แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
เปิดสมัครพระนักเทศน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ข่าวเด่น
 

พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานและกล่าวสัมโมทนียกถาในพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันปิยมหาราชรำลึก ณ หอประชุม มวก. ๔๘ พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา


คณะสงฆ์ | มจร | วัดประยูรฯ | รางวัล | พระพรหมบัณฑิต
>>>พระพรหมบัณฑิต เข้ารับถวายรางวัล"เสาอโศกผู้นำศีลธรรม"
>>>พระพรหมบัณฑิต เข้ารับถวายกิตติคุณสัมพันธ์"สังข์เงิน"

มหาจุฬาฯ | พระพรหมบัณฑิต
>>>กราบทูลถวายรายงานแด่สมเด็จพระสังฆราช มจร วังน้อย
>>>กล่าวต้อนรับในพิธีเปิดประชุมทางวิชาการ วิสาขบูชา
>>>เปิดตัวหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสากล มจร วังน้อย 
>>>เปิดตัวหนังสือ"พระธรรมเทศนาในอเมริกา" ภาษาจีน
>>>ลงนามความร่วมมือในหนังสือบันทึกความเข้าใจ
>>>พิธีเปิดอาคารวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ
>>>กล่าวต้อนรับในการประชุมวิสาขโลก ที่ UN
>>>เฝ้ารับเสด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ
>>>กล่าวขอบคุณและปิดการประชุมวิสาขบูชาโลก ที่ UN
>>>ประชุมติดตามการเตรียมงานวิสาขบูชาโลกที่ศรีลังกา
>>>กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดงานวิสาขบูชาโลกที่ศรีลังกา
>>>เปิดตัวหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสากล (CBT) ที่ศรีลังกา
>>>นำคณะจากมหาจุฬาฯร่วมสวดมนต์ ที่ศรีลังกา
>>>พิธีฉลองวิสาขบูชาโลกและมอบพระไตรปิฎกฉบับแก่ประธานธิบดี
>>>นำคณะเข้าพบมหานายกะอัศคิริยะแห่งสยามนิกายของศรีลังกา
>>>พิธีทำบุญฉลอง ๑ ทศวรรษหลักสูตรการจัดการเชิงพุทธ
>>>พิธีถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์สหไมตรีราชมิตราภรณ์ ชั้นมหาสิริวัฒน์
>>>พุทธศาสตรบัณฑิตกับประเทศไทย ๔.๐ มจร วังน้อย
>>>พิธีประทานปริญญาบัตรเป็นวันแรก มจร วังน้อย
>>>พิธีประทานปริญญาบัตรเป็นวันที่สอง มจร วังน้อย
>>>บรรยายพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ ๒๓ ณ มจร วังน้อย
>>>บรรยายแผนยุทธศาสตร์สถาบันวิปัสสนาธุระ มหาจุฬาฯ
>>>เปิดการเสวนาครูพระสอนศีลธรรม ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา
>>>สัมมนาเรื่องกฎหมายใกล้สงฆ์ ณ หอประชุม มวก.๔๘ พรรษา
>>>๓๐ ปี มจร วิทยาเขตแพร่กับไทยแลนด์ ๔.๐
>>>รับมอบรถโดยสารปลดระวางจำนวน ๗๕ คัน จาก ขสมก.
>>>ฉลองครบรอบ ๒๐ ปี ฮ่องกงรวมกับประเทศจีน ณ ฮ่องกง
>>>เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ฉีเหมย เมืองไถ่หนาน ไต้หวัน
>>>พิธีฉลองปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาจิ้งเจี๋ยไต้หวัน
>>>ประชุมคณะกรรมการกำกับสถาบันสมทบไต้หวัน ณ วัดกวงเต๋อ
>>>เจริญพระพุทธมนต์ฉลองอายุวัฒนมงคล ๙๐ ปี พระธรรมาจารย์ชิงซิน
>>>นำผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ มจรสักการะพระมหาเถระ
>>>พิธีเปิดการศึกษาและพิธีทำสามีจิกรรมในเทศกาลเข้าพรรษา
>>>วันบุรพาจารย์และการจัดการความรู้  วังน้อย อยุธยา
>>>พิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ป.พศ., ป.วน.
>>>พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ  รัชกาลที่ ๑๐
>>>งาน '๕๖ ปี ครุศาสตร์ มหาจุฬาฯ รำลึก' มจร วังน้อย อยุธยา
>>>พิธีเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
>>>กล่าวเปิดการประชุมอบรมด้านกฏหมายสำหรับผู้บริหารมหาจุฬาฯ
>>>พิธีปฐมนิเทศนิสิตปริญญาเอก สาขาพุทธจิตวิทยา
>>>งานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาฯ ปีที่ ๓
>>>การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนฯศูนย์อาเซียนศึกษา
>>>การประชุมสัมมนาทางวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาทั่วประเทศ
>>>การประชุมวิพากษ์แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ
>>>งานครบรอบวันสถาปนา ๑๓๐ ปี มหาจุฬาฯ
>>>งานวันก่อตั้งคณะพุทธศาสตร์ ครบ ๗๐ ปี
>>>เปิดการสัมมนา'Buddhism in Digital Era'
>>>๑ ทศวรรษโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
>>>การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มจร
>>>พิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันปิยมหาราชรำลึก มจร วังน้อย
 

          วันจันทร์ที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๐.๐๐ น. พระพรหมบัณฑิต (ป.ธ.๙, ศ.,ดร.,ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, อัคคมหาบัณฑิต) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เจ้าคณะภาค ๒ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานและกล่าวสัมโมทนียกถาในพิธีบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันปิยมหาราชรำลึก ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ผู้ทรงสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ณ หอประชุม มวก. ๔๘ พรรษา มหาวชิราลงกรณ์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


คลิกไปที่ Facebook>>>"วันปิยมหาราชรำลึก"
 


อธิการบดี มจร เผยมหาจุฬาฯเติบโตด้วยศาสตร์พระราชา"ร.๕, ๙, ๑๐"

          อธิการบดี มจร เผยมหาจุฬาฯเติบโตด้วยศาสตร์พระราชา "ร.๕, ๙, ๑๐" พระปิยมหาราชผู้สถาปนามหาจุฬาฯสถาบันการศึกษาบุคคลทุกชนชั้น ทรงพัฒนาส่วนที่ขาดเติมให้เต็ม "ในหลวง ร.๙" ทรงพัฒนา ด้วย "ที่เต็มให้รู้จักพอ" และ "ที่พอให้รู้จักแบ่งปัน"  มารัชสมัย "ในหลวง ร.๑๐" คือ "แบ่งปันเป็นธรรมด้วยจิตอาสา"   


          วันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๐ เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตปีที่ ๑๐๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๕  หรือวันปิยมหาราช  ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) กล่าวสัมโมทนียกถาในการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลความว่า เรามาประชุมร่วมกันเพื่อบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระผู้สถาปนามหาจุฬาฯ คือ สมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ ๕ ที่ทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศ ซึ่งการพัฒนาการศึกษาทรงวางรากฐาน เป็นจุดเริ่มต้นของมหาจุฬาฯ

          มหาจุฬาฯเราเติบโตด้วยการทำหน้าที่บริการวิชาการบริการสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ ๕ ที่มีพระวิสัยทัศน์อันยาวไกลในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศ ซึ่งจุดเปลี่ยนประเทศไทยคือ สมัยรัชกาลที่ ๕  จนถึงปัจจุบัน เราเรียกว่า "เป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องและมีความยั่งยืน" เราจะเห็นพัฒนาการมหาจุฬาเริ่มจากมหาธาตุวิทยาลัยจนมาจนถึงมหาจุฬาในระดับนานาชาติ เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืน เราได้รับมหามหากรุณาธิคุณจากรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๙  อย่างยิ่ง สถาบันพระมหากษัตริย์ให้ความสำคัญด้านการศึกษาสงฆ์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ มาถึงรัชกาลปัจจุบัน ทำให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนาในด้านอื่นๆ อะไรที่รัชกาลที่ ๕ ทรงเริ่มไว้ก็ได้รับสานต่อมาถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อประเทศชาติ การต่อเนื่องเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เราได้รับอานิสงส์มากมาย

          รัชกาลที่ ๕ ทรงเริ่มการพัฒนา ด้วยคำว่า "อะไรขาดเติมให้เต็ม" สมัยพระองค์คนไม่มีสิทธิเท่าเทียมกันไม่มีความเสมอภาคกัน พระองค์ทรงเลิกทาสและส่งเสริมการศึกษาทาสให้สามารถพึ่งตนเองได้ ขาดความรู้ให้การศึกษา มิใช่จัดเฉพาะบ้านเมืองแต่ทรงให้คณะสงฆ์ช่วยจัดการศึกษา ด้วยการเปิดโรงเรียนทั่วประเทศในวัด ให้พระสงฆ์ช่วยสอนหนังสือลูกหลาน เป็นระบบการศึกษามีการเชื่อมบ้านวัดโรงเรียน และยังให้การศึกษาของคณะสงฆ์ด้วยการสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้พระสงฆ์ได้ช่วยการศึกษาของบ้านเมือง ด้วยการแก้ความโง่ พัฒนาโครงการขั้นพื้นฐาน การจราจรการคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดี แก้ความเจ็บไข้ด้วยสร้างระบบโรงพยาบาลสาธารณสุข โรงพยาบาลศิริราชก็สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ จะเห็นว่ารัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงวางรากฐานการพัฒนา แก้ความโง่ ความจน ความเจ็บ ด้วยการให้สิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คือ การเลิกทาส เน้นการพัฒนาคนเป็นศูนย์การของการพัฒนา รัชกาลที่ ๙ ก็รับช่วงต่อสานต่อในการพัฒนาคน คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา

          เพื่อให้การพัฒนายั่งยืนรัชกาลที่ ๙ ทรงพัฒนาด้วยคำว่า "ที่เต็มให้รู้จักพอ" หมายถึง เศรษฐกิจพอเพียง มีความพอเพียง "ที่พอให้รู้จักแบ่งปัน" หมายถึง แบ่งปันมีการบริการ เช่นมหาจุฬาฯมีการบริการวิชาการทางสังคม และ "แบ่งปันให้ธรรม" หมายถึง มีการแบ่งปันกันอย่างเป็นธรรม สร้างความเป็นธรรมในสังคม ไม่แบ่งแยกว่าชาวเขาชาวเรา แก้ปัญหา "ไม่รวยกระจุก จนกระจาย" ให้ความร่ำรวยกระจาย รู้รักสามัคคี เพื่อให้สังคมไทยพัฒนาต่อเนื่อง สรุปรัชกาลที่ ๕ คือ ที่ขาดเติมให้เต็ม รัชกาลที่ ๙ คือ ที่เต็มให้รู้จักพอ และแบ่งปันเป็นธรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๑๐ คือ แบ่งปันเป็นธรรมด้วยจิตอาสา แบ่งปันให้เป็นจิตอาสาโดยช่วยเหลือกัน ช่วยกันทุกกลุ่มไม่แบ่งแยก รู้รักสามัคคี ประพเทศเรามีกาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สรุปการพัฒนาที่ยั่งยืน มี ๔ ประการ คือ "ที่ขาดควรเติมให้เต็ม ที่เต็มควรรู้จักพอเพียง ที่พอเพียงควรรู้แบ่งปัน ที่แบ่งปัน ควรแบ่งให้เป็นธรรมมีจิตอาสาด้วยการรู้รักสามัคคี"

          "ในฐานะมหาจุฬาเป็นสถาบันการศึกษาจะต้องนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อขยายต่อให้สังคมไทยได้ตระหนักและนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การจัดงานครั้งนี้ถือว่าเป็นการกตัญญูต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดีอย่างยิ่ง เรามีกิจกรรมตั้งแต่เช้า จึงขอเชิญชวนทุกท่านตั้งกัลยาณจิตน้อมถวายรัชกาลที่ ๕ องค์ผู้สถาปนามหาจุฬาและบุรพมหากษัตริย์ทุกพระองค์"  อธิการบดีมหาจุฬาฯ กล่าว

          พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาจุฬาฯ แสดงความเห็นว่า   ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนิสิตมหาจุฬาฯ ตั้งแต่ปริญญาตรีถึงปริญญาเอก มองว่ามหาจุฬาฯ เป็นสถานศึกษาวิชาชั้นสูงยกระดับจิตใจให้สูง เป็นสถาบันอันทรงเกียรติสถาปนาโดยสมเด็จพ่อพระปิยมหาราช เพื่อให้โอกาสพระสงฆ์และบุคคลทั่วไปได้ด้านศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูง จึงเป็นสถาบันของบุคคลทุกชนชั้น ทุกวัฒนธรรมสามารถมาศึกษาได้ สถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติและให้โอกาสบุคคลทุกชนชั้นที่ใฝ่เรียนรู้แสวงหาความรู้ทางธรรมและทางโลก ด้วยการพุทธบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ "ทางโลกก็ไม่ช้ำ ทางธรรมก็ไม่เสีย" จุดเด่นของมวลนิสิตมหาจุฬาฯ คือ "วิชายอด จรณะเยี่ยม เปี่ยมด้วยเมตตา ยื่นดวงตาแก่สังคม" เรียนเพื่อออกไปรับใช้เพื่อนมนุษย์ มีความสุขกับการเบิกบานรับใช้เพื่อนมนุษย์ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของบุคคลที่จบจากมหาจุฬา ฯ คือ "พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม : สังคหธุระ" ครูอาจารย์มหาจุฬาทุกรูปท่านจึงเป็นผู้ปั้นดินให้เป็นดาว ดาวที่เปล่งแสงให้บุคคลอื่น เหมือน "เหล็กกว่าจะเป็นมีดต้องผ่านการทุบการเจียระไน ม้ากว่าจะเป็นม้าอาชาไนยต้องผ่านการฝึกหนัก ช้างกว่าจะเป็นทรงของพระราชา ต้องค้นหาจากป่าใหญ่"

          ศิษย์จึงเป็นเหมือนแก้วน้ำที่ว่างเปล่า พร้อมรับความรู้ใหม่ๆ ด้วยการ "ทำตัวให้โง่เพื่อจะได้เรียนรู้จากคนอื่นถึงแม้คนๆ นั้นจะอายุน้อย หรือประสบการณ์น้อยกว่าเราก็ตาม" เพราะคนโง่ที่รู้ตนเองว่าโง่ ยังจะพอเป็นคนฉลาดได้บ้าง รู้ว่าโง่สิ่งใดศึกษาสิ่งนั้น สิ่งที่จะตอบแทนคุณของครูอาจารย์ได้ที่สุด มิใช่การเอาสิ่งของมาให้ แต่คือ "การนำความรู้ที่ได้เล่าเรียน ออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคมประเทศชาติโลก" เมื่อจบการศึกษารับปริญญา เรียกว่า "รับปริญญานอกสู่รับปริญญาในจากพระพุทธเจ้า" สิ่งที่ได้ศึกษาจากมหาจุฬาฯ เป็นปริญญาวิชาชีวิต เรียนธรรมะของพระพุทธเจ้าเพื่อพัฒนาชีวิตมีการบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อทำให้ศาสนามีชีวิตชีวาในการเรียนรู้มากขึ้น ทำให้เราได้ปริญญาวิชาชีวิต เรียกว่า" พึ่งตนเองได้ จนเป็นที่พึ่งของคนอื่น" จัดการบริหารจิตใจของตนเอง ก่อนจะออกไปช่วยเหลือคนอื่น พระพุทธเจ้าจึงให้เรารับปริญญาภายใน ด้วยการดูแลจิตใจของตนเอง เพราะ "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี" เมื่อไหร่ก็ตามถ้าภายในเย็น ถือว่าจบการศึกษาเรียบร้อย จบจากมหาจุฬา สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องวัดความสำเร็จ ก็คือ "สงบเย็นเป็นประโยชน์" ถือว่าจบภายในอย่างแท้จริง แต่ถ้ายังร้อนอยู่ "เป็นผู้ทะเลาะสิบทิศ" ถือว่าจบแค่ภายนอกเท่านั้น

          เมื่อเย็นจากภายในแล้วจึงสามารถ "อนุมัติเพื่อออกไปรับใช้เพื่อนมนุษย์" เรีบกว่า "เมื่อจบประโยชน์ตน นึกถึงประโยชน์คนอื่น" นี่คือเสน่ห์ของบัณฑิตมหาบัณฑิตดุษฎีบัณฑิตของมหาจุฬา อย่าพอใจในความสำเร็จเพียงแค่นี้ ต้องหมั่นฝึกฝนตนเอง อย่าเป็น " คนตกรุ่น " หมายถึงไม่เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมให้กับตนเอง ต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายสำคัญสำคัญของนิสิตมหาจุฬา ฯ คือ "ความสุข" เราทำอะไรสำเร็จหรือล้มเหลว ถามหัวใจของตนเอง ถ้าทำแล้วมีความสุข นั่นคือสำเร็จ ถ้าทำแล้วจิตใจมันห่อเหี่ยว นั่นคือ ความล้มเหลว"

          "ฉะนั้น สมเด็จพ่อพระปิยมหาราช มหาราชอันทรงเป็นที่รัก พระองค์ทรงพัฒนาทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกพระองค์ทรงเลิกทาสด้วยความนุ่มนวล สร้างปฏิรูปพัฒนาประเทศให้มีเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย ส่วนทางธรรมทรงสถาปนาสถาบันการศึกษาเพื่อให้พระสงฆ์ศึกษาวิชาชั้นสูงและไตรปิฎก ซึ่งมหาจุฬาจึงทำตามปณิธานล้นเกล้าราชการที่ ๕ มาโดยตลอด ในนามนิสิตมหาจุฬาฯ ขอขอบพระคุณมหาจุฬาฯ สถาบันอันทรงเกียรติ ในการให้โอกาสมาพัฒนาฝึกฝนตนเองรวมถึงคณาจารย์ของมหาจุฬาฯในการพัฒนามวลศิษย์ให้เข้าถึงธรรม เพื่อน้อมนำมาพัฒนาตนเองและออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์" พระอาจารย์ปราโมทย์ กล่าว
 


นำเสนอข่าว : พระมหาผล วิเชฏฺฐสมโณ
ข้อมูลภาพ/ข่าว : PYMLNECMTR








































คณะสงฆ์ | มจร | วัดประยูรฯ | รางวัล | พระพรหมบัณฑิต
>>>พระพรหมบัณฑิต เข้ารับถวายรางวัล"เสาอโศกผู้นำศีลธรรม"
>>>พระพรหมบัณฑิต เข้ารับถวายกิตติคุณสัมพันธ์"สังข์เงิน"

ข้อมูลอื่นๆ
>>>งาน"วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ๑๘๙ ปี"
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน"สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ"ปี ๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน"วันปีใหม่ วันเถลิงศก"วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘
>>>WaterFestival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำ วัดประยูร ฯ ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด"ประยูรฯวัดรั้วเหล็ก"๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ งานฉลองรางวัลยูเนสโก ๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์มีแกนกลางแบบอยุธยาได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน"วัดประยูรฯ ชนะเลิศอนุรักษ์
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศจากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (284 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (284 kb)

เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2560 | อ่าน 2561
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
ข่าวเด่น อื่นๆ
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๖๗
การประชุมคณะกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ ปี ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน152)
22/4/2567
เวทีสานเสวนา เรื่อง 'วัดประยุรวงศาวาสและชุมชนย่านกะดีจีน - คลองสาน มรดกทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม คู่กรุงรัตนโกสินทร์' งานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์
งานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหาร ย่านกะดีจีน-คลองสาน ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน112)
20/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานฝ่ายบรรพชิต และกล่าวสัมโมทนียกถา เรื่อง 'กรุงรัตนโกสินทร์ อินทอโยธยา' ในพิธีเปิดงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหาร ย่านกะดีจีน-คลองสาน
พิธีเปิดงานวัดพัฒนาประชาคม ไหว้พระรับพรย้อนวันวาน สารพันอาหาร ย่านกะดีจีน-คลองสาน ภายใต้งานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน221)
19/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ
การประชุมคณะกรรมการจัดงานใต้ร่มพระบารมี ๒๔๒ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน221)
16/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธาน และกล่าวธรรมกถา เรื่อง 'สงกรานต์ไทย:มรดกทางวัฒนธรรมของโลก' ในพิธีสรงน้ำพระเทศกาลประเพณีวันสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗
เทศกาลประเพณีสงกรานต์ 'Bangkok River Festival 2024 เทศกาลวิถีน้ำวิถีไทย' ครั้งที่ ๙ 'สนุกอย่างดีงามก้าวข้ามปีใหม่ไทย' จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๖ - ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ (เปิดอ่าน89)
15/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗
การประชุมคณะทำงานโครงการฝึกอบรมพระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน342)
9/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานในการประชุมผู้บริหารศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ ครั้งที่ ๑ /๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
การประชุมผู้บริหารศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์ ครั้งที่ ๑ /๒๕๖๗ ณ หอประชุมอาคารสิริภักดีธรรม ชั้น ๓ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน316)
9/4/2567
พระพรหมบัณฑิต เป็นประธานในพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เนื่องในเทศกาลประเพณีสงกรานต์ ประจำปี ๒๕๖๗ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
งานประเพณีสงกรานต์ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 'Water Festival 2024 เทศกาลวิถีน้ำ วิถีไทย สนุกอย่างดีงาม ก้าวข้ามปีใหม่ไทย' ระหว่างวันที่ ๖-๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๗ (เปิดอ่าน292)
9/4/2567
พระพรหมบัณฑิต แสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถ เรื่อง 'โลกปาลกถา' ว่าด้วยธรรมะคุ้มครองโลก ในวันธรรมสวนะ (วันพระแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) เป็นพระธรรมเทศนาแสดงกัณฑ์ที่ ๑๑ ปี ๒๕๖๗
การแสดงพระธรรมเทศนากัณฑ์อุโบสถในวันธรรมสวนะ วันพระแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ณ วัดประยุรวงศาวาส เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน436)
8/4/2567
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 71 คน
วันนี้ 673 คน
เมื่อวานนี้ 1,584 คน
เดือนนี้ 41,758 คน
เดือนที่ผ่านมา 38,662 คน
ทั้งหมด 2,629,997 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob