วิจัย 'มจร' พบโจรใต้ป่วน 'วิถีพระเปลี่ยน'
เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๖ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.๙, ศ.,ดร.) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ กรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าคณะภาค ๒, เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิดงานสัมมนาผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่น ซึ่งจัดโดยบัณฑิตวิทยาลัยและสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีพระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไปร่วมกว่า ๑,๐๐๐ รูป/คน และน.ส.สิเรียม ภักดีดํารงฤทธิ์ ในฐานะนักศึกษาปริญญาโททำหน้าที่เป็นพิธีกรแนะนำเข้าสู่รายการ
พระพรหมบัณฑิต กล่าวว่า การทำวิจัยและวิทยานิพนธ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท และเอก แต่เมื่อทำแล้วจะทำอย่างไรไม่ให้อยู่บนหิ้ง จึงจะต้องมีการประเมินและเผยแพร่ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ เพื่อให้มีการนำไปบูรณาการใช้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่ขอแนะก็คือว่างานวิจัยต่างๆของ มจร. นั้นจะต้องมีการประยุกต์หลักธรรมเป็นสำคัญเพราะไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างกับสถาน การศึกษาต่างๆและไม่เด่น
ในงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่นที่นำเสนอครั้งนี้มีเรื่อง “การศึกษาผลกระทบต่อการปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุ สามเณรในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้” รวมอยู่ด้วย ซึ่งพบว่า เหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้มีผลกระทบต่อพระสงฆ์ในพื้นที่ทั้งในด้านวิถีการดำรง ชีวิตที่มีความยากลำบากมากขึ้น เช่น การเดินทางสัญจร การระมัดระวังการดำรงชีวิต ด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ด้านการเผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาลดลงไม่สามารถดำเนินการได้อย่างกว้าง ขวาง และด้านการสังคมสงเคราะห์ก็เป็นไปอย่างลำบากและเป็นห่วงชาวบ้านทุกคน พระสงฆ์และชุมชนได้เสนอแนวทางในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติศาสนกิจ คือ จัดให้มีกำลังทหารคอยให้ความคุ้มกันให้ความปลอดภัยเมื่อบิณฑบาตและประกอบ พิธีกรรมตลอดจนปฏิบัติศาสนกิจอื่นๆ ด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็มีการปรับเปลี่ยนเวลาและลดขั้นตอนลงเพื่อ ความปลอดภัยโดยต้องประกอบพิธีกรรมทางศาสนาทุกอย่างให้เสร็จก่อนค่ำ ส่วนการเผยแผ่หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้มีการเผยแผ่เฉพาะในวัดและปรับ เปลี่ยนรูปแบบในการเผยแผ่โดยใช้วิทยุชุมชน หรือเผยแผ่โดยใช้สื่อหนังสือหรือซีดีธรรมะแก่ประชาชนแทน นอกจากนี้ พระสงฆ์ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐและเอกชนต่อการปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสามเณร ในพื้นที่ เช่น ต้องการให้รัฐช่วยดูแลความปลอดภัยในการดำรงชีวิตและปฏิบัติศาสนกิจ ต้องการให้ช่วยด้านสวัสดิการ ดูแลด้านสาธารณสุข และปัจจัยสี่ตามเหมาะสม และ ต้องการให้รัฐร่วมเป็นเจ้าภาพในการประกอบพิธีกรรมที่สำคัญทางศาสนาทุก กิจกรรม รองศาสตราจารย์สมบูรณ์ บุญฤทธิ์ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวในการเสนอผลงานวิจัยว่า จากการเก็บข้อมูลมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่มีเหตุการณ์ไม่สงบพบว่า ประชาชนทุกศาสนาได้รับผลกระทบจากเหตุความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะพระภิกษุ และสามเณรมีผลกระทบต่อการปฏิบัติศาสนกิจจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งในด้านวิถีการดำรงชีวิต ด้านการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ด้านการเผยแผ่หลักคำสอนทางพุทธศาสนา และด้านการสังคมสงเคราะห์ต่างๆ โดยพระสงฆ์ยอมรับว่า รู้สึกไม่เหมือนเดิมที่เคยอยู่แบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นความหวาดระแวงต่อการใช้ชีวิตท่ามกลางความไม่ปลอดภัย แต่รู้สึกไม่หนักใจในการปฏิบัติหน้าที่ ทางด้านพระมหาวิเชียร วชิรธมฺโม ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี กล่าวว่า ในปีนี้ทาง ม.มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมมือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ได้มีการพัฒนาโครงการกับคณะสงฆ์และชุมชนในพื้นที่ปัตตานี ยะลา และสงขลา เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างความสงบ สุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ส่วนศาสตราจารย์สุริชัย หวันแก้ว ผู้อำนวยศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การส่งเสริมการสร้างกระบวนการสันติภาพที่สร้างสรรค์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย ถือเป็นอีกหนึ่งบทบาทของสถาบันการศึกษาที่น่าชื่นชมและเป็นอีกความหวังหนึ่ง ที่จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ที่เกิด ขึ้นอยู่ในสังคมไทย แต่ปัจจุบันนี้ฝ่ายที่ก่อการมักสร้างเหตุการณ์ให้ได้รับความสนใจจากสื่อมวล ชนความรุนแรงจึงเพิ่มขึ้น วันอาทิตย์ ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๖
เขียนเมื่อ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 | อ่าน 4599 เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร