แนะนำวัดประยุรวงศาวาส
เปิดสมัครพระนักเทศน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
 

อย่าแค่แขวนพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ไว้ในบ้าน



ศาสตราจารย์แมนเฟรด คราเมส (Prof.Manfred Krames)

          ศาสตราจารย์แมนเฟรดคราเมส มีความสนใจในปรัชญาแบบตะวันออกและศาสนาพุทธตั้งแต่มีอายุได้ ๑๕ ปี ทั้งที่ได้รับการศึกษาที่ดีและมีอาชีพการงานที่มั่นคงแต่เมื่อมีอายุได้ ๑๙ ปี เขาก็ออกจากบ้าน โดยละทิ้งทุกอย่างไว้เบื้องหลัง เพื่อเข้าไปพำนักอยู่ในวัดเซน ที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา ๓ ปี ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของราอบครัวซึ่งเป็นชาวคริสเตียนอนุรักษนิยม แลกะเกือบถึงขั้นถูกตัดขาดออกจากครอบครัว แต่เขาก็ยังคงศึกษาปรัชญาตะวันออกรวมถึงศาสนาพุทธอย่างจริงจังมาจนถึงปัจจุบัน

          เมื่อได้พำนักอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นร่วม ๑๐ ปี เพื่อเรียนภาษาญี่ปุ่นและการบำบัดรักษาแบบจีน ณ กรุงโตเกียว เขาได้กลายเป็นชาวต่างชาติคนแรกเพียงผู้เดียวที่เป็นสมาชิกของสมาคมเพื่อการวิจัยด้านอายุรเวชแห่งญี่ปุ่น (Japan Research Society for Ayurveda) หลังจากนั้นศาสตราจารย์แมนเฟรดได้เดินทางไปพำนักยังประเทศศรีลังกาเป็นเวลา ๗ ปี และเปิดคลินิกเพื่อทำการรักษาบำบัดตามแนวทางของอายุรเวท กระทั่งได้เขียนหนังสือเรื่อง “ความจริงเกี่ยวกับวิชาอายุรเวช” ซึ่งได้รับการเผยแพร่ความรู้ทางด้านนี้ไปอย่างกว้างขวาง ทำให้ได้รับการยกย่องเป็น “ศาสตราจารย์กิตติคุณ” จากมหาวิทยาลัยแห่งโคลอมโบ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดในประเทศศรีลังกา

          หลังจากเกิดเหตุภัยพิบัติสึนามิได้ไม่นานนักเขาก็อำลาประเทศศรีลังกามาด้วยความหวังว่าจะค้นพบประเทศที่มีสันติสุขและมีชาวพุทธที่เป็นมิตรมากกว่า ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจเดินทางมาพำนักอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย

          เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว ณ ที่แห่งนี้อง ที่ศาสตราจารย์แมนเฟรดได้รู้จักและเรียนรู้คำสอนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงตนเป็นแบบอย่างอันดีงามของพสกนิกรมาโดยตลอด กระทั่งเขาได้เขียนหนังสือชื่อ “เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว : มุมมองของชาวต่างชาติต่อในหลวง”ขึ้นมา ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ หลังจากที่เขียนหนังสือเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเสด็จยุโรปครั้งที่ ๒ ของ ”พระพุทธเจ้าหลวง ณ สปาการแพทย์ของเยอรมัน” และหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาชื่อ “Photo Meditation”



          สำหรับใครที่สบโอกาสได้อ่าน “เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว : มุมมองของชาวต่างชาติต่อในหลวง”ความรู้สึกที่ตามมาโดยแน่แท้ก็คือ ความชื่นชมและทึ่งในสิ่งที่ชาวต่างชาติคนหนึ่งได้เรียนรู้จากสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเพียรสื่อสารกับพสกนิกรทุกหมู่เล่ามาตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ โดยสิ่งที่ศาสตราจารย์แมนเฟรดได้น้อมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเขานั้น หาได้เป็นการยกย่องแต่เพียงเพราะพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในสายตาของใครๆ ทว่าเขามีความเข้าใจอันถ่องแท้ไปถึงคุณค่าที่เปล่งประกายออกมาจากภายในของพระองค์ท่าน อย่างที่คนไทยหลายคนอาจจะมิเคยพิจารณาในด้านนี้มาก่อนเลยในชีวิต



          ต่อจากนี้ไปจะเป็นเรื่องราวของชายชาวเยอรมันคนหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะที่เขาเป็น “ฝรั่ง” หากแต่มองพระองค์ท่านในฐานะของมนุษย์ปุถุชนคนหนึ่งวึ่งรักและเทิดทูนในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัวภูมิพลอดุลยเดช ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าประชาชนชาวไทยคนใดในแผ่นดินนี้เลย

          “ผมรู้สึกเศร้าใจ”เมื่อมีคนตั้งคำถามกับผมว่ารู้สึกอย่างไรเวลาที่ได้ยินคนไทยพูดว่า“เรารักในหลวง” อันหมายความถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผมจะให้คำตอบเช่นนี้ เพราะอะไรน่ะหรือ ลองคิดดูสิว่า ถ้าหากท่านมีลูกที่ไม่เคยเชื่อฟังคำสั่งสอนของท่านเลย ไม่เคยเดินตามแนวทางทางที่ท่านวางไว้ ไม่เคยต้องการที่จะเรียนรู้จากท่าน สิ่งที่พวกเขาทำนั้นเพียงแค่ก่อปัญหาแล้วก็เรียกร้องให้ท่านยื่นมือเข้าไปช่วยเหลืออยู่เสมอ ในขณะเดียวกันก็พร่ำพูดว่า“ลูกรักพ่อ”ถ้าท่านเป็นพ่อท่านจะรู้สึกอย่างไร



          ในหลวงผมจึงคิดว่าการดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริและน้อมนำคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้จึงมีความสำคัญมาก เราจะเห็นว่าพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระองค์ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารต่างประเทศนับไม่ถ้วน และหลายต่อหลายครั้งที่พระองค์รวมถึงสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โปรดให้นักหนังสือพิมพ์และผู้สื่อข่าวของทั้งต่างประเทศและของไทยเข้าเฝ้าเพื่อสัมภาษณ์

          การบอกเล่าถึงพระราชประวัติของพระองค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเป็นเพียงการตอกย้ำสิ่งที่ทุกคนโดยเฉพาะคนไทยต่างรู้ดีอยู่แล้ว สิ่งที่เราทั้งหลายควรให้ความสำคัญจึงเป็นสารที่พระองค์ทรงเพียรพยายามจะส่งต่อไปถึงชาวโลก และบทบาทในการสร้างความเข้าใจในระดับนานาชาติรวมไปถึงแนวทางการปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาอันงดงามของพระองค์

          อย่างไรก็ดี คำถามมีอยู่ว่าเราในฐานะปัจเจกบุคคลได้ทำอะไรบ้างที่เห็นเป็นรูปธรรมเพื่อทำให้โลกนี้ดีขึ้น โดยยึดแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ



          การสรรเสริญและการแสดงความขอบคุณเป็นละเรื่องกัน ผมยังแปลกใจว่า ในเมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระวิริยอุตสาหะที่จะทำให้พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีงาม ผมไม่ทราบว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจและรับรู้ข้อมูลข่าวสารจริงๆ ในสิ่งที่พระองค์ทรงสื่อสารให้ผู้คนได้รับทราบนั้นมากน้อยเพียงใด และจะมีสักกี่คนที่สามารถรวบรวมปัญญา และแนวทางที่พระองค์ทรงพระราชทานให้เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตจริง

          เราไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่าแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นจากการที่พระองค์ได้ทรงศึกษาจริงและการที่พระองค์ทรงกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการมีพระราชดำรัสต่อพสกนิกรในชาติของพระองค์ หรือบุคคลต่างๆ และแนวทางเพื่อทำให้พสกนิกรเกิดความเข้าใจนั้น พระองค์ทรงกระทำด้วยความอดทนและด้วยทรงเห็นอกเห็นใจในอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ ผมเชื่ออย่างมั่นใจว่าหากพระองค์มิได้ทรงเป็นกษัตริย์ในช่วงพระชนม์ชีพนี้พระองค์จะต้องทรงเป็นบรมครูที่มีชื่อเสียงอย่างแนนอน

          king ท่านทราบหรือไม่ว่า ความปรารถนาสูงสุดของครูคืออะไร

          ผมตอบได้ว่า คือการที่เห็นศิษย์เป็นจำนวนมากเต็มใจศึกษาเล่าเรียนและเห็นคุณค่าคำสอนของครู ไม่มีอะไรอื่นอีกที่จะทำให้ครูมีความสุขมากไปกว่าสิ่งที่กล่าวแล้วนั้น ดังนั้น ผมจึงมีความรู้สึกว่าเราควรที่จะเน้นบทบาทของพระองค์เพื่อให้ทรงเป็นครูของเรา แต่โปรดตระหนักไว้เสมอว่า อย่าศึกษาเล่าเรียนเพื่อเอาใจครู แต่จงศึกษาเล่าเรียนเพื่อประโยชน์และความดีงามให้เกิดแก่ตัวท่านเอง การศึกษาเล่าเรียนและรู้จักปรับปรุงตนเองเท่านั้นที่จะทำให้ชีวิตของเราดีขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องไปคิดเรื่องไม่เป็นสาระอื่นๆ

          ผมคิดว่า เป็นการไม่รับผิดชอบที่จะนั่งๆ นอนๆ ใช้ชีวิตอย่างสบาย และให้คนคนเดียวทำงานอย่างหนักเพื่อดูแลและแก้ปัญหาของชาติ ท่าทีเช่นนี้เป็นสิ่งที่แสดงถึงความไม่เคารพต่อพระองค์ ซึ่งแย่ยิ่งกว่าการพูดถึงพระองค์ในทางไม่ดีในสาธารณะ

          ประเทศหลายแห่งในโลกจะดีใจมากที่มีพระมหากษัตริย์เช่นนี้ แต่ท่านเองเป็นคนไทย มีพระองค์เป็นกษัตริย์แต่ไม่ได้นำประโยชน์จากพระองค์มาใช้ในชีวิตเลยผมคิดว่าน่าละอาย ถ้าหากว่าเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไปสู่วาระใหม่และมีกระแสลมแรงมาจากทิศทางอื่น ประเทศหลายแห่งในโลกจะชี้มายังประเทศไทยและดูแคลนว่า… “ดูสิ พวกเขามีครูผู้ยิ่งใหญ่ แต่ได้เรียนรู้จากพระองค์น้อยมาก”

          ผมรู้สึกสงสารพระองค์อย่างสุดซึ้ง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นเพียงบุคคลเพียงคนเดียวที่พยายามจะพัฒนาประเทศชาติ ในขณะที่คนอื่นๆ ในชาติได้แต่เฝ้ารอให้สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นโดยที่มิได้ดำเนินตามรอยพระบาทของพระองค์ ซึ่งผมคิดว่าการพัฒนาประเทศในรูปแบบนี้ไม่น่าจะนำพาไปสู่ความสำเร็จได้

          ผมมีโอกาสได้อ่านบทความมากมายในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับอดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยท่านหนึ่ง ผู้ที่นำพาประเทศไทยเข้าสู่สนามแห่งธุรกิจ เราพบเห็นนักการเมืองส่วนมากในเอเชียที่หลังจากครองอำนาจและได้ผลประโยชน์แล้วก็ไม่ช่วยเหลืออะไรประชาชนเลย นั่นทำให้ผมรู้สึกสงสารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพราะคำสอนของพระองค์ตรงข้ามกับสิ่งที่นักการเมืองเหล่านั้นกำลังเป็นอยู่ พวกเขาจึงทำให้พระองค์ทรงทุกข์ใจ โดยเสแสร้งว่าซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงการสร้างภาพไม่ใช่ความจริง พวกเขาเพียงแค่ต้องการจะใช้ภาพแห่งความจงรักภักดีนี้เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนเทคะแนนให้ในการเลือกตั้ง และขึ้นสู่อำนาจในเวลาต่อมาเท่านั้น

          ประชาชนคนไทยมุ่งหวังว่านักการเมืองจะอุทิศตนเพื่อประเทศชาติเฉกเช่นเดียวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแต่พวกเขาทั้งหลายก็ทำให้คนไทยทั้งชาติผิดหวัง พวกเขาไม่สามารถเป็นเช่นนั้นได้ เพราะนักการเมืองไทยได้รับอิทธิพลของแนวคิดแบบตะวันตก และมีหัวใจที่ถูกครอบงำไว้ด้วยธุรกิจ สำหรับผม ในหัวใจของพวกเขาจึงไม่ได้มีความเป็นไทยอีกต่อไปแล้ว

          นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมคนธรรมดาสามัญชนทั้งหลายจึงรู้สึกรับไม่ได้กับการคอร์รัปชั่นฉ้อราษฎร์บังหลวง และนักโกหกที่ทำลายประเทศลงด้วยมือของพวกเขาเองอย่างไรก็ตามตราบใดที่ไม่มีใครสอนให้นักการเมืองดำเนินรอยตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวความหวังของคนไทยทั้งปวงย่อมจะไม่มีวันเกิดขึ้นจริง

          ก่อนที่จะตัดสินใจมาพำนักอยู่ในประเทศไทย ในความคิดของผม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ได้ทรงเป็นที่รู้จักมากนักในต่างประเทศ ชาวต่างชาติรู้แค่เพียงว่าประเทศไทยก็เป็นเพียงประเทศหนึ่งเท่านั้น หลังจากที่ผมย้ายมาพำนักอยู่ในประเทศไทยแล้ว ผมพบว่าประชาชนคนไทยเองก็ไม่ได้สอนอะไรผมมากนักเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกคนเพียงแค่พยายามจะเทิดทูนและยกย่องพระองค์ มีคนไทยเพียงแค่บางคนเท่านั้นที่เข้าใจสิ่งที่พระองค์ทรงต้องการจะสื่อสารและดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์

          In his majesty’s footsteps หนังสือเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่มแรกที่ผมอ่านคือ In his majesty’s footsteps หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นถึงด้านที่เป็นเพียงปุถุชนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงความพยายามของพระองค์ด้วย ผมไม่เคยขอให้ใครอ่านหนังสือเกี่ยวกับพระองค์ที่เป็นภาษาไทยให้ผมฟังเลย เพราะเพื่อนคนไทยของผมบอกว่า ๙๕ เปอร์เซ็นต์ของหนังสือพวกนั้น ล้วนแล้วแต่มีเนื้อหา รูปภาพ และเรื่องราวที่ไม่แตกต่างกัน นั่นจึงไม่ใช่แหล่งข้อมูลที่ผมต้องการ

          กระทั่งวันหนึ่ง ผมเงยหน้าขึ้นมองพระบรมฉายาลักษณ์ขนาดใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวชั่วขณะหนึ่ง โดยมองตรงเข้าไปในพระเนตรของพระองค์ แล้วทันใดนั้นพระองค์ก็ทรงเป็นแรงบันดาลใจให้ผมเขียนหนังสือ “เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว” ขึ้นมา พระองค์ทรงรับสั่งให้ผมเขียนหนังสือเกี่ยวกับพระองค์ท่านขึ้นมาเล่มหนึ่ง การรับสั่งครั้งนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในทางรูปกาย หากแต่ผมรับรู้พระประสงค์ของพระองค์ได้ทางจิต เรื่องนี้อาจจะฟังดูเหมือนผมฟั่นเฟือนไปเสียแล้วแต่ทว่าเป็นเรื่องจริง

          สำหรับขั้นตอนในการผลิตหนังสือเล่มนี้ ส่วนใหญ่แล้วไม่มีใครสนับสนุนการทำงานของผมเท่าใดนัก เพราะพวกเขาคิดว่า “ฝรั่ง” ไม่มีทางที่จะเข้าใจในพระมหากษัตริย์ของชาวไทยได้ ไม่มีใครเลยที่กล้าเสี่ยงในการตีพิมพ์หนังสือเล่มนี้ ดังนั้น ผมจึงดำเนินการทางการเงินทั้งหมดด้วยตัวผมเอง กระทั่งทุกวันนี้ที่หนังสือได้รับการตีพิมพ์ถึง ๓ ครั้งแล้ว ผมก็ไม่ได้หากำไรหรือผลประโยชน์ใดๆ จากหนังสือเล่มนี้ เห็นได้จากราคาขายเพียงเล่มละ ๙๙ บาทเท่านั้น

          ผมไม่ได้ตีพิมพ์หนังสือของผมในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษทั้งที่มีคนไทยจำนวนมากขอให้ผมทำเช่นนั้น

          อันดับแรกชาวไทยควรจะต้องเข้าใจคุณค่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างถ่องแท้ และผสมผสานแนวทางแห่งพระพุทธศาสนาของพระองค์ลงไปในการดำเนินชีวิตประจำวันสิ่งเหล่านี้ควรจะได้รับการสอนในโรงเรียนทุกแห่ง หากเป็นเช่นนั้นได้ชาวต่างชาติและประเทศอื่นๆ ในโลกก็จะปฎิบัติตามแนวทางนี้โดยอัตโนมัติ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือ ผมได้เสนอที่จะบรรยายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นให้กับมหาวิทยาลัยและโรงเรียนต่างๆ ในประเทศ ในหัวข้อ “เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัว” แต่คนไทยไม่เต็มใจหรือขี้อายเกินกว่าที่จะเชิญผมไปบรรยายพวกเขาไม่เข้าใจด้วยว่าฝรั่งจะรู้เรื่องราวทุกอย่างของพระมหากษัตริย์ของคนไทยได้อย่างไรกัน

          ผมเคยเขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทยที่กรุงเทพมหานคร ในจดหมายฉบับนั้นบอกเล่าถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอีกมากมายหลายเรื่อง รวมไปถึงการขอเข้าพบเพื่ออธิบายถึงสิ่งที่ผมได้เรียนรู้และแนวทางการแก้ปัญหา แต่พวกเขาไม่แม้แต่จะตอบกลับมาว่าได้รับจดหมายแล้ว ดังนั้นผมจึงยอมแพ้

          นี่คือผลลัพท์ของค่านิยมตะวันตกและการบริโภคนิยมซึ่งถูกกระตุ้นโดยนักการเมืองไทย

          กล่าวถึงความรู้สึกต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของชาวต่างชาติที่อยู่รอบตัวผม สำหรับชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานาน พวกเขาจะชื่นชมในพระปรีชาสามารถของพระองค์อย่างมาก โดยพื้นฐานแล้วชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทยมีทัศนคติในด้านบวกกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพียงแต่เราไม่ได้เทิดทูนในลักษณะเดียวกับที่คนไทยเป็นอยู่

          ในโลกนี้มีราชวงศ์มากกว่า ๓๕ ราชวงศ์ แน่นอนว่าเราไม่สามารถโฟกัสไปที่ราชวงศ์ทั้งหมดอย่างทั่วถึงได้ที่สำคัญคือราชวงศ์ส่วนใหญ่มีหน้าที่เพียงแสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของราชวงศ์เท่านั้น แต่อะไรล่ะที่เราจะสามารถเรียนรู้จากบุคคลในราชวงศ์และกษัตริย์แต่ละพระองค์ได้คำตอบคือไม่มีเลย เพราะพวกเขาไม่ได้ดำรงตนเป็นครูให้กับประชากรของตนเอง อย่างเช่นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็น

          ในหลวง พัฒนา เรื่องที่น่าสลดใจก็คือ คนไทยทั้งหลายไม่ตระหนักและยอมรับในสิ่งนี้ ทุกคนภาคภูมิใจในการมีพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ แต่แนวคิดอันเป็นรากฐานของสังคม เศรษฐกิจและการเมือง การเป็นแรงบันดาลใจ ความเป็นตัวอย่างที่ดีและวิถีแห่งการดำเนินชีวิตของพระองค์ ไม่ได้ถูกรับเอามาใช้ในการทางปฏิบัติอย่างเต็มบ่า

          ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเป็นบุคคลที่มีแนวพระราชดำริและกระทำการใดๆโดยใช้หัวใจทั้งสิ้น พระองค์ทรงเข้าใจดีถึงคุณค่าของความรักและความซื่อสัตย์เพราะฉะนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงรู้สึกเชื่อมโยงได้ถึงพระองค์

          อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นสากล เฉกเช่นเดียวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า คนทั่วโลกจึงสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากพระองค์ไปปรับใช้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศ (สวิตเซอร์แลนด์และสหรัฐอเมริกา) พระองค์ทรงตระหนักว่าการศึกษาแบบตะวันตกนั้นเป็นสิ่งสำคัญแต่ทว่าไม่ใช่ทุกอย่าง พระองค์ทรงสามารถถ่ายทอดแก่ชาวตะวันตกรวมถึงคนไทยถึงเหตุผลทั้งหลายทั้งปวงและการศึกษาอันชาญฉลาด แต่ความรู้ทั้งหมดทั้งมวลในโลกนี้ย่อมไม่มีประโยชน์อันใดเลยถ้าหากปราศจากการเชื่อมโยงถึงความรู้สึกลึกซึ้งข้างในจิตใจ

          จึงกล่าวได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นทรงเป็นทั้งสัญลักษณ์ของความชาญฉลาดแบบตะวันตกและภูมิพลังปัญญาของชาวตะวันตกออกในบุคคลคนเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สมบูรณ์พร้อมอย่างมาก

          ผมเคยได้ยินเป็นประจำที่ชาวต่างชาติหรือเพื่อนผู้หญิงที่เป็นคนไทยพูดว่า “เงินเดือนน้อยที่ทำมาจากชาติตะวันตกสามารถทำให้คนนั้นใช้ชีวิตในประเทศไทยได้อย่างกับพระราชา” ในส่วนอื่นๆ ของโลก “การมีชีวิตอย่างพระราชา” เป็นนัยยะของการอธิบายว่า นั่นคือความสะดวกสะบาย การใช้ชีวิตที่สนุกสนาน หรืออาศัยในดินแดนวิมานฉิมพลีอะไรทำนองนั้น

          ด้วยข้อเท็จจริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงใช้ชีวิตเช่นนั้นก็ย่อมทำได้หากพระองค์จะทรงมีพระราชประสงค์เช่นนั้น เพราะพระองค์ทรงราชสิทธิ์ที่จะสามารถทำได้แต่พระองค์มิเคยทรงมีพระราชประสงค์เช่นนั้น หากแต่ทรงอุทิศเวลาทั้งหมดตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์โดยมีเป้าหมายอันสูงสุดในการทรงงานหนักเพื่อผู้อื่น เพื่อประชาชนของพระองค์

          ในประเทศศรีลังกาซึ่งผมเคยพำนักอยู่มีสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า “ถ้าท่านไม่สามารถเป็นพระราชาได้ จงเป็นหมอ” ชาวตะวันตกส่วนใหญ่ไม่เข้าใจความหมายของสุภาษิตบทนี้พวกเขาจะพูดจนติดตลกว่า “ผมเข้าใจแล้ว หากคุณไม่สามารถซึ้นรถโรลส์รอยซ์ได้ อย่างน้อยที่สุดก็ขอให้เป็นรถเบนซ์ และถ้าคุณไม่สามารถมีพระราชวังที่พำนักได้ ก็ขอให้มรคฤหาสน์หลังใหญ่รอบล้อมด้วยนางพยาบาลแสนสวย”

          เมื่อเห็นกษัตริย์หรือราชาธิบดีของประเทศตะวันตกบางพระองค์ว่าทรงมีความเป็นอยู่เช่นไร ผมจึงไม่อาจตำหนิชาวตะวันตกที่เข้าใจผิดในเรื่องนี้ได้

          คนเอเชียเข้าใจสุภาษิตบทนี้ได้ดีกว่าชาวตะวันตก ซึ่งหมายความว่า หากท่านไม่สามารถรักษาดูแลประเทศชาติทั้งหมดได้อย่างเต็มที่เหมือนอย่างพระราชา แต่ท่านอาจสามารถดูแลรักษาคนไข้จำนวนมากได้ในฐานะที่เป็นแพทย์สุภาษิตที่เรียบง่ายบทนี้ยังมีความหมายที่แสดงให้เห็นถึงข้อแตกต่างเกี่ยวกับกษัตริย์ของประเทศในโลกตะวันตกและตะวันออกอีกด้วย

          ในหลวง พัฒนาถิ่นทุรกันดาร ผมขอย้ำเตือนอีกครั้งว่า จงอย่าตำหนิอิทธิพลของต่างประเทศหรือโลกตะวันตก แต่จงดูและเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในทำนองเดียวกัน ก็ศึกษาให้เข้าใจในคุณค่าของมรดกทางความคิดและความเชื่อซึ่งพระองค์ท่านทรงมีอย่างอุดมสมบูรณ์รวมไปถึงแนวทางการทำงานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรากตรำพระวรกายและทรงงานหนักมิใช่เพียงเพื่อทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์ที่ประเสริฐแต่พระองค์ทรงกระทำเพื่อเป็นตัวอย่างฉันผู้นำทาง และเป็นครูของเราผมไม่สามารถเน้นถึงสิ่งต่างๆ ได้ทั่วถึงอย่างที่เราสามารถหรือควรจะเรียนรู้ได้จากพระองค์ท่านซึ่งมีมากมายมหาศาล

          เมื่อก่อนนี้ผมมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแขวนไว้ในบ้าน รวมถึงพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ด้วย แต่นั่นเป็นเพียงเพราะว่าพระองค์ทรงเป็นแรงบันดาลใจในการเขียนของผม ทุกคนควรจะตระหนักว่าหนทางเดียวที่จะแสดงความเคารพต่อครูก็คือเรียนรู้จากพระองค์เพื่อที่จะนำความรู้นั้นไปช่วยเหลือคนอื่นไม่ใช่เพียงแค่แขวนพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ไว้ในบ้าน

          มีหลายครั้งที่ผมได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในความฝัน พระองค์ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผมในเรื่องตลก ซึ่งนั่นก็เพียงพอแล้วสำหรับผม แต่ถ้าหากมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระองค์จริงๆ ผมจะกราบทูลต่อพระองค์ว่า ขอขอบพระทัยพระองค์เป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกสิ่งที่ทรงกระทำ

          หากถามว่าคำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่องใดที่สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตผมได้มากที่สุด ผมคงจะตอบว่าไม่มีใครที่จะสามารถเปลี่ยนใครได้นอกเสียจากตัวของเขาเองผมเชื่อด้วยว่า อำนาจล่อใจของอิทธิพลทางการเมืองและวัตถุนิยมกำลังเข้มแข็งมากเกินไปในสังคมไทย คำสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงกำลังสูญหายไปตลอดกาล หากยังไม่มีใครตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญแห่งคำสอนนั้น

          หากทุกคนช่วยกันเก็บรักษาเจตนารมณ์อันแรงกล้า และคำสอนของพระองค์เอาไว้ให้อยู่สืบต่อไปตราบชั่วลูกชั่วหลาน ผมเชื่อมั่นเหลือเกินว่าพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของทุกคนพระองค์นี้จะอยู่ในหัวใจของคนไทยตลอดกาล

ที่มา : LIPS Magazine ฉบับที่ ๑๐/๑๓ ปักษ์แรก มกราคม ๒๕๕๒
 

 


ข้อมูลอื่นๆ
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน"สมโภช ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ"ปี ๒๕๕๙
>>>สมโภชพระอาราม ๑๘๘ ปี วัดประยูรฯ พ.ศ.๒๕๕๙
>>>๑๕ เมษายน"วันปีใหม่ วันเถลิงศก"วัดประยูรฯ ปี ๒๕๕๘
>>>ขอเชิญเที่ยวงาน'ประเพณีสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘
>>>WaterFestival ล่องเรือฟรี ๗ ท่าน้ำ วัดประยูร ฯ ๒๕๕๘
>>>เที่ยวงานเทศกาลสงกรานต์ วัดประยูรฯ ๒๕๕๘ 
>>>เที่ยวสงกรานต์ ๒๕๕๘ วัดประยุรวงศาวาส
>>>ขอเชิญเที่ยวงานฉลองวัด"ประยูรฯวัดรั้วเหล็ก"๑๘๗ ปี 
>>>รวมภาพบรรยากาศ งานฉลองรางวัลยูเนสโก ๒๕๕๗ 
>>>เจดีย์วัดประยุรวงศาวาสฯ มรดกทางวัฒนธรรม
>>>เจดีย์มีแกนกลางแบบอยุธยาได้รับรางวัลที่ ๑ จากยูเนสโก
>>>"เจดีย์พระประธาน"วัดประยูรฯ ชนะเลิศอนุรักษ์
>>>'เจดีย์พระประธาน' วัดประยูรฯ ชนะเลิศจากยูเนสโก 
>>>Award of Excellence
>>>วัดประยุรวงศาวาสฯ คว้ารางวัล "ยูเนสโก" 
>>>"วัดประยุรวงศาวาส" ในสายตา UNESCO 
>>>พระบรมธาตุมหาเจดีย์ วัดประยุรวงศาวาส



ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม1 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม2 : Download? (284 kb)
0 ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม3 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม4 : Download? (284 kb)
ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติม5 : Download? (284 kb)

เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | อ่าน 2004
เขียนโดย วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

 
 
 
 
   
ข่าวประชาสัมพันธ์ อื่นๆ
เปิดสมัครพระนักเทศน์หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘
รับสมัครพระสังฆาธิการ, จบนักธรรมเอก หรือเป็นเปรียญธรรม หลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาการเทศนา (ป.ทศ.) รุ่นที่ ๘ ปี ๒๕๖๗ ณ วัดประยูรฯ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน184)
23/4/2567
สงกรานต์ บริการน้ำดื่มฟรี...! ที่วัดประยูรฯ
น้ำดื่มเย็นๆ ชานมเย็น กาแฟเย็น ประเพณีสงกรานต์วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ระหว่างวันที่ ๖ - ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน206)
13/4/2567
สถานที่พร้อมแล้วในการเทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย ครั้งที่ ๒ (หนเหนือ)
เทศนาธรรม ๔ ภาค ทั่วไทย ครั้งที่ ๒ (หนเหนือ) ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (เปิดอ่าน141)
4/4/2567
ประกาศผลสอบบาลี ประจำปี ๒๕๖๗
ประกาศผลสอบประโยคบาลีสนามหลวงระดับชั้นเปรียญธรรม (ป.ธ.) ๑-๒ ถึง ๙ ประโยค ประจำปี ๒๕๖๗ (เปิดอ่าน4976)
30/3/2567
ขอเชิญเที่ยวงาน "สงกรานต์ วัดประยูรฯ" ปี ๒๕๖๗
ร้อนนี้มาเย็นกาย เย็นใจ รับปีใหม่ไทยด้วยความร่มเย็น ระหว่างวันที่ ๖ - ๑๕ เมษายน ๒๕๖๗ ที่วัดประยูรฯ (เปิดอ่าน745)
20/3/2567
รับสมัครบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วัดประยูรฯ ปี ๒๕๖๗
โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ปี ๒๕๖๗ ณ โรงเรียนส่งเสริมพระพุทธศาสนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน717)
12/3/2567
เปิดรับสมัครแล้ว...! พระนักเทศน์ทุนเล่าเรียนหลวง รุ่นที่ ๔
รับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (หมดเขตรับสมัครวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๖๗) (เปิดอ่าน2409)
9/2/2567
ขอเชิญเที่ยวงาน "สมโภช ๑๙๖ ปี วัดประยูรฯ" กรุงเทพฯ
งาน 'สมโภชพระอาราม ๑๙๖ ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร' สุขสราญรุ่งโรจน์ สมโภชวัดประยูร ไหว้พระขอพร ย้อนวันวาน ชิมอาหารท้องถิ่น ชมศิลปินร่วมสมัย เที่ยวงานปลอดภัย ใส่ใจรักษ์โลก วันที่ ๑๒ - ๑๓ - ๑๔ มกราคม ๒๕๖๗ ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน4322)
1/1/2567
ขอเชิญร่วมงานส่งท้ายปีเก่า ๒๕๖๖ ต้อนรับปีใหม่ ๒๕๖๗ วัดประยูรฯ
ในวันอาทิตย์ที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖ ถึงวันจันทร์ที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๗ ตั้งแต่เวลา ๑๙.๐๙ น. เป็นต้นไป ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร (เปิดอ่าน2379)
16/12/2566
ขอเชิญเที่ยวงานลอยกระทง วัดประยูรฯ ประจำปี ๒๕๖๖
เทศกาลประเพณีลอยกระทงประจำปี ๒๕๖๖ 'River Festival 2023' เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรม ครั้งที่ ๙ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร (เปิดอ่าน2420)
5/11/2566
หนังสือธรรม บทความพระธรรมเทศนาวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วีดีโอธรรมะ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
แฟ้มรูปภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทเทศนา วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
บทความ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ดาวน์โหลดเอกสาร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
องค์การบริหารงานของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
สำนักงานเจ้าแขวงกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ชมรมศิษย์เก่า วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ศูนย์พระปริยัตินิเทศก์แห่งคณะสงฆ์
ศูนย์แปลพระไตรปิฎกภาษาอังกฤษ
โครงการอบรมพระนักเทศน์
กะดีจีนคลองสาน
WatPrayoon Dhamma Radio
สถานีวิทยุธรรมะวัดประยูรฯ
วีดีโอวัดประยูรฯ
วีดีโอเพิ่มเติม
ขณะนี้ 88 คน
วันนี้ 1,510 คน
เมื่อวานนี้ 1,694 คน
เดือนนี้ 48,008 คน
เดือนที่ผ่านมา 38,662 คน
ทั้งหมด 2,636,247 คน
เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2556
 
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร ๑๐๖๐๐
โทร. ๐-๒๔๖๖-๑๖๙๓, ๐-๒๔๖๕-๕๕๙๒ โทรสาร ๐-๒๔๖๖-๙๔๙๘
สำนักงานฌาปนสถาน ๐-๒๔๖๖-๑๑๖๐, ๐-๒๔๖๕-๒๒๙๘ | www.watprayoon.com
Copyright © Watprayoon.com 2024 All Rights Reserved. พัฒนาเว็บไซต์โดย SchoolJob