แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
เปิดสมัครพระนักเทศน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
เรื่องน่าสนใจ
 

รู้ให้ชัดก่อนฉีดวัคซีน COVID-19


วัดประยุรวงศาวาส|กิจกรรมงานวัด'๖๔
>>>ขอเชิญร่วมสวดมนต์ข้ามปี วิถีออนไลน์ สไตส์นิวนอร์มอล ต้อนรับปี ๒๕๖๔
>>>สวดมนต์ข้ามปี วิถีออนไลน์ สไตส์นิวนอร์มอล ปี ๒๕๖๔
>>>ระเบียบวิธีปฏิบัติการป้องกันโรคระบาดโคโรนา (COVID-19)
>>>คณะสงฆ์วัดประยูรฯ เยี่ยมไข้พระสมุห์ประยูร อภิปุญฺโญ ที่สุพรรณบุรี
>>>ขอเชิญร่วมปฏิบัติธรรม เนื่องใน 'วันมาฆบูชา' ๒๕๖๔
>>>รายนามผู้ร่วมบริจาคทำบุญอุทิศถวายพระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจนมหาเถร) ปี'๖๔
>>>สนามสอบบาลีสนามหลวงชั้นประโยค ป.ธ.๓
>>>รับการถวายภัตตาหาร สิ่งของพระราชทาน เพื่อถวายแก่นักเรียนสอบ ป.ธ.๓ วันแรก
>>>รับการถวายภัตตาหาร สิ่งของพระราชทาน เพื่อถวายแก่นักเรียนสอบ ป.ธ.๓ วันที่ ๒
>>>รับการถวายภัตตาหาร สิ่งของพระราชทาน เพื่อถวายแก่นักเรียนสอบ ป.ธ.๓ วันที่ ๓

เรื่องน่าสนใจ' ๖๔
>>>คนเห็นแก่ตัว
>>>การฉีดวัคซีน COVID-19

 

          การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องทำควบคู่ไปกับการสวมหน้ากาก เว้นระยะห่าง ล้างมือให้บ่อย และเลี่ยงพื้นที่แออัด ดังนั้นก่อนฉีดวัคซีน COVID-19 ควรรู้และเข้าใจข้อมูลให้ถูกต้อง
 
โรค COVID-19

          โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาซาร์โควี-2 (SAR-CoV-2) เป็นการแพร่เชื้อไวรัสจากคนสู่คน โดยได้รับเชื้อละอองฝอย (Droplets) จากการไอหรือจาม การสัมผัสสารคัดหลั่ง (Contact) เช่น น้ำลาย น้ำมูก เสมหะ เป็นต้น

          ผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการใด ๆ บางรายอาจมีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ รู้สึกเหมือนมีไข้ เจ็บคอ และบางรายอาจมีอาการรุนแรง เช่น ติดเชื้อรุนแรงในปอด หรือมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ จะมีอัตราการเกิดอาการรุนแรงที่สูงกว่าผู้ที่มีอายุน้อยและสุขภาพแข็งแรง เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะเวลาฟักตัว (ตั้งแต่ได้รับเชื้อไปจนถึงแสดงอาการ) ประมาณ 2 – 14 วัน จึงได้มีการกำหนดมาตรการให้กักตัวผู้มีความเสี่ยงสูงเมื่อสัมผัสผู้ติดเชื้อเป็นเวลา 14 วัน  
วัคซีน COVID-19

          โดยปกติเมื่อเชื้อโรคทุกชนิดเข้าสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีวิธีจัดการเชื้อหลายแบบ หนึ่งในนั้นคือเม็ดเลือดขาวชนิด Macrophage จะกลืนเชื้อเข้าไปและทิ้งเศษซากเชื้อบางส่วนไว้เรียกว่า แอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะรับรู้ว่าแอนติเจนคือสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างแอนติบอดี (Antibody) มาจัดการสิ่งแปลกปลอมนั้น รวมถึงมีเม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งที่จำว่าเชื้อโรคนี้คือสิ่งแปลกปลอม ถ้าหากได้รับเชื้อในอนาคตร่างกายจะสามารถจดจำและจัดการได้ การทำงานของวัคซีนเป็นไปในลักษณะเดียวกัน

          วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสนี้ขึ้นมา ช่วยป้องกันการติดเชื้อหากได้รับเชื้อในอนาคต แต่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่งหลังฉีดวัคซีนร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ การฉีดวัคซีนผู้รับวัคซีนยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม เป็นต้น

          วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันทุกคนที่ฉีดจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่พบว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคได้ และยังไม่มีข้อมูลว่าเมื่อฉีดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโควิด-19 ได้นานเท่าไร รวมถึงไม่มีข้อมูลว่าผลการฉีดวัคซีนให้ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือผู้ที่ใช้ยากดภูมิคุ้มกันนั้น ทำให้ภูมิต่อไวรัสโควิด-19 มีผลลดลงกว่าในคนปกติหรือไม่

 

ชนิดของวัคซีน COVID-19

          จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก มีการคิดค้นวัคซีนโควิด-19 โดยหลายบริษัทผู้ผลิตและหลายรูปแบบ วิธีการผลิตวัคซีนหรือที่มาของวัคซีนมีหลายวิธีการ แต่ทั้งหมดคือให้ต่อต้านไวรัสโคโรนาซาร์โควี-2 (SAR-CoV-2) ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายเพื่อไปก่อโรคได้ โดยที่ไวรัสนี้จะมีส่วนที่เป็นไกลโคโปรตีนยื่นออกจากเซลล์เรียกว่าสไปค์ (Spike) จะไปจับกับตัวรับ (Receptor) ที่อยู่บนเซลล์ในร่างกาย เช่น ที่ทางเดินหายใจหรือลำไส้ เมื่อจับกันแล้วไวรัสก็จะเข้าสู่ร่างกายและไปก่อโรค โดย 4 วิธีการที่มีการผลิตมากที่สุด ได้แก่

          messenger RNA (mRNA) vaccine เป็นวัคซีนที่มีส่วนที่กำกับการสร้างโปรตีนของไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะสร้างโปรตีนชนิดนั้นขึ้นมาและทำลาย mRNA ที่ฉีดเข้าไป จากนั้นร่างกายจะรับรู้ว่าโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา


    Viral Vector เป็นวัคซีนที่ตัดต่อทางพันธุกรรมโดยการใช้สารทางพันธุกรรมของไวรัส SAR-CoV-2 ใส่เข้าไปในตัวไวรัสชนิดอื่นที่ไม่ก่อโรค (เรียกไวรัสนี้ว่า Viral Vector) เมื่อฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกายแล้ว Viral Vector จะพาเอาสารพันธุกรรมนั้นเข้าไปในเซลล์ของเรา ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนที่จำเพาะต่อเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ขึ้นมา จากนั้นร่างกายจะรับรู้ว่าโปรตีนที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา


          Inactivated Virus Vaccine หรือวัคซีนเชื้อตาย ผลิตโดยการเลี้ยงไวรัสชนิดนี้ให้ได้ปริมาณมากแล้วมาทำให้ตายด้วยสารเคมีหรือความร้อน เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา


    Protein Subunit Vaccine เป็นการผลิตวัคซีนมาจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อฉีดวัคซีนแล้วร่างกายจะรับรู้ว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมและจะสร้างระบบภูมิคุ้มกันขึ้นมา

 

ใครควรได้รับวัคซีน

          บุคคลทั่วไปควรได้รับวัคซีน แต่ขณะนี้มีการผลิตวัคซีนได้ในจำนวนจำกัดและมีข้อมูลการฉีดในประชากรบางกลุ่มเท่านั้น กรมควบคุมโรคจึงกำหนดกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับวัคซีนตามลำดับ เริ่มจากพื้นที่ที่มีการระบาดก่อน ได้แก่

      - บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
      - ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
      - ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ข้อมูล ณ วันที่ 3 มีนาคม 2564 ประชากรกลุ่มนี้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้บางชนิดเท่านั้น)
      - เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 เช่น อสม./อสต. ทหาร ตำรวจ จะต้องคัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศและในพื้นที่ที่มีการระบาด

 

***ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเรื่องการให้วัคซีนในเด็กต่ำกว่า 18 ปี หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร แพทย์อาจจะพิจารณาความจำเป็นเป็นราย ๆ ไป ถ้าเห็นว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนจะได้รับประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง

 

วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย

วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มีนาคม 2564) มี 2 ชนิดคือ

           วัคซีนป้องกันโควิด-19 แอสตร้าเซนเนกา (COVID-19 Vaccine AstraZeneca) เป็นวัคซีนแบบ Viral Vector  ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีดเข้ากล้ามครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 4 – 12 สัปดาห์


           CoronaVac หรือ Sinovac COVID-19 vaccine เป็นวัคซีนเชื้อตาย (Inactivated Vaccine) ฉีดในผู้ที่มีอายุ 18 – 59 ปี โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งละ 0.5 มิลลิลิตร (แนะนำให้ฉีดบริเวณต้นแขน) โดยฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งที่ 2 ฉีดห่างจากครั้งแรก 2 – 4 สัปดาห์ (ผู้ที่อยู่บริเวณความเสี่ยงสูงหรือระบาดรุนแรงแนะนำให้ฉีดครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรก 2 สัปดาห์)

          ***เมื่อฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดในครั้งแรกแล้ว ควรมารับวัคซีนครั้งที่ 2 ให้ครบถ้วนตามกำหนดเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการป้องกันโรค ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลประสิทธิภาพการฉีดวัคซีนครั้งที่ 1 และ 2 คนละชนิดกันได้ผลเป็นอย่างไร จึงยังไม่มีคำแนะนำในการสลับการฉีดคนละยี่ห้อ และยังไม่มีข้อมูลว่าควรฉีดกระตุ้นภูมิเมื่อใดหลังจากฉีดวัคซีนครบ 2 ครั้งแล้ว
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น

 

ผู้ที่รับวัคซีนอาจมีอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนหรือไม่มีก็ได้ อาการข้างเคียงที่อาจพบได้มีดังนี้

          อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ปวด บวม แดง คัน หรือช้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย และรู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะเล็กน้อย อาการคล้ายมีไข้  คลื่นไส้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ


          อาการที่พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อย เช่น มีไข้ มีก้อนที่บริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ไอ เป็นต้น

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน

          มีประวัติแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน หรือผู้ที่ฉีดเข็มแรกแล้วมีอาการแพ้รุนแรง เช่น หายใจติดขัด (Shortness of Breath) มีอาการบวมที่หน้า ลิ้น หรือในทางเดินหายใจ เป็นต้น


ข้อควรระวัง

สิ่งที่ต้องแจ้งบุคลากรทางการแพทย์ก่อนฉีดวัคซีน ได้แก่

    - มีประวัติการแพ้ยา วัคซีน อาหาร สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ อย่างรุนแรงหรือจนเป็นอันตรายต่อชีวิต
    - มีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียสในวันที่นัดฉีดวัคซีน
    - มีรอยช้ำ หรือจ้ำเลือด หรือเลือดออกผิดปกติ หรือใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดอยู่ เช่น วาร์ฟาริน
    - ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำหรือใช้ยากดภูมิคุ้มกันอยู่ เช่น สเตียรอยด์ขนาดสูง ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยากดภูมิคุ้มกัน
    - อาการข้างเคียงทุกชนิดจากการฉีดวัคซีนชนิดนี้ในเข็มแรก
    - ตั้งครรภ์ หรือมีแผนจะตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร

***อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น มีไข้เล็กน้อย แพทย์อาจให้ฉีดวัคซีนได้โดยไม่จำเป็นต้องเลื่อนการฉีด กรณีเจ็บป่วยรุนแรงแพทย์อาจเลื่อนการฉีดออกไปก่อน โดยพิจารณาจากอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
การปฏิบัติตัวหลังได้รับวัคซีน

          ผู้ฉีดวัคซีนจะต้องอยู่เฝ้าสังเกตอาการที่สถานพยาบาลหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 30 นาที โดยระหว่างนั้นและหลังจากนั้นให้สังเกตอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นตามข้างต้น และให้แจ้งอาการข้างเคียงทุกอย่างที่เกิดขึ้นแก่แพทย์ พยาบาล เภสัชกรด้วย เนื่องจากวัคซีนนี้เป็นวัคซีนชนิดใหม่อาจจะมีบางอาการที่ยังไม่พบตามข้างต้น หากมีอาการเล็กน้อย เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ต่ำ ๆ สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้ หากมีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะรุนแรง ให้มาพบแพทย์โดยทันที และให้เก็บบันทึกการฉีดวัคซีนไว้เป็นหลักฐานด้วย  

          ตั้งแต่เริ่มมีการพบเชื้อไวรัส COVID-19 ในปลายปี พ.ศ. 2562 นอกจากการสูญเสียชีวิตยังเกิดผลกระทบหลายอย่างตามมาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม การคิดค้นวัคซีนเพื่อป้องกันโรคจึงเป็นหนทางสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยลดการติดเชื้อและความสูญเสีย ซึ่งปัจจุบันวัคซีนโควิด-19 ยังต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยทิศทางงานวิจัยในอนาคต คือ ค้นคว้าวิจัยหายารักษาให้ได้และหาวัคซีนที่ได้ผลดีต่อเชื้อทุกสายพันธุ์อย่างปลอดภัย


References

    - World Health Organization (WHO) [Internet] [Cited 2021 February 28] Status of COVID-19 Vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process. Available from: https://extranet.who.int/pqweb/sites/default/files/documents/Status_COVID_VAX_01March2021.pdf
    - World Health Organization (WHO) [Internet] [Cited 2021 March 3]  COVID-19 – Landscape of novel coronavirus candidate vaccine development worldwide. Available from : https://www.who.int/publications/m/item/draft-landscape-of-covid-19-candidate-vaccines
     - World Health Organization (WHO) [Internet] [Cited 2021 March 3] ROADMAP FOR PRIORITIZING POPULATION GROUPS FOR VACCINES AGAINST COVID-19. Update 27 September 2020. Available from https://www.who.int/immunization/sage/meetings/2020/october/Session03_Roadmap_Prioritization_Covid-19_vaccine.pdf
     - Package leaflet. Information for the recipient COVID-19 Vaccine AstaZeneca solution for injection. Update December 2020
     - Centers for Disease Control and Prevention (CDC) [Internet] [Cited 2021 March 1] COVID-19 Vaccine: Helps protect you from getting COVID-19. Available from:  https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/index.html
     - Centers for Disease Control and Prevention (CDC) [Internet] [Cited 2021 March 1] Understanding How COVID-19 Vaccines Work Updated Jan. 13, 202.  Available from : https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/how-they-work.html
     - กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [ internet] [Cited 2021 February 20]  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq_more.php
     - กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.  แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาดปี 64 ของประเทศไทย. กุมภาพันธ์ 2564

 

คลิก>>>ข้อมูลอ้างอิงจากโรงพยาบาล
 


วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทงประทีปเทียนหอม วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญร่วมทำบุญกฐินพระราชทานวัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๓
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลตักบาตรเทโวโรหณะ วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๓
>>>ร่วมงานแถลงข่าว“River Festival 2020 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย”ครั้งที่ ๖
>>>๕ สมเด็จพระราชาคณะ ร่วมงานสมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๒ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๒ วิถีไทยต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๓
>>>ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทง วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๒
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๒
>>>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเปิดอาคาร "สิริภักดีธรรม"
>>>ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๑ วิถีไทยต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๒ วิถีพุทธ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๑ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์'วัดประยุรวงศาวาส ปี ๒๕๖๑
>>>แถลงข่าวการจัดงานสงกรานต์ประจำปี ๒๕๖๑ Water Festival 2018
>>>๓ สมเด็จพระราชาคณะ ร่วมเจริญพระพุทธมนต์งานสมโภชวัดประยูรฯ ๑๙๐ ปี
>>>เปิดงานสมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ อย่างอลังการ สืบสานวัฒนธรรมไทย
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๐ ปี วัดประยูรฯ" ฝั่งธน กรุงเทพฯ
>>>งาน"วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ๑๘๙ ปี"
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน"สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ"ปี ๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน"วันปีใหม่ วันเถลิงศก"วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘
>>>WaterFestival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำ วัดประยูร ฯ ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด"ประยูรฯวัดรั้วเหล็ก"๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ งานฉลองรางวัลยูเนสโก ๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์มีแกนกลางแบบอยุธยาได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน"วัดประยูรฯ ชนะเลิศอนุรักษ์
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศจากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส
>>>มส. มอบของยังชีพแก่ผู้ประสบอัคคีภัยชุมชนจอมทอง


 


ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (4 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (4 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (4 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (4 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (4 kb)

เขียนเมื่อ 8 เมษายน พ.ศ. 2564 | อ่าน 33591
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
เรื่องน่าสนใจอื่นๆ
การเรียนบาลีแบบยอดด้วน
การเรียนบาลีของเราผิดพลาดถึงขั้นหลงทางหรือยอดด้วน เพราะเราเรียนตามหลักสูตรเพื่อให้จบตามหลักสูตร ได้ศักดิ์และสิทธิ์ตามชั้นประโยค แล้วด้วนอยู่เพียงแค่นั้น (เปิดอ่าน365)
6/4/2567
ทุกคนต้องรู้จัก ฟังความคิดเห็น รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่นบ้าง
นับเป็นหัวใจสำคัญของเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทุกอย่าง จะประสบความสำเร็จหรือราบรื่นได้ (เปิดอ่าน7617)
30/10/2565
เอาใจเขามาใส่ใจเรา
การที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากคิดที่จะทำอะไรสักอย่างกับผู้อื่น ให้นึกถึงความรู้สึกของเขา โดยสมมติว่าหากตนเองถูกกระทำเช่นนั้นจะรู้สึกอย่างไร (เปิดอ่าน8752)
30/10/2565
อินเดียเจอมาแล้ว...ไทยอย่าเป็นรายต่อไป!! ป.อ. ปยุตโต ชี้ชัด
"ใครทำให้พุทธอินเดียถึงกาลอวสาน?" ... พุทธไทยรู้แล้วอย่าให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย!! (เปิดอ่าน21543)
30/11/2564
รู้ให้ชัดก่อนฉีดวัคซีน COVID-19
การฉีดวัคซีน COVID-19 ได้รับการยืนยันแล้วว่าช่วยสร้างภูมิคุ้มกันโรค COVID-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เปิดอ่าน33592)
8/4/2564
คนเห็นแก่ตัว แก่พวก แก่พ้อง
คนเห็นแก่ตัวคือ คนที่คิด พูด ทำ เพื่อประโยชน์ตนทั้งสิ้น ไม่คำนึงถึงประโยชน์ผู้อื่นเลย (เปิดอ่าน51523)
17/3/2564
นักวิจัยพบเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์แล้ว 33 สายพันธุ์ ยิ่งพัฒนาวัคซีนยาก ชี้สายพันธุ์ยุโรปร้ายแรงสุด
นักวิจัยพบไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กลายพันธุ์แล้วกว่า 33 สายพันธุ์ โดยการกลายพันธุ์เกิดตามสภาพการติดต่อของแต่ละพื้นที่ของโลก (เปิดอ่าน40237)
23/4/2563
โควิด-19 (ไวรัสโคโรนา) vs ไข้หวัดธรรมดา ต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างของ ไข้หวัดธรรมดา และ โควิด-19 (โคโรนาไวรัส) (เปิดอ่าน39361)
22/4/2563
วิจัยย้ำ! "ไม่ได้กลิ่น-ไม่รู้รส" เป็นอาการ "โควิด-19" ที่พบได้ชัดเจนกว่าอื่นๆ
งานวิจัยชิ้นล่าสุดย้ำ หากไม่ได้กลิ่น และไม่รู้รสชาติ อาจเป็นอาการโควิด-19 ที่พบได้ก่อนจะมีไข้ ไอ จาม เสียอีก (เปิดอ่าน24206)
22/4/2563
สรุปทุกเรื่อง “ไวรัสโคโรนา” หรือ “โควิด-19” คืออะไร? อาการเป็นอย่างไร?
เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 (เปิดอ่าน39129)
22/4/2563
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 132 คน
วันนี้ 523 คน
เมื่อวานนี้ 2,018 คน
เดือนนี้ 43,626 คน
เดือนที่ผ่านมา 38,662 คน
ทั้งหมด 2,631,865 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob