พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหารได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ ๑ จากองค์การยูเนสโก
วันพุธที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๖ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ประกาศผลการประกวดโครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ประจำปี ๒๕๕๖ เพื่อยกย่องบุคคลและองค์กรภาคเอกชน หรือโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการบูรณปฏิสังขรณ์อาคารและสิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกอันทรงคุณค่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยในปี ๒๕๕๖ มีการส่งเข้าประกวด ๔๗ โครงการ จาก ๑๖ ประเทศ ปรากฏว่า โครงการอนุรักษ์เจดีย์พระประธานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ ๑ หรือ Award of Excellence ด้วยเหตุผลที่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ที่สะท้อนความเข้าใจทางเทคนิค และเป็นโครงการอนุรักษ์ที่สร้างความตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมในชุมชนรอบข้างขณะที่รางวัลดีเด่น อันดับที่ ๒ หรือ Award of Distinction ได้แก่ The Great Serai กรุงคาบูล สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน Lal Chimney Compoundเมืองมุมไบ สาธารณรัฐอินเดีย และ Khaplu Palace เขตปกครองพิเศษกิลกิตบัลติสถาน สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน รางวัลดี อันดับ ๓ หรือ Award of Merit ได้แก่ Maryborough Railway Station รัฐวิคตอเรีย ประเทศออสเตรเลีย Enjoying Snow Yard กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน Tai O Heritage Hotel เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน Royal Bombay Yacht Club Residential Chambers เมืองมุมไบ สาธารณรัฐอินเดีย Otaki Town Hall เมืองโอตากิ เขตปกครองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น และDuong Lam Village ตาบลซอนเต กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ส่วนรางวัลชมเชย หรือ Honourable Mention ได้แก่ Sail Maker's Shed เมืองบรูม รัฐออสเตรเลียตะวันตก ประเทศออสเตรเลีย และ Lost Bomb Shelter of the Sofitel Legend Metropole Hanoi สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
นายทิม เคอร์ติส ประธานคณะกรรมการตัดสินและหัวหน้าแผนกวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับความสนใจกว้างขวางมากขึ้น โดยมีโครงการเข้าร่วมทั้งจากประเทศหมู่เกาะคุกในแปซิฟิกตะวันออกไปจนถึงประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในเอเชียกลาง ทั้งนี้คณะกรรมการได้พิจารณารางวัลยอดเยี่ยม อันดับ ที่ ๑ ให้กับเจดีย์พระประธานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ประเทศไทย เนื่องจากเห็นว่า มีการบูรณปฏิสังขรณ์เจดีย์พระประธานซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และพรินทรเปรียญปริยัติธรรมศาลาได้ธำรงรักษาปูชนียสถานที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของกรุงเทพมหานคร ผสานความศรัทธาทางศาสนากับความท้าทายทางวิศวกรรม
“นอกจากนี้โครงการนี้ได้ส่งเสริมการพัฒนาภูมิปัญญาทางสังคมในย่านกะดีจีน ซึ่งเป็นย่านประวัติศาสตร์ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และได้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจลึกซึ้งในรูปแบบสถาปัตยกรรมเฉพาะตัวของยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วยการเสริมความแข็งแรงให้แก่โครงสร้างภายใน ขณะที่ยังคงรูปลักษณ์ภายนอกของเจดีย์ที่ทรุดเอียงนี้ อีกทั้งยังมีการบูรณะซ่อมแซมที่บูรณาการความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิถีการก่อสร้างแบบดั้งเดิมได้สื่อสารขนบโบราณและสุนทรีย์แห่งยุคเก่า ความร่วมมือร่วมใจที่น่ายกย่องระหว่างพระสงฆ์ ผู้เชี่ยวชาญและชาวบ้านเป็นประจักษ์พยานถึงความสัมพันธ์อันยั่งยืนระหว่างวัดและชุมชนในการธำรงรักษาพุทธศาสนสถานให้ดำรงอยู่ในฐานะศูนย์รวมจิตใจของชุมชนตราบจนทุกวันนี้” ประธานคณะกรรมการตัดสิน กล่าว
ประเทศไทยได้ส่งโครงการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมใน ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก เข้าร่วมการประกวด และได้รับรางวัลจากองค์การยูเนสโก มาแล้ว จำนวน ๙ โครงการ ได้แก่
- โครงการอนุรักษ์วัดสระทอง หมู่บ้านบ้านบัว จ.ขอนแก่น (รางวัลดี ปี ๒๕๔๕)
- โครงการอนุรักษ์พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร (รางวัลดี ปี ๒๕๔๗)
- โครงการอนุรักษ์ตาหนักใหญ่ วังเทเวศน์ กรุงเทพมหานคร (รางวัลชมเชย ปี ๒๕๔๘)
- โครงการอนุรักษ์ชุมชนอัมพวา จ.สมุทรสงคราม (รางวัลชมเชย ปี ๒๕๕๑)
- โครงการอนุรักษ์สานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จ.ฉะเชิงเทรา (รางวัลชมเชย ปี ๒๕๕๑)
- โครงการอนุรักษ์วัดปงสนุก จ.ลำปาง(รางวัลดี ปี ๒๕๕๑)
- โครงการอนุรักษ์ชุมชนสามชุก จ.สุพรรณบุรี (รางวัลดี ปี ๒๕๕๒)
- โครงการอนุรักษ์หอพระไตรปิฎกวัดเทพธิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร (รางวัลดี ปี ๒๕๕๔)
- โครงการปรับปรุงฟื้นฟูอาคารอนุรักษ์หน้าพระลาน กรุงเทพมหานคร (รางวัลชมเชย ปี ๒๕๕๔)
- โครงการอนุรักษ์เจดีย์พระประธานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ปี ๒๕๕๖ ถือเป็นรางวัลยอดเยี่ยมโครงการแรกที่ประเทศไทยได้รับ
http://www.dailynews.co.th/education/230842
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (276 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (276 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (276 kb)
 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (276 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (276 kb)
เขียนเมื่อ
4 กันยายน พ.ศ. 2556 | อ่าน
9559
เขียนโดย
พระมหาสุรชัย สุรทสฺสี
|