณฑิต ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง 'เทศนาธรรม ๔ ภาค เฉลิมพระเกียรติ' ในการจัดเทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย ครั้งที่ ๒ (หนเหนือ)
เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย ครั้งที่ ๒ (หนเหนือ) เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน191)
4/4/2567
สุดอลังการและยิ่งใหญ่การจัดเทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย ครั้งที่ ๒ (หนเหนือ) เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗
เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย ครั้งที่ ๒ (หนเหนือ) เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน127)
4/4/2567
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 86 คน
วันนี้ 635 คน
เมื่อวานนี้ 1,931 คน
เดือนนี้ 33,926 คน
เดือนที่ผ่านมา 38,662 คน
ทั้งหมด 2,622,165 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob