การเรียนบาลีแบบยอดด้วน
วัดประยุรวงศาวาส|กิจกรรมงานวัด'๖๗ >>>พิธีสวดมนต์ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ รับความเป็นสิริมงคล ปี ๒๕๖๗ >>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๖ ปี วัดประยูรฯ" กรุงเทพฯ >>>ขอเชิญเที่ยวงาน "สงกรานต์ วัดประยูรฯ" ปี ๒๕๖๗
[ไตรมาสที่ ๑]|คณะสงฆ์|วัดประยูรฯ|พระธรรมเทศนา'๖๗|พระพรหมบัณฑิต >>>[ปาฐกถา] ๐๐๑ 'ตั้งสัจจกิริยาและสัจจาธิฏฐานรับปีใหม่' >>>[บรรยาย] ๐๐๒ 'ปรับใจเริ่มชีวิตใหม่' >>>[สัมโมทนียกถา] ๐๐๓ 'เริ่มปีใหม่ดีมีความสำเร็จไปกว่าครึ่ง' >>>[ประธาน] สัมมนา 'พลิกโฉมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างศาสนทายาทฯ' >>>[บรรยาย] ๐๐๔ 'บทบาทของวัดกับการพัฒนาชุมชน' >>>[สัมโมทนียกถา] ๐๐๕ 'พาย้อนวันวาน งานสมโภชวัดประยูรฯ' >>>[พิธี] สมโภชพระอาราม ๑๙๖ ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ปี ๒๕๖๗ >>>[เวทีเสวนา] ๓ ศาสนา 'ศาสนธรรมกับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน' >>>[บรรยาย] ๐๐๖ 'ทุนเล่าเรียนหลวงเพื่อสัปปายะในการศึกษาและปฏิบัติธรรม' >>>[เข้ารับการถวาย] ทุนการศึกษาพระราชทานฯ ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ >>>[บรรยาย] ๐๐๗ 'บวร กับการพัฒนาชุมชนย่านกะดีจีน' >>>[บรรยาย] ๐๐๘ 'ศาสตร์แห่งการตีความในพระพุทธศาสนา' >>>[บรรยาย] ๐๐๙ 'โลกยุคใหม่หัวใจที่เป็นบวก' >>>[บรรยาย] ๐๑๐ 'ความเป็นมาของเทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย' >>>[บรรยาย] ๐๑๑ 'พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน' >>>[สัมโมทนียกถา] ๐๑๒ 'พรหมวิหารมีพร้อมความอิ่มใจก็พรั่งพรู' >>>[ประชุม] คณะอนุกรรมการจัดทำอนุบัญญัติ ประกอบพระราชบัญญัติการศึกษา >>>[บรรยาย] ๐๑๓ 'ธรรมะรับปีใหม่ ๒๕๖๗' >>>[ประชุม] คณะทำงานติดตามและประสานงานกลุ่มการจัดทำพระไตรปิฎก >>>[บรรยาย] ๐๑๔ 'การตั้งสมณศักดิ์แต่ละครั้งเป็นเหมือนการเกิดใหม่'] >>>[บรรยาย] ๐๑๕ 'จริยธรรมกับการบริหารประเทศ' >>>[บรรยาย] ๐๑๖ 'หลักธรรมและการพัฒนาจิตเพื่อการเป็นอัยการที่ดี' >>>[ปาฐกถา] ๐๑๗ 'ประวัติศาสตร์มีไว้เตือนใจคน' >>>[ปาฐกถา] ๐๑๘ 'ทำดีอย่างไรให้ได้ดี' >>>[บรรยาย] ๐๑๙ 'พระสงฆ์ไทยพระสงฆ์โลก : การเผยแผ่เชิงรุก' >>>[ร่วมเสวนา] ๐๒๐ 'เปลี่ยนการศึกษาไทย พลิกโฉมใหม่ให้ประเทศ' >>>[บรรยาย] ๐๒๑ 'หลักไตรสิกขากับการศึกษาสถานศึกษา' >>>[ประธาน] พิธีเวียนเทียน"วันมาฆบูชา" ปี ๒๕๖๗ >>>[ปาฐกถา] ๐๒๒ 'ขยายผลจากหมู่บ้านศีล ๕ สู่หมู่บ้านศีลธรรม' วส.ลำพูน >>>[ประชุม] กรรมการวิชาการ โครงการ “เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย” ในหนเหนือ >>>[พิธีต้อนรับ] การเข้าร่วมการประชุมของสภาสงฆ์โลก ครั้งที่ ๑๑ นิวซีแลนด์ >>>[พิธีเปิด] เข้าร่วมการประชุมของสภาสงฆ์โลก ครั้งที่ ๑๑ นิวซีแลนด์ >>>[ปาฐกถา] 001 A Buddhist Perspective on Environmental Restoration for Harmonious Coexistence >>>[พิธีปิด] เข้าร่วมการประชุมของสภาสงฆ์โลก ครั้งที่ ๑๑ นิวซีแลนด์ >>>[เมืองออคแลนด์] ชมทัศนียภาพและเยี่ยมวัดญาณประทีป >>>[เสนอ] (ร่าง) แผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและจิตอาสา >>>[สัมโมทนียกถา] 002 Compare the Mahayana Malai with Theravada Malai' >>>[สัมปสาทนียกถา] ๐๒๓ 'พื้นที่สร้างแรงกายและเสริมแรงใจ' >>>[ประชุม] คณะกรรมการการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ >>>[ประชุม] คณะกรรมการกองทุนเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ >>>[บรรยาย] ๐๒๔ 'แบบแผน แบบอย่าง แบบฉบับ' >>>[ต้อนรับ] คณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร >>>[ประชุม] รับทราบการดำเนินงานติดตั้งระบบรองรับการเผยแผ่ฯ >>>[บรรยาย] ๐๒๕ 'พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ฯ' >>>[ตรวจติดตาม] การใช้งานระบบ AI เทคโนโลยี “ห้องเรียนเสมือนจริง” >>>[ประชุม] คณะกรรมการวิชาการ โครงการ ''เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย >>>[บรรยาย] ๐๒๖ 'พระอุปัชฌาย์ต้องเป็นแบบที่ดี' >>>[ประชุม] คณะกรรมการ ICDV&IABU ครั้งที่ ๑/๒๕๖ >>>[ร่วมประชุม] วันวิสาขบูชาโลกกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี >>>[เป็นพระอุปัชฌาย์] โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่นที่ ๑๖ >>>[บรรยาย] ๐๒๗ 'เมตตาช่วยลดปัญหาความเครียด' วัดมเหยงคณ์ >>>[บรรยาย] ๐๒๘ 'พุทธนวัตกรรมกับการสร้างสังคมสันติสุขอย่างยั่งยืน' >>>[บรรยาย] ๐๒๙ 'พุทธจิตวิทยากับการแก้ปัญหาชีวิต' >>>[ต้อนรับ] คณะผู้แทนศูนย์กลางแนวลาวสร้างชาติ (สปป.ลาว) >>>[สัมโมทนียกถา] ๐๓๐ 'ทุนนิธิช่วยลดกังวลและส่งเสริมให้สำเร็จการศึกษา'
[ไตรมาสที่ ๒]|คณะสงฆ์|วัดประยูรฯ|พระธรรมเทศนา'๖๗|พระพรหมบัณฑิต >>>[บรรยาย] ๐๓๑ 'ผูกไมตรีอย่ารู้ร้าง สร้างกุศลอย่ารู้โรย' >>>[บรรยาย] ๐๓๒ 'การบริหารด้วยปัญญาและคุณธรรม' วส.ลำพูน
การเรียนบาลีแบบยอดด้วน ---------------------------- กรณีหลักสูตรการเรียนบาลีของคณะสงฆ์ไทยที่กำลังวิจารณ์กันในเวลานี้ จับประเด็นได้ว่า ๑ มีผู้วิจารณ์ว่า ตามหลักสูตรตั้งแต่ประโยค ๑-๒ ถึง ป.ธ.๙ นักเรียนบาลีเรียนพระไตรปิฎกน้อยไป หรือแทบจะไม่ได้เรียนเลย ๒ มีผู้วิจารณ์แตกประเด็นออกไปอีกว่า นักเรียนบาลีที่จบ ป.ธ.๙ ตามหลักสูตรและตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ทำกันอยู่ ไม่ได้เป็นผู้ทรงภูมิรู้สูงและสุดยอดในพระพุทธศาสนาอย่างที่ยกย่องกัน ขอจับแค่ ๒ ประเด็นนี้ก่อน ......................................................... ตามข้อ ๑ คือยังคงมีความคิดหรือความเข้าใจกันอยู่ว่า พระไตรปิฎกนั้นเรียนกันเฉพาะในหลักสูตรการเรียนบาลีเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือเข้าใจกันว่า หลักสูตรการเรียนบาลีของเราเปิดขึ้นมาเพื่อเรียนพระไตรปิฎก ครั้นพอตรวจสอบดูแล้ว พบว่าเรียนตัวพระไตรปิฎกน้อยอย่างยิ่ง หรือแทบจะไม่ได้เรียนเลย ก็จึงยกขึ้นมาวิจารณ์ ตามข้อ ๒ คือยังคงมีความคิดหรือความเข้าใจกันอยู่ว่า หลักสูตรการเรียนบาลีของเราเปิดขึ้นมาเพื่อสอนพระภิกษุสามเณรหรือผู้เรียนบาลีให้เป็นผู้ทรงภูมิรู้เชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา ครั้นพอตรวจสอบดูแล้ว พบว่า กระบวนการเรียนการสอนบาลีทุกชั้นไม่มีขั้นตอนใด ๆ ที่เป็นการฝึกฝนอบรมบ่มเพาะให้นักเรียนบาลีเป็นผู้ทรงภูมิรู้เชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา ก็จึงยกขึ้นมาวิจารณ์ ......................................................... ผมพิจารณาแล้วเห็นว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนบาลีของคณะสงฆ์ไทยก็ดี ข้อวิจารณ์ทั้ง ๒ ประเด็นก็ดี ถ้าเรียกให้สุภาพก็ว่าเป็นการมองต่างมุม แต่ถ้าพูดกันตรง ๆ ก็ต้องบอกกันตรง ๆ ว่าเป็นการมองการเรียนบาลีแบบยอดด้วน การเรียนบาลีที่ถูกต้อง ยอดไม่ด้วน คือการเรียนรู้ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญในกระบวนภาษาบาลี แล้วใช้ความรู้บาลีนั้นไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกต่อไป พูดให้ชัด ๆ การเรียนบาลีมีงานที่จะต้องทำอยู่ ๒ ตอน ......................................................... ตอนหนึ่ง เริ่มเรียน เรียนให้เชี่ยวชาญในกระบวนภาษาบาลี ตอนนี้เหมือนต้นไม้ มีต้นแต่ยังไม่มียอด ตอนสอง เรียนจบ เอาความเชี่ยวชาญภาษาบาลีไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก เหมือนต่อยอดไม้ ......................................................... อุปมาให้เห็นชัด ๆ การเรียนบาลีเหมือนการเรียนหมอ เรียนหมอคือเรียนวิชาการในกระบวนการรักษาคนป่วย เรียนจบตามกระบวนการแล้ว เอาความรู้ที่เรียนมาไปรักษาคนป่วย นี่คือกระบวนการเรียนหมอที่ถูกต้อง เรียนบาลีคือเรียนให้รู้เข้าใจกระบวนภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่ใช้บันทึกพระไตรปิฎก เรียนจบตามกระบวนการแล้ว เอาความรู้ที่เรียนมาไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก นี่คือกระบวนการเรียนบาลีที่ถูกต้อง พระไตรปิฎกอุปมาเหมือนคนป่วยที่รอการรักษา เรียนบาลีจบแล้วไม่ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก อุปมาเหมือนเรียนหมอจบแล้วไม่รักษาคนป่วย การเรียนบาลีของเราผิดพลาดถึงขั้นหลงทางหรือยอดด้วน เพราะเราเรียนตามหลักสูตรเพื่อให้จบตามหลักสูตร ได้ศักดิ์และสิทธิ์ตามชั้นประโยค แล้วด้วนอยู่เพียงแค่นั้น ไม่ได้จัดการให้ผู้เรียนจบแล้วไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกต่อยอดไปอีก เทียบกับผู้เรียนหมอจบแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นหมอ แต่ไม่รักษาคนป่วย-ซึ่งไม่มีคนจบหมอที่เป็นปกติคนไหนทำอย่างนั้น แต่คนจบบาลีของเราทำอย่างนั้นกันแทบทั้งหมด เพราะเราเรียนแบบยอดด้วน เรียนรู้ภาษาบาลี แต่ไม่ได้เอาความรู้ไปทำงานบาลี โปรดเข้าใจว่า การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ไม่ใช่-และไม่ควรทำด้วยวิธีการเปิดเรียนเปิดสอนในชั้นเรียน เพียงแค่ ๙ ปี ๑๐ ปี (ประโยค ๑-๒ ถึง ป.ธ.๙) ก็จบบริบูรณ์ การศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกต้องเป็นการเรียนตลอดชีวิต-และไม่ใช่เรียนเฉพาะในชั้นเรียน และโปรดเข้าใจว่า ถ้าต้องการฝึกฝนอบรมบ่มเพาะให้คนของเราเป็นผู้ทรงภูมิรู้เชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา ก็ต้องทำด้วยวิธีเปิดโรงเรียนฝึกฝนอบรมบ่มเพาะ แต่ไม่ใช่ด้วยวิธีเปิดการเรียนการสอนบาลีอย่างที่คณะสงฆ์ไทยทำอยู่ เพราะฉะนั้น การจะหวังให้นักเรียนบาลีของเราจบ ป.ธ.๙ แล้วเป็นผู้ทรงภูมิรู้เชี่ยวชาญในพระพุทธศาสนา จึงไม่ถูกเรื่อง-เหมือนปลูกขนุนแล้วหวังว่าจะออกลูกมาเป็นมะม่วง แล้วจะทำอย่างไร? จะทำอย่างไร ต้องตั้งหลักให้ถูก หลักของเราก็คือ-เรามีพระไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์อันเป็นตัวพระศาสนารอการศึกษาค้นคว้าอยู่ พระไตรปิฎกบันทึกไว้เป็นภาษาบาลี เราจึงต้องการคนรู้บาลีเพื่อจะได้ศึกษาพระไตรปิฎกได้ถึงระดับ primary sources เราจึงเปิดการศึกษาภาษาบาลี (๑) เพื่อผลิตผู้มีความรู้ภาษาบาลี (๒) แล้วส่งไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกที่รอการศึกษาค้นคว้าอยู่-เหมือนคนป่วยรอหมอ แต่เราพลาดตรงที่-ผลิตผู้มีความรู้ภาษาบาลีออกมาแล้ว แต่ไม่มีแผนหรือโครงการหรือเป้าหมายใด ๆ ที่จะส่งไปศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก การเรียนหมอมีแผนอันชัดเจนและทำได้ตามแผน คือจบหมอแล้วส่งเข้าสู่กระบวนการรักษาคนป่วยทั้งหมด แต่การเรียนบาลีของเรา จบบาลีแล้วไม่มีแผนใด ๆ ที่จะส่งเข้าสู่กระบวนการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก ผิดกันตรงนี้ ......................................................... เป้าหมายของการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก คือ (๑) เพื่อให้รู้เข้าใจหลักคำสอนที่ถูกต้อง (๒) เอาหลักคำสอนที่ถูกต้องนั้นมาปฏิบัติขัดเกลาตนเอง (๓) แล้วเผยแผ่ให้แพร่หลายสู่สังคม ......................................................... ถ้าผู้บริหารการพระศาสนาของเรามีนโยบายว่า พระพุทธศาสนาในสังคมไทยไม่จำเป็นต้องทำอย่างนี้ และจะไม่ทำอย่างนี้ ก็จบแค่นี้ จะเรียนบาลีเพื่ออะไร หรือจะไม่เรียนเพื่ออะไร-เลิกพูดกัน เก็บพระไตรปิฎกไว้ในตู้ เอาไว้บูชากันในฐานะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้านเมืองต่อไป ......................... แต่ถ้าเราเห็นว่า พระพุทธศาสนาในสังคมไทยจำเป็นต้องมีการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกตามเป้าหมายทั้ง ๓ ข้อนั้น ก็ขอให้ช่วยกันคิดว่า จะมีวิธีไหนบ้าง-ทำให้นักเรียนบาลีของเรา-เมื่อเรียนจบแล้วหรือเมื่อเรียนจนพอมีความรู้แล้วก็มุ่งหน้าไปสู่กระบวนการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎก-เหมือนคนเรียนหมอ เรียนจบแล้วมุ่งหน้าไปสู่กระบวนการรักษาคนป่วย ช่วยกันคิดตรงนี้ครับ จะวิจารณ์การเรียนบาลีว่าอย่างไรก็เชิญว่ากันให้เต็มสติเถิด แต่ต้องช่วยกันคิดเรื่องนี้ด้วย พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา ๔ เมษายน ๒๕๖๗ ๑๘:๕๗
เขียนเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2567 | อ่าน 7015 เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร